การศึกษาแนวทางการสร้างมาตรการรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว กรณีศึกษา ถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง
Files
Publisher
Issued Date
2014
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
340 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b189681
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อัญชิษฐา กิ้มภู่ (2014). การศึกษาแนวทางการสร้างมาตรการรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว กรณีศึกษา ถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3717.
Title
การศึกษาแนวทางการสร้างมาตรการรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว กรณีศึกษา ถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง
Alternative Title(s)
The study of tourist safety guidelines : A case study of Le Khao Kop Cave, Trang Province
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังของนักท่องเที่ยวในด้านความปลอดภัยก่อนที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในด้านความปลอดภัยหลังจากที่ได้เข้าเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวแล้ว 3) ศึกษาสภาพปัญหาความปลอดภัยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และ 4) ศึกษาแนวทางการสร้างมาตรการการรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง
วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษาความคาดหวัง และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในด้านความปลอดภัย ซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวชาวไทยมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ส่วนที่สองเป็นการศึกษาสภาพปัญหาความปลอดภัยที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและแนวทางการสร้างความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งในการเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สำหรับผลการวิเคราะห์ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวในด้านความปลอดภัย พบว่าความคาดหวังของนักท่องเที่ยวในด้านความปลอดภัยในภาพรวม อยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยรายด้านพบว่า มีความคาดหวังมากในทุกๆ ด้าน และสำหรับผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในด้านความปลอดภัย พบว่าความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในด้านความปลอดภัยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากในทุกๆ ด้าน และผลการทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ความแตกต่างด้วย t-test สำหรับสถานภาพส่วนบุคคลด้านเพศ และรูปแบบการเดินทาง ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (Anova) สำหรับสถานภาพส่วนบุคคลด้าน อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ โดยการวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายกลุ่ม และถ้าหากพบค่าความแตกต่างเป็นรายกลุ่ม จะทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยการใช้วิธี Scheffe’ อีกครั้ง
ซึ่งผลการเปรียบเทียบความคาดหวังของนักท่องเที่ยวในด้านความปลอดภัย พบว่า เพศ อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และรูปแบบการเดินทางที่แตกต่างกัน มีผลให้ความคาดหวังด้านความปลอดภัยแตกต่างกัน ส าหรับผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในด้านความปลอดภัยพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ราย ได้ต่อเดือน และรูปแบบการเดินทางที่แตกต่างกัน มีผลให้ความพึงพอใจด้านความปลอดภัย แตก ต่างกัน
จากการศึกษาได้มาตรการการรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านนักท่องเที่ยว ด้านการคมนาคม ด้านแหล่งท่องเที่ยว ด้านร้านอาหารหรือร้านขายของที่ระลึก และด้านเจ้าหน้าที่
วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษาความคาดหวัง และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในด้านความปลอดภัย ซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวชาวไทยมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ส่วนที่สองเป็นการศึกษาสภาพปัญหาความปลอดภัยที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและแนวทางการสร้างความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งในการเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สำหรับผลการวิเคราะห์ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวในด้านความปลอดภัย พบว่าความคาดหวังของนักท่องเที่ยวในด้านความปลอดภัยในภาพรวม อยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยรายด้านพบว่า มีความคาดหวังมากในทุกๆ ด้าน และสำหรับผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในด้านความปลอดภัย พบว่าความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในด้านความปลอดภัยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากในทุกๆ ด้าน และผลการทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ความแตกต่างด้วย t-test สำหรับสถานภาพส่วนบุคคลด้านเพศ และรูปแบบการเดินทาง ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (Anova) สำหรับสถานภาพส่วนบุคคลด้าน อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ โดยการวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายกลุ่ม และถ้าหากพบค่าความแตกต่างเป็นรายกลุ่ม จะทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยการใช้วิธี Scheffe’ อีกครั้ง
ซึ่งผลการเปรียบเทียบความคาดหวังของนักท่องเที่ยวในด้านความปลอดภัย พบว่า เพศ อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และรูปแบบการเดินทางที่แตกต่างกัน มีผลให้ความคาดหวังด้านความปลอดภัยแตกต่างกัน ส าหรับผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในด้านความปลอดภัยพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ราย ได้ต่อเดือน และรูปแบบการเดินทางที่แตกต่างกัน มีผลให้ความพึงพอใจด้านความปลอดภัย แตก ต่างกัน
จากการศึกษาได้มาตรการการรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านนักท่องเที่ยว ด้านการคมนาคม ด้านแหล่งท่องเที่ยว ด้านร้านอาหารหรือร้านขายของที่ระลึก และด้านเจ้าหน้าที่
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557