GSEDA: Theses

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 6 of 110
  • Thumbnail Image
    Item
    ความขัดแย้งจากการพัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัย: กรณีศึกษาโครงการ วอเตอร์ฟรอนท์ พัทยา ไทยแลนด์
    นุชนา สกุลสถาพร; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    ในปัจจุบันเมืองพัทยามีการพัฒนาคอนโดมิเนียมตามแนวชายหาดพัทยาอย่างกระจัดกระจายตั้งแต่พัทยาเหนือจรดพัทยาใต้อย่างไรก็ตามการพัฒนาดังกