• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การศึกษาวาทกรรม “ประชามติ” ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีผ่านรายการคืนความสุขให้คนในชาติ

by เอกจิต สว่างอารมย์

Title:

การศึกษาวาทกรรม “ประชามติ” ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีผ่านรายการคืนความสุขให้คนในชาติ

Other title(s):

Study of referendum discourse of the PM general Prayut Chan-o-cha via the return of happiness TV program

Author(s):

เอกจิต สว่างอารมย์

Advisor:

อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม

Degree department:

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2017

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1. เพื่อค้นหาความหมายของวาทกรรม ประชามติ ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ปรากฎอยู่ในในรายการคืนความสุขให้คนชาติ 2. เพื่อศึกษากระบวนการสร้างวาทกรรมในเรื่องการทำประชามติ ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในรายการคืนความสุขให้คนชาติ โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาของวาทกรรมในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ รวมทั้งใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกนักวิชาการด้านสื่อสารการเมือง , รัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ โดยนำแนวคิดเรื่องการวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis) ตามกรอบแนวคิด ของ Norman Fairclough แนวคิดวาทกรรม แนวคิดสัญวิทยาแนววิพากษ์ ทฤษฎีการสื่อสารมวลชนฝ่ายอำนาจนิยม เป็นกรอบในการวิเคราะห์           ผลการศึกษาพบว่า           1. ความหมายจากรายการคืนความสุขให้คนในชาติ มี 3 ประเภท คือ การอบรมสั่งสอน การวิวาทะฝ่ายตรงข้าม และการชี้แจงทำความเข้าใจ อยู่ภายใต้การกำกับความหมาย 3 ชุด ได้แก่ ประชาธิปไตยแบบ คสช. , วาทกรรมชุดความมั่นคง , วาทกรรมชุดพ่อเมือง (ขุนพล) โดยพบว่าการให้ความหมายที่เกิดขึ้นได้ส่งผลต่อการกำหนดอัตลักษณ์และลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้สร้างวาทกรรมต่อประชาชนและฝ่ายตรงข้ามเพื่อนำไปสู่เป้าหมายในการออกเสียงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ           2. กระบวนการสร้างวาทกรรมรายการคืนความสุขให้คนในชาติ แสดงถึงการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างปฏิบัติการทางวาทกรรมและปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรม กล่าวคือ ปฏิบัติทางวาทกรรม แม้ผู้ศึกษาจะมีข้อจำกัดในการเก็บข้อมูลในขั้นกระบวนการผลิต เนื่องจากอยู่ในสภาวะเผด็จการอำนาจนิยมซึ่งมีลักษณะ ปิดบัง ซ้อนเร้น แต่ในส่วนของการกระบวนบริโภคตัวบท ก็แสดงให้เห็นว่าการแพร่กระจายของวาทกรรม ผู้สร้างวาทกรรมได้ตั้งใจเลือกช่วงเวลาในการทำการสื่อสารในช่วงเวลาไพร์มไทม์ในการสื่อสาร ผลิตซ้ำผ่านเครือข่ายวิทยุกระจายแห่งประเทศไทย และสื่อบุคคลในเครือข่ายอำนาจรัฐซึ่งมีผลอย่างมากกับการสื่อสารในการโน้มน้าวใจประชาชน ในส่วนปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรมนั้น พบว่า มีความสอดคล้องกับบริบทสังคมที่มีความแตกแยกต้องการความสงบและฟื้นตัวจากเศรษฐกิจ รูปแบบการเมืองแบบอำนาจนิยม การเมืองแบบเลือกข้าง และการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ อย่างเคร่งครัดตลอดระยะเวลาการออกเสียงประชามติ เหล่านี้ล้วนมีผลต่อการออกเสียงประชามติทั้งสิ้น
The objectives of this study are: 1. to find out the meaning of discourse “Referendum” of General Prayut Chan-o-cha in the TV program “Return of Happiness”, and 2. to study the process in producing the discourse about referendum of General Prayut Chan-o-cha in the TV program “Return of Happiness”. The methodology used herein is qualitative research in order to analyze the contents in discourse in the TV program “Return of Happiness”. Also, this study employed the in-depth interview with the scholars expertised in Political Communication, Political Science, and Law. Thereby, the scope of analysis is based on the concept of Critical Discourse Analysis by Norman Fairclough, the concept of discourse, the concept of Critical Semiology, and Authoritarian Theory. The study results show that:           1. There are 3 kinds of meanings in the TV program “Return of Happiness”, i.e. teaching, debate against the opponents, and explanation. These meanings are under the following 3 set of meaning governance including democracy in NCPO style, Discourse of Security, and Despotic Paternalism. It is found that the said meanings have effects on the establishment of identities and relationships between the owner of discourse and the opponents regarding the Referendum on the Draft of the Constitution.           2. The process in producing the discourse in the TV program “Return of Happiness” represents the interaction between Discourse Practice and Socio-cultural Practice. In case of Discourse Practice, the author had many limitations while collecting the data on production process due to dictatorship and authoritarianism, which was full of concealment. However, in case of consumption and publication of contents, it is evident that the owner of discourse deliberately chose to communicate with the viewers during the prime time by means of re-production via the network of The National Broadcasting Services of Thailand as well as personnels media within the state power. This is very effective and convincing among the people. Regarding Socio-cultural Practice, it is found that the practice is compliant to the social context, in which there are disharmony and need of peace and economic recovery. The political pattern of authoritarianism, necessity to take side, and strict enforcement of special laws throughout the time of referendum have had effects on the results of referendum.

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560

Subject(s):

วจนะวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
ภาษาไทย -- วจนะวิเคราะห์

Keyword(s):

e-Thesis
วาทกรรม
ประชามติ
รายการคืนความสุขให้คนในชาติ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

165 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3781
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b199693e.pdf ( 3,523.49 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSCM: Theses [178]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×