Title:
| กฎหมายแรงงานในส่วนที่ไม่เป็นธรรมต่อนายจ้าง |
Other title(s):
| Unfair terms of labour laws toward the employer |
Author(s):
| ฉันท์ชนก คงเฉลิมนนท์ |
Advisor:
| ปิยะนุช โปตะวณิช |
Degree name:
| นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level:
| Master's |
Degree department:
| คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor:
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date:
| 2015 |
Publisher:
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract:
|
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาความเป็นมาและบทบัญญัติของกฎหมาย
แรงงานในส่วนที่ไม่เป็นธรรมต่อนายจ้างว่าเป็นเช่นไร และ 2. เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุง
บทบัญญัติของกฎหมายแรงงานให้เกิดความเป็นธรรมต่อนายจ้างเพิ่มขึ้น โดยศึกษาเปรียบเทียบ
กฎหมายประเทศต่างประเทศ โดยมีขอบเขตในการศึกษา ดั่งต่อไปนี้ 1. บทบัญญัติให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างเรื่องการหยุดกิจการ
ชั่วคราว 2. การบอกกล่าวล่วงหน้าในสัญญาจ้าง ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2551 และ
3. การนัดหยุดงานในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างมาก
เกินควร จนเกิดความไม่เป็นธรรมแก่นายจ้าง วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ศึกษาวิวัฒนาการ แนวคิดของกฎหมายแรงงานและ
บทบัญญัติในส่วนที่ไม่เป็นธรรมของนายจ้างในกฎหมายแรงงาน ส่วนที่สองศึกษาเปรียบเทียบ
กฎหมายแรงงานของต่างประเทศในเรื่อง 1. จำนวนเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างในช่วงที่หยุด
กิจการชั่วคราวว่าได้มีการกำหนดจำนวนเงินที่นายจ้างต้องจ่ายในช่วงที่หยุดกิจการชั่วคราวเป็น
จำนวนเท่าใด 2. การบอกกล่าวล่วงหน้าในสัญญาจ้างแรงงานว่ามีข้อกำหนดที่แตกต่างของ
กฎหมายไทยเช็นไรบ้าง และ 3. การนัดหยุดงานของลูกจ้างว่ามีข้อกำหนดที่แตกต่างจากของกฎหมาย
ไทยเช่นไรบ้าง จากการศึกษากฎหมายต่างประเทศพบว่า 1. กฎหมายแรงงานของประเทศญี่ปุ่นได้บัญญัติถึง
จำนวนเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้กับลูกจ้างในช่วงที่หยุดกิจการชั่วคราวเป็นจำนวนร้อยละ 60 น้อยกว่า
ที่กฎหมายไทยได้บัญญัติไว้ที่ร้อยละ 75 ที่เป็นจำนวนที่สูงเกินไป เนื่องจากระหว่างที่นายจ้างหยุด
กิจการชั่วคราว ลูกจ้างไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานและยังสามารถไปทำงานที่อื่นได้ใน
ช่วงเวลาดังกล่าว จึงน่าจะแก้ไขจำนวนเงินที่นายจ้างต้องจ่ายในช่วงหยุดกิจการชั่วคราวเป็นร้อยละ
60 เช่นเดียวกับกฎหมายญี่ปุ่นที่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว 2. ในการบอกกล่าวล่วงหน้ากฎหมาย
แรงงานของประเทศญี่ปุ่นและประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีบัญญัติถึงข้อยกเว้นที่นายจ้างจะบอกกล่าวล่วงหน้าน้อยกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้ก็ได้เมื่อมีเหตุสุดวิสัยขึ้น ซึ่งเป็นหนทางในการช่วยเหลือนายจ้าง
ทางหนึ่ง บทบัญญัติของกฎหมายไทยจึงควรเพิ่มข้อยกเว้นที่นายจ้างสามารถบอกกล่าวล่วงหน้าได้
น้อยกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้เมื่อเกิดเหตุสุดวิสัยขึ้นเช่นเดียวกับที่กฎหมายแรงงานประเทศญี่ปุ่นได้
บัญญัติไว้ 3. การนัดหยุดงานไม่มีมาตรการในการแก้ไขเมื่อลูกจ้างนัดหยุดงานเป็นระยะเวลานาน
เช่นเดียวกับกฎหมายแรงงานไทย เนื่องจากหากมีการหยุดงานเป็นระยะเวลานาน ความเสียหายที่
เกิดขึ้นย่อมมากตามไปด้วย ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีเช่นนี้ การให้พนักงานตรวจแรงงานที่
เป็นผู้ใกล้ชิดกับนายจ้างและลูกจ้างเป็นผู้พิจารณาว่าการนัดหยุดงานที่เกิดขึ้นนานเกินไปหรือม่เพื่อ
นำนายจ้างและลูกจ้างเข้าสู่การตัดสินข้อพิพาททางแรงงานที่ผูกพันทั้งสองฝ่ายให้ต้องปฏิบัติตามโดย
คณะกรรมการแรงงานกลางที่เป็นไตรภาคี เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้น้อยลง
|
Description:
|
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558
|
Subject(s):
| กฎหมายแรงงาน |
Keyword(s):
| นายจ้าง
ลูกจ้าง |
Resource type:
| วิทยานิพนธ์ |
Extent:
| 145 แผ่น |
Type:
| Text |
File type:
| application/pdf |
Language:
| tha |
Rights:
| ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s):
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI:
| http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4254 |