dc.contributor.advisor | บรรเจิด สิงคะเนติ | th |
dc.contributor.author | กฤติน จันทร์สนธิมา | th |
dc.date.accessioned | 2019-01-28T06:11:37Z | |
dc.date.available | 2019-01-28T06:11:37Z | |
dc.date.issued | 2014 | th |
dc.identifier.other | b190069 | th |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4115 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.) -- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557 | th |
dc.description.abstract | วัดในพระพุทธศาสนาเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่แสวงหาผลกาไร มีเงินหมุนเวียนอยู่ในระบบจำนวนมาก โดยมีเงินหมุนเวียนในรูปแบบของรายได้และรายจ่ายของระบบวัดอยู่ประมาณ100,000-120,000 ล้านบาทต่อปี จากวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์รวมทั้งสิ้น 37,075 วัด (ข้อมูล ณ วันที่31 ธันวาคม 2553) รายรับรวมโดยเฉลี่ยของวัดเท่ากับ 3,235,692 บาทต่อปี ส่วนมากจะมาจากเงินบริจาคเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะด้าน เช่น งานซ่อมแซม โบสถ์หรือศาสนสถานอื่นๆ อีกทั้งวัดทั้งในกรุงเทพมหานครและวัดในภูมิภาคจะมีแหล่งรายรับสาคัญที่มาจากการบริจาคทาบุญมากที่สุดดังนั้น เงินบริจาคจึงเป็นรายรับสาคัญของพระศาสนาที่มีรายรับหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาและมีจำนวนมากมายมหาศาลที่จะต้องบริหารจัดการให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของพระศาสนาโดยแท้ แต่ปรากฏว่าปัญหาเรื่องเงินบริจาคของวัดรั่วไหล พระสงฆ์ทาการทุจริตยักยอกเงินวัดยังปรากฏให้เห็นทางสื่อต่างๆ อยู่เสมอ ทาให้ประชาชนเกิดความเศร้าหมองและหดหู่เป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นปัญหาที่สมควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อนาไปสู่การบริหารจัดการที่ดียิ่งขึ้นและมั่นคงยั่งยืนต่อไป | th |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเงินบริจาคของศาสนาต่างๆ ได้แก่ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ โดยการนามาศึกษาวิเคราะห์เพื่อสร้างแนวทางในการพัฒนาระบบและหลักเกณฑ์การบริหารจัดการเงินบริจาคของวัดในศาสนาพุทธที่มีความสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล ทั้งนี้ เพื่อให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้มากยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่า ทั้งศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมีหลักเกณฑ์การบริหารจัดการเงินบริจาคของคริสตจักรท้องถิ่นหรือโบสถ์และมัสยิดอย่างเป็นระบบ มีการแบ่งส่วนงานชัดเจนและมีการบริหารจัดการในรูปแบบของคณะกรรมการที่ประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่าย ศาสนาคริสต์จะให้ความสาคัญเป็นพิเศษกับการบริหารจัดการที่โปร่งใส โดยมีการรายงานสถานะทางการเงินให้ประชาชนทั่วไปรับทราบเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะที่อำนาจหน้าที่โดยทั่วไปในการบริหารจัดการของศาสนาพุทธมักขึ้นอยู่กับเจ้าอาวาส โดยมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2511) กาหนดรายละเอียดในการบริหารจัดการไว้อย่างกว้างๆ เท่านั้น | th |
dc.description.abstract | ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม หลักโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วมและหลักความรับผิดชอบ จึงเห็นควรเสนอให้มีการพัฒนาระบบและหลักเกณฑ์การบริหารจัดการโดยใช้มาตราการทางกฎหมาย กล่าวคือ การปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2511) ในเรื่องของการปรับปรุงโครงสร้างและจำนวนของคณะกรรมการ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม อำนาจหน้าที่การแต่งตั้งและการพ้นจากตาแหน่ง วาระการดารงตาแหน่ง วาระการประชุมของคณะกรรมการวัด
และแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในเรื่องการติดตามตรวจสอบและให้คาแนะนาเกี่ยวกับการเงินของวัดไว้ในกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และเสนอมาตราการเชิงนโยบายเพื่อให้การปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวบรรลุผลดียิ่งขึ้น โดยให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติให้ความรู้และแนะนาหลักเกณฑ์การบริหารและจัดทาบัญชีการเงินแก่วัดและให้วัดทุกแห่งปฏิบัติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2511) โดยรายงานข้อมูลทางการเงินวัดให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สาธารณชนและเจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ตามลาดับชั้นทราบเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง | th |
dc.description.provenance | Submitted by นักศึกษาฝึกงานมราชภัฎยะลา_2562 (บุษกร แก้วพิทักษ์คุณ) (budsak.a@nida.ac.th) on 2019-01-28T06:11:37Z
No. of bitstreams: 1
b190069.pdf: 2323403 bytes, checksum: 84007b8423c285a35685f3f266bf607f (MD5) | th |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2019-01-28T06:11:37Z (GMT). No. of bitstreams: 1
b190069.pdf: 2323403 bytes, checksum: 84007b8423c285a35685f3f266bf607f (MD5)
Previous issue date: 2014 | th |
dc.format.extent | 152 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject.other | วัด -- การบริหาร | th |
dc.subject.other | พระพุทธศาสนา | th |
dc.title | การบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในพระพุทธศาสนา : ศึกษาเฉพาะกรณีเงินบริจาค | th |
dc.title.alternative | Administration of Religious property of the Buddhist temple: study on financial donation | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | วิทยานิพนธ์ | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th |
thesis.degree.level | Master's | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะนิติศาสตร์ | th |