การประเมินน้ำต้นทุนเเละความต้องการใช้น้ำเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำยม
by อนิรุจน์ คำนล
ชื่อเรื่อง: | การประเมินน้ำต้นทุนเเละความต้องการใช้น้ำเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำยม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Assessment of water supply and demand for agriculture in Yom River Basin |
ผู้แต่ง: | อนิรุจน์ คำนล |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | ฆริกา คันธา |
ชื่อปริญญา: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเพียงพอของน้ำในปัจจุบันจากสถานการณ์ปริมาณน้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำด้านเกษตรกรรม และประเมินสถานการณ์ของน้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรมในอนาคตจากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในปี พ.ศ. 2564 นำไปสู่จัดทำข้อเสนอแนะในด้านการบริหารจัดการน้ำต้นทุนให้เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรม
ผลการศึกษาความเพียงพอของน้ำรายปีพบว่า ลุ่มน้ำควน แม่น้ำยมตอนบน น้ำปี้ และน้ำแม่มอกเป็นลุ่มน้ำที่มีน้ำต้นทุนมีเพียงพอ น้ำงาว น้ำแม่คำมี น้ำแม่ต้า ห้วยแม่สิน เป็นลุ่มน้ำที่มีปริมาณความต้องการใช้น้ำใกล้เคียงกับปริมาณน้ำต้นทุนในฤดูแล้ง มีความเสี่ยงในการขาดน้ำ จากความผันผวนของน้ำแต่ละช่วงเวลา แม่น้ำยมตอนกลาง น้ำแม่รำพัน แม่น้ำยมตอนล่างมีปริมาณความต้องการใช้น้ำมากกว่าปริมาณน้ำต้นทุน การขาดแคลนในระดับสูง ส่วนในรายเดือนพบว่าทุกลุ่มน้ำมีสถานการณ์ที่คล้ายกันคือในช่วงฤดูแล้ง ลุ่มน้ำทั้งหมดเกิดภาวะน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำหรือขาดแคลนน้ำ ในช่วงฤดูฝนมีปริมาณน้ำต้นทุนมากว่าเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำ ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดน้ำท่วม
สำหรับการประเมินสถานการณ์ในอนาคตสรุปได้ว่าลุ่มน้ำยมสำหรับอนาคตอันใกล้นี้ พบว่า ความต้องการใช้น้ำรวมทั้งลุ่มน้ำจะอยู่ที่ 9,246.66 ล้าน ลบ.ม./ปี เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ.2558 อยู่ที่ 10,003.75 ล้าน ลบ.ม./ปี ลดลงคิดเป็นร้อยละ 0.08 จึงสรุปได้ว่าในภาพรวมความต้องการใช้น้ำด้านเกษตรกรรมมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย โดยข้อเสนอแนะได้เน้นไปในด้านการบริหารจัดการน้ำต้นทุนในฤดูฝนและการบริหารจัดการความต้องการใช้น้ำในฤดูแล้งในสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำที่แตกต่างกัน เช่น การเพิ่มขีดความสามารถในการกักเก็บน้ำในระดับชุมชนโดยพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อลดความจำเป็นในการพึ่งพาน้ำจากแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ไม่มีน้ำเพียงพอในฤดูแล้ง การสนับสนุนปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยในพื้นที่ที่มีความต้องการใช้น้ำ มาตรการรักษาพื้นที่ป่าเพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำในตอนบนของลุ่มน้ำ เป็นต้น |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | น้ำ
ทรัพยากรน้ำ |
คำสำคัญ: | e-Thesis
วิทยานิพนธ์ได้รับรางวัล วิทยานิพนธ์รางวัลดี ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ความเพียงพอของน้ำ |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 154 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4387 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|