กลวิธีการนำเสนอประเด็นเหยียดเชื้อชาติและการเลือกปฏิบัติต่อชาวแอฟริกัน-อเมริกาในภาพยนตร์ฮอลลีวูด : การวิเคราะห์ตัวบท
Publisher
Issued Date
2014
Issued Date (B.E.)
2557
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
336 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b192188
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
รัชชา เชาวน์ศิริ (2014). กลวิธีการนำเสนอประเด็นเหยียดเชื้อชาติและการเลือกปฏิบัติต่อชาวแอฟริกัน-อเมริกาในภาพยนตร์ฮอลลีวูด : การวิเคราะห์ตัวบท. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4126.
Title
กลวิธีการนำเสนอประเด็นเหยียดเชื้อชาติและการเลือกปฏิบัติต่อชาวแอฟริกัน-อเมริกาในภาพยนตร์ฮอลลีวูด : การวิเคราะห์ตัวบท
Alternative Title(s)
Methods of presenting racist and discriminating issue on African American in Hollywood Films : textual analysis
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยชิ้น นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเล่าเรื่องเกี่ยวกับประเด็นเหยียดเชื่อ ชาติและการเลือกปฏิบัติต่อชาวแอฟริกัน-อเมริกันและเพื่อศึกษากระบวนการสร้างและนำเสนอภาพลักษณ์รวมถึงการสร้างภาพเหมารวมของตัวละครผิวดำและผิวขาวในภาพยนตร์ฮอลลีวูด โดยอาศัยแนวคิดเรื่องการเหยียดเชื่อ ชาติและบทบาทของสื่อภาพยนตร์ต่อความสัมพันธ์ทางเชื่อ ชาติและชาติพันธุ์ร่วมกับแนวคิดการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ รวมถึงทฤษฎีสัญญะวิทยาและการสร้างความหมายในภาพยนตร์ในการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) และเก็บข้อมูลจากภาพยนตร์กลุ่มตัวอย่างทั้ง หมด 12 เรื่อง
ผลการวิจัยพบว่า ภาพยนตร์ทั้ง 12 เรื่องมีกลวิธีการนำเสนอประเด็นดังกล่าวในฐานะที่เป็ นสาเหตุสำคัญของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์และมีการนำเสนอประเด็นดังกล่าวในขั้นตอนของโครงเรื่องที่แตกต่างกันไปในภาพยนตร์แต่ละเรื่อง ภาพยนตร์ที่นำเสนอประเด็นเหยียดเชื่อ ชาติตั้งแต่ขั้นตอนการเริ่มเรื่อง แสดงให้เห็นว่าการเหยียดเชื่อ ชาตินั้น เป็นประเด็นสำคัญและส่งผลต่อการดำเนินเรื่องมากกว่าประเด็นอื่นๆ ภาพยนตร์ที่การนำเสนอประเด็นเหยียดเชื่อ ชาติในขั้นตอนการพัฒนำเหตุการณ์ แสดงให้เห็นว่าการเหยียดเชื่อ ชาตินั้น เป็ นสาเหตุที่ทาให้การดำเนินชีวิตของตัวละครต้องเปลี่ยนแปลงไป ภาพยนตร์ที่ได้นำเสนอประเด็นเหยียดเชื่อ ชาติในขั้นภาวะวิกฤตแสดงให้เห็นว่าประเด็นดังกล่าวคือสาเหตุสำคัญที่ทาให้ เรื่องราวดำเนินไปสู่จุดแตกหักภาพยนตร์ที่นำเสนอประเด็นเหยียดเชื่อ ชาติในภาวะคลี่คลาย เป็นการสะท้อนให้ เห็นถึงภาพรวมของผลกระทบจากการเหยียดเชื่อ ชาติเกิดขึ้นกับตัวละครภาพยนตร์ที่นำเสนอประเด็นเหยียดเชื่อชาติในขั้นยุติเรื่องราวเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าการเหยียดเชื่อ ชาติยังคงดำเนินต่อไปและตัวละครไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ แม้ว่าเรื่องราวได้ดำเนินมาถึงจุดสิน้ สุดแล้วก็ตาม
ความแตกต่างในการนำเสนอประเด็นดังกล่าวส่งผลต่อแก่นเรื่องของภาพยนตร์แต่ละเรื่องด้วย กล่าวคือ ภาพยนตร์ที่นำเสนอแก่นเรื่องด้านชีวิต คือ ภาพยนตร์ที่เปิดเรื่องด้วยการแนะนำตัวละครหลักและภาพยนตร์ที่นำเสนอแก่นเรื่องด้านธรรมชาติของมนุษย์และด้านการวิพากษ์สังคมคือ ภาพยนตร์ที่เริ่มเรื่องด้วยความขัดแย้งหรือปมปัญหา
