การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองและทัศนคติของผู้บริโภคต่อ การนำเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์ออนไลน์
Publisher
Issued Date
2015
Issued Date (B.E.)
2558
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
113 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
ba187882
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อนุสรณ์ ศิริชาติ (2015). การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองและทัศนคติของผู้บริโภคต่อ การนำเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์ออนไลน์. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3611.
Title
การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองและทัศนคติของผู้บริโภคต่อ การนำเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์ออนไลน์
Alternative Title(s)
Media exposure and audience attitudes towards news presentation : Online newspapers
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองของผู้บริโภค และเพื่อ
ศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคข่าวสารทางการเมืองผ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ เป็นการศึกษาวิจัยเชิง
ปริมาณ ( Quantitative Research) โดยมีรูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจซึ่งใช้แบบสอบถามเป็น
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ร่วมกับการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมา
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.80 และมีอายุระหว่าง 26-35 ปี ร้อยละ 29.50 โดยมีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 55.75 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ ระหว่าง 10,000-20,000 บาท ร้อยละ 31.25 อีกทั้งส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 28.50 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 32.52 เลือกอ่านข่าวการเมืองจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ไทยรัฐ รองลงมาคือ ข่าวสด ร้อยละ 24.55 ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างเลือกอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ผ่านสมาร์ทโฟน ร้อยละ 39.00 ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างจะอ่านเป็นระยะเวลา 1-2 ปี ร้อยละ 30.25 โดยในหนึ่งสัปดาห์กลุ่มตัวอย่างอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ทุกวัน ร้อยละ 32.00 รองลงมา จะอ่าน หนังสือพิมพ์ออนไลน์เพียง 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 30.00 และกลุ่มตัวอย่างมีวันที่อ่าน หนังสือพิมพ์ออนไลน์ทุกวัน ร้อยละ 40.00 รองลงมาคือ ไม่แน่นอน ร้อยละ 39.50 นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ในแต่ละครั้งใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ร้อยละ 46.00 รองลงมาคือ ประมาณ 1 ชั่วโมง ร้อยละ 39.75 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกอ่านข่าว การเมืองจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์เฉพาะข่าวที่สนใจ ร้อยละ 63.00
กลุ่มตัวอย่างที่อ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์จะอ่านข่าวการเมืองโดยส่วนใหญ่จะอ่าน รายละเอียดของข่าวทั้งหมด ร้อยละ 37.52 รองลงมาจะอ่านเฉพาะพาดหัว , รายงานพิเศษ, บทความ คอลัมน์, และบทบรรณาธิการ ร้อยละ 25.80, 14.07, 13.90 และ 7.20 ตามลำดับ
กลุ่มตัวอย่างจะสนใจข่าวการเมืองในประเด็นทุจริต คอรัปชั่นมากที่สุด ร้อยละ 32.43 รองลงมา ชอบอ่านในประเด็นของความขัดแย้งทางการเมือง ร้อยละ 25.35 นอกจากนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างสนใจอ่านข่าวการเมืองเกี่ยวกับรัฐบาล และข่าวการเมืองเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 21.49 และ 16.99 ตามลำดับ
ในภาพรวม กลุ่มตัวอย่างไม่แน่ใจต่อการเสนอข่าวการเมืองบนหนังสือพิมพ์ออนไลน์ใน ปัจจุบัน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.97 โดยกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า การนำเสนอข่าวการเมืองบน หนังสือพิมพ์ออนไลน์มีความไม่เป็นกลาง ร้อยละ 38.50 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 33.25 มีความเป็นกลาง ร้อยละ 28.25 และกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าปัจจัยที่ทำให้การเสนอข่าวการเมืองบนหนังสือพิมพ์ ออนไลน์ไม่มีความเป็นกลางมากที่สุด คือ ทัศนคติของเจ้าของหนังสือพิมพ์หรือนายทุน ร้อยละ 46.00 ทัศนคติของกองบรรณาธิการหรือผู้สื่อข่าว คิดเป็น ร้อยละ 29.60 ความไม่เป็นอิสระจากรัฐ ร้อยละ 20.20 และจากสาเหตุอื่น ๆ ร้อยละ 4.20
