การนำเสนอผู้หญิงและความรุนแรงในภาพยนตร์ไทย
Publisher
Issued Date
2014
Issued Date (B.E.)
2557
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
244 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b186097
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
พรจันทร์ เสียงสอน (2014). การนำเสนอผู้หญิงและความรุนแรงในภาพยนตร์ไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3228.
Title
การนำเสนอผู้หญิงและความรุนแรงในภาพยนตร์ไทย
Alternative Title(s)
Presentation of women and Violence in Thai films
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์การนาเสนอผู้หญิงและความรุนแรงในภาพยนตร์ไทย โดยอาศัยวัตถุประสงค์หลักในการศึกษา และกรอบแนวคิด ทฤษฎีสตรีนิยม แนวคิดเรื่องความรุนแรง ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ แนวคิดการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ และแนวคิดเกี่ยวกับการประกอบสร้างความจริงทางสังคม โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ตัวบทภาพยนตร์ไทยจำนวน 10 เรื่อง
จากการวิเคราะห์ภาพยนตร์ไทยที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับผู้หญิงและความรุนแรงจำนวน 10 เรื่องดังกล่าว พบว่า มีการนำเสนอภาพผู้หญิงและพฤติกรรมความรุนแรงที่มีความสอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น ตัวละครเอกที่เป็นผู้หญิงในภาพยนตร์ไทยมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น มีความเป็นปัจเจกชนที่พร้อมเผชิญหน้ากับความเสี่ยง และเปิดเผยความปรารถนาออกมาอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ภาพยนตร์ไทยได้นำเสนอภาพของผู้หญิงที่พร้อมจะต่อสู้ หรือปกป้ องตัวเองเมื่อเกิดอันตราย เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการไม่ยึดติดในอุดมการณ์ความเป็นผู้หญิงแบบเก่า และการต่อสู้กับอุดมการณ์ดั้งเดิมแบบปิตาธิปไตย ที่ทำให้ผู้หญิงอยู่ในสถานะที่ด้อยกว่าผู้ชาย โดยส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงในภาพยนตร์ไทยที่ทำการวิเคราะห์ ยังเป็นฝ่ายที่ถูกกระทำความรุนแรงก่อน ดังนั้นความรุนแรงที่ตัวละครผู้หญิงกระทำ จึงถูกนำเสนอให้เห็นเป็นวิธีการหนึ่งที่มนุษย์นำมาใช้ในการยุติความขัดแย้ง ที่ตัวละครถูกบีบจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ซึ่งความรุนแรงที่ตัวละครกระทำจึงมีทั้งที่ตั้งใจมีการวางแผนไว้ก่อน และแบบที่ไม่ตั้งใจหรือได้วางแผนเอาไว้ อย่างไรก็ตามผู้กระทำความรุนแรงทุกคนจะต้องได้รับบทลงโทษในชีวิตที่น่าเศร้า ซึ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าการใช้ความรุนแรงไม่ใช่ทางออกที่ดีในการแก้ไขปัญหาใดๆ ภาพยนตร์ไทยได้ให้บทเรียนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างให้เกิดความตระหนักรู้ว่า ความรุนแรงไม่ใช่คำตอบของทุกๆ ปัญหา
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสื่อสารประยุกต์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557.