องค์ประกอบด้านมุมมองการเล่าเรื่องของภาพยนตร์กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้การเล่าเรื่องแบบรู้รอบด้าน เพื่อสื่อความหมายว่าภาพยนตร์ได้นำเสนอเรื่องราวอย่างเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปทางฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่งและปล่อยให้ผู้ชมเป็นคนตัดสิน องค์ประกอบด้านสัญลักษณ์ที่พบในภาพยนตร์กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นภาพที่แสดงถึงสิ่งที่มีความหมายอย่างยิ่งในชีวิตของตัวละครมากกว่าแค่วัตถุที่มองเห็น และท้ายที่สุด คือ องค์ประกอบด้านฉากที่พบในภาพยนตร์กลุ่มตัวอย่างมากที่สุดมี 2 ประเภท คือ 1) ฉากการดำเนินชีวิตของตัวละครแสดงให้เห็นว่าประเด็นเหยียดเชื่อ ชาติกลายมาเป็นอุปสรรคหรือปัญหาของตัวละครได้อย่างไร 2) ฉากที่เป็ นยุคสมัยหรือช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ซึ่งฉากดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าภาพรวมของคนส่วนใหญ่ในภาพยนตร์มีมุมมองต่อการเหยียดเชื่อชาติและการเลือกปฏิบัติในสังคมของตนเองอย่างไร
สาหรับการนำเสนอภาพลักษณ์ของตัวละครผิวดำและผิวขาวในภาพยนตร์ นั้น พบว่าภาพยนตร์ได้นำเสนอภาพลักษณ์ของตัวละครออกมาในลักษณะดังนี้1) ตัวละครหลักผิวดำเป็ นบุคคลที่มีความสามารถ มีความมุ่งมนั่ และอดทน 2) ตัวละครหลักผิวขาวเป็นบุคคลที่ไม่เหยียดเชื่อชาติหรือเลือกปฏิบัติต่อคนผิวดำ 3) ตัวละครผิวดำและผิวขาวมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทิศทางบวก 4) ตัวละครฝ่ายตรงข้ามผิวดำและผิวขาวมีลักษณะที่แน่นอนตามแบบฉบับของตัว ละครผู้ร้าย
การสร้างภาพลักษณ์ของตัวละครในลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้ผลิตภาพยนตร์ฮอลลีวูดซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาวยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตัวละครผิวขาว เพื่อสื่อว่าแม้ว่าตัวละครผิวดำจะมีความสามารถมากเพียงใดก็ตามก็ไม่อาจประสบความสาเร็จได้หากปราศจากการสนับสนุนของตัวละครผิวขาวที่เป็นมิตร
กล่าวได้ว่าภาพยนตร์ฮอลลีวูดยังคงผลิตซ้ำอุดมการณ์ “ความเป็ นเลิศของชนผิวขาว”(White Supremacy) ให้ครองความเป็นอุดมการณ์หลัก (Hegemony) ในสังคมอเมริกันต่อไป โดยแฝงมากับการสร้างและภาพลักษณ์ของตัวละครผิวขาวในภาพยนตร์
ผลการวิจัยพบว่า ภาพยนตร์ทั้ง 12 เรื่องมีกลวิธีการนำเสนอประเด็นดังกล่าวในฐานะที่เป็ นสาเหตุสำคัญของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์และมีการนำเสนอประเด็นดังกล่าวในขั้นตอนของโครงเรื่องที่แตกต่างกันไปในภาพยนตร์แต่ละเรื่อง ภาพยนตร์ที่นำเสนอประเด็นเหยียดเชื่อ ชาติตั้งแต่ขั้นตอนการเริ่มเรื่อง แสดงให้เห็นว่าการเหยียดเชื่อ ชาตินั้น เป็นประเด็นสำคัญและส่งผลต่อการดำเนินเรื่องมากกว่าประเด็นอื่นๆ ภาพยนตร์ที่การนำเสนอประเด็นเหยียดเชื่อ ชาติในขั้นตอนการพัฒนำเหตุการณ์ แสดงให้เห็นว่าการเหยียดเชื่อ ชาตินั้น เป็ นสาเหตุที่ทาให้การดำเนินชีวิตของตัวละครต้องเปลี่ยนแปลงไป ภาพยนตร์ที่ได้นำเสนอประเด็นเหยียดเชื่อ ชาติในขั้นภาวะวิกฤตแสดงให้เห็นว่าประเด็นดังกล่าวคือสาเหตุสำคัญที่ทาให้ เรื่องราวดำเนินไปสู่จุดแตกหักภาพยนตร์ที่นำเสนอประเด็นเหยียดเชื่อ ชาติในภาวะคลี่คลาย เป็นการสะท้อนให้ เห็นถึงภาพรวมของผลกระทบจากการเหยียดเชื่อ ชาติเกิดขึ้นกับตัวละครภาพยนตร์ที่นำเสนอประเด็นเหยียดเชื่อชาติในขั้นยุติเรื่องราวเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าการเหยียดเชื่อ ชาติยังคงดำเนินต่อไปและตัวละครไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ แม้ว่าเรื่องราวได้ดำเนินมาถึงจุดสิน้ สุดแล้วก็ตาม