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลักษณะของประชากรทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่มีความ แตกต่างกันจะทำให้มีทัศนคติต่อการเสนอข่าวการเมืองบนหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ, การศึกษา, อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน จะมี ทัศนคติต่อการเสนอข่าวการเมืองบนหนังสือพิมพ์ออนไลน์แตกต่างกัน ในขณะที่เพศของกลุ่ม ตัวอย่างจะมีทัศนคติต่อการเสนอข่าวการเมืองบนหนังสือพิมพ์ออนไลน์ไม่แตกต่างกัน และกลุ่ม ตัวอย่างที่มีพฤติกรรมการอ่านข่าวการเมืองบนหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่แตกต่างกันจะทำให้มี ทัศนคติต่อการเสนอข่าวการเมืองบนหนังสือพิมพ์ออนไลน์แตกต่างกัน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.80 และมีอายุระหว่าง 26-35 ปี ร้อยละ 29.50 โดยมีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 55.75 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ ระหว่าง 10,000-20,000 บาท ร้อยละ 31.25 อีกทั้งส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 28.50 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 32.52 เลือกอ่านข่าวการเมืองจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ไทยรัฐ รองลงมาคือ ข่าวสด ร้อยละ 24.55 ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างเลือกอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ผ่านสมาร์ทโฟน ร้อยละ 39.00 ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างจะอ่านเป็นระยะเวลา 1-2 ปี ร้อยละ 30.25 โดยในหนึ่งสัปดาห์กลุ่มตัวอย่างอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ทุกวัน ร้อยละ 32.00 รองลงมา จะอ่าน หนังสือพิมพ์ออนไลน์เพียง 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 30.00 และกลุ่มตัวอย่างมีวันที่อ่าน หนังสือพิมพ์ออนไลน์ทุกวัน ร้อยละ 40.00 รองลงมาคือ ไม่แน่นอน ร้อยละ 39.50 นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ในแต่ละครั้งใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ร้อยละ 46.00 รองลงมาคือ ประมาณ 1 ชั่วโมง ร้อยละ 39.75 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกอ่านข่าว การเมืองจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์เฉพาะข่าวที่สนใจ ร้อยละ 63.00
กลุ่มตัวอย่างที่อ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์จะอ่านข่าวการเมืองโดยส่วนใหญ่จะอ่าน รายละเอียดของข่าวทั้งหมด ร้อยละ 37.52 รองลงมาจะอ่านเฉพาะพาดหัว , รายงานพิเศษ, บทความ คอลัมน์, และบทบรรณาธิการ ร้อยละ 25.80, 14.07, 13.90 และ 7.20 ตามลำดับ
กลุ่มตัวอย่างจะสนใจข่าวการเมืองในประเด็นทุจริต คอรัปชั่นมากที่สุด ร้อยละ 32.43 รองลงมา ชอบอ่านในประเด็นของความขัดแย้งทางการเมือง ร้อยละ 25.35 นอกจากนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างสนใจอ่านข่าวการเมืองเกี่ยวกับรัฐบาล และข่าวการเมืองเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 21.49 และ 16.99 ตามลำดับ
ในภาพรวม กลุ่มตัวอย่างไม่แน่ใจต่อการเสนอข่าวการเมืองบนหนังสือพิมพ์ออนไลน์ใน ปัจจุบัน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.97 โดยกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า การนำเสนอข่าวการเมืองบน หนังสือพิมพ์ออนไลน์มีความไม่เป็นกลาง ร้อยละ 38.50 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 33.25 มีความเป็นกลาง ร้อยละ 28.25 และกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าปัจจัยที่ทำให้การเสนอข่าวการเมืองบนหนังสือพิมพ์ ออนไลน์ไม่มีความเป็นกลางมากที่สุด คือ ทัศนคติของเจ้าของหนังสือพิมพ์หรือนายทุน ร้อยละ 46.00 ทัศนคติของกองบรรณาธิการหรือผู้สื่อข่าว คิดเป็น ร้อยละ 29.60 ความไม่เป็นอิสระจากรัฐ ร้อยละ 20.20 และจากสาเหตุอื่น ๆ ร้อยละ 4.20
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลักษณะของประชากรทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่มีความ แตกต่างกันจะทำให้มีทัศนคติต่อการเสนอข่าวการเมืองบนหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ, การศึกษา, อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน จะมี ทัศนคติต่อการเสนอข่าวการเมืองบนหนังสือพิมพ์ออนไลน์แตกต่างกัน ในขณะที่เพศของกลุ่ม ตัวอย่างจะมีทัศนคติต่อการเสนอข่าวการเมืองบนหนังสือพิมพ์ออนไลน์ไม่แตกต่างกัน และกลุ่ม ตัวอย่างที่มีพฤติกรรมการอ่านข่าวการเมืองบนหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่แตกต่างกันจะทำให้มี ทัศนคติต่อการเสนอข่าวการเมืองบนหนังสือพิมพ์ออนไลน์แตกต่างกัน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558.