การสร้างสรรค์รูปแบบนวัตกรรมการสื่อสารแนวคิดธุรกิจประเภทเทศกาลดนตรีในประเทศไทย: เป๊ปซี่ พรีเซ้นท์ เอสทูโอ สงกรานต์ มิวสิคเฟสติวัล 2016
by ภัตติมา สืบสายสิงห์
Title: | การสร้างสรรค์รูปแบบนวัตกรรมการสื่อสารแนวคิดธุรกิจประเภทเทศกาลดนตรีในประเทศไทย: เป๊ปซี่ พรีเซ้นท์ เอสทูโอ สงกรานต์ มิวสิคเฟสติวัล 2016 |
Other title(s): | Creativity and innovative communication of the music festival business model in Thailand : a study of Pepsi Presents S2O Songkran Music Festival 2016 |
Author(s): | ภัตติมา สืบสายสิงห์ |
Advisor: | วิเชียร ลัทธิพงศ์พันธ์ |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
Degree department: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2017 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์แนวคิดเทศกาลดนตรีตะวันตกสำหรับการสร้างสรรค์ธุรกิจงานเทศกาลดนตรีสากลในประเทศไทย รวมถึงรูปแบบการสื่อสารแนวคิดธุรกิจงานเทศกาลดนตรี Pepsi S2O ที่สามารถส่งผลต่อผู้ประกอบการและผู้สนับสนุน
วิธีการศึกษาเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมุ่งศึกษางานเทศกาลดนตรีเป๊ปซี่ พรีเซ้นท์ เอสทูโอ สงกรานต์ มิวสิคเฟสติวัล 2016 โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ศึกษาจากเอกสาร, วิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ และสัมภาษณืเชิงลึกกับบุคลต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ผลวิจัยพบว่า ทางผู้จัดงานเทศกาลดนตรีได้มีการเปิดรับและยอมรับนวัตกรรม คือ งานเทศกาลดนตรีและแนวดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์มิวสิค (EDM) จากวัฒนธรรมตะวันตก อีกทั้งยังมีการประยุกต์ให้เข้ากับบริบทสังคมไทยผ่านประเพณีสงกรานต์ โดยมีการใช้น้ำมาเป็นตัวกลางในการสื่อสารผ่านการจัดงานเทศกาลดนตรีเป๊ปซี่ พรีเซ้นท์ เอสทูโอ สงกรานต์ มิวสิคเฟสติวัล ซึ่งนับเป็นการส่งต่อและแพร่กระจายนวัตกรรมไปยังสมาชิกในสังคม ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าเป็นกระบวนการสร้างสรรค์รูปแบบนวัตกรรมการสื่อสารเครือข่ายงานเทศกาลดนตรีโดยอิงอาศัยจากแนวดนตรี EDM ผนวกกับงานเทศกาลดนตรีและแนวคิดเชิงประชาสัมพันธ์นั้นเป็นกระบวนการ 3AC โดยย่อมาจาก การเปิดรับ (Adopt), การยอมรับ (Accept), การประยุกต์ (Apply), และการสร้าง (Create)
นอกจากนี้ยังพบว่า ในปีพ.ศ. 2561 รูปแบบการสื่อสารแนวคิดธุรกิจงานเทศกาลดนตรี Pepsi S2O นั้นยังส่งผลด้านบวกต่อผู้ประกอบการในการต่อยอดทางธุรกิจที่สามารถขายลิขสิทธิ์โมเดลทางธุรกิจในการจัดงานเทศกาลดนตรี S2O ให้กับผู้ประกอบการในประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ผู้สนับสนุนของงานเทศกาลดนตรี Pepsi S2O ได้แก่ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ได้รับประโยชน์ทางด้านภาพลักษณ์ตราสินค้าและทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำตราสินค้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 |
Keyword(s): | e-Thesis
เทศกาลดนตรี การแพร่กระจายนวัตกรรม การสื่อสารแนวคิดธุรกิจ เป๊ปซี่เอสทูโอ เทศกาลสงกรานต์ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 165 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3794 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|