ความแตกต่างในการนำเสนอประเด็นดังกล่าวส่งผลต่อแก่นเรื่องของภาพยนตร์แต่ละเรื่องด้วย กล่าวคือ ภาพยนตร์ที่นำเสนอแก่นเรื่องด้านชีวิต คือ ภาพยนตร์ที่เปิดเรื่องด้วยการแนะนำตัวละครหลักและภาพยนตร์ที่นำเสนอแก่นเรื่องด้านธรรมชาติของมนุษย์และด้านการวิพากษ์สังคมคือ ภาพยนตร์ที่เริ่มเรื่องด้วยความขัดแย้งหรือปมปัญหา
องค์ประกอบด้านมุมมองการเล่าเรื่องของภาพยนตร์กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้การเล่าเรื่องแบบรู้รอบด้าน เพื่อสื่อความหมายว่าภาพยนตร์ได้นำเสนอเรื่องราวอย่างเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปทางฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่งและปล่อยให้ผู้ชมเป็นคนตัดสิน องค์ประกอบด้านสัญลักษณ์ที่พบในภาพยนตร์กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นภาพที่แสดงถึงสิ่งที่มีความหมายอย่างยิ่งในชีวิตของตัวละครมากกว่าแค่วัตถุที่มองเห็น และท้ายที่สุด คือ องค์ประกอบด้านฉากที่พบในภาพยนตร์กลุ่มตัวอย่างมากที่สุดมี 2 ประเภท คือ 1) ฉากการดำเนินชีวิตของตัวละครแสดงให้เห็นว่าประเด็นเหยียดเชื่อ ชาติกลายมาเป็นอุปสรรคหรือปัญหาของตัวละครได้อย่างไร 2) ฉากที่เป็ นยุคสมัยหรือช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ซึ่งฉากดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าภาพรวมของคนส่วนใหญ่ในภาพยนตร์มีมุมมองต่อการเหยียดเชื่อชาติและการเลือกปฏิบัติในสังคมของตนเองอย่างไร
สาหรับการนำเสนอภาพลักษณ์ของตัวละครผิวดำและผิวขาวในภาพยนตร์ นั้น พบว่าภาพยนตร์ได้นำเสนอภาพลักษณ์ของตัวละครออกมาในลักษณะดังนี้1) ตัวละครหลักผิวดำเป็ นบุคคลที่มีความสามารถ มีความมุ่งมนั่ และอดทน 2) ตัวละครหลักผิวขาวเป็นบุคคลที่ไม่เหยียดเชื่อชาติหรือเลือกปฏิบัติต่อคนผิวดำ 3) ตัวละครผิวดำและผิวขาวมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทิศทางบวก 4) ตัวละครฝ่ายตรงข้ามผิวดำและผิวขาวมีลักษณะที่แน่นอนตามแบบฉบับของตัว ละครผู้ร้าย
การสร้างภาพลักษณ์ของตัวละครในลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้ผลิตภาพยนตร์ฮอลลีวูดซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาวยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตัวละครผิวขาว เพื่อสื่อว่าแม้ว่าตัวละครผิวดำจะมีความสามารถมากเพียงใดก็ตามก็ไม่อาจประสบความสาเร็จได้หากปราศจากการสนับสนุนของตัวละครผิวขาวที่เป็นมิตร
กล่าวได้ว่าภาพยนตร์ฮอลลีวูดยังคงผลิตซ้ำอุดมการณ์ “ความเป็ นเลิศของชนผิวขาว”(White Supremacy) ให้ครองความเป็นอุดมการณ์หลัก (Hegemony) ในสังคมอเมริกันต่อไป โดยแฝงมากับการสร้างและภาพลักษณ์ของตัวละครผิวขาวในภาพยนตร์
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสื่อสารประยุกต์)) -- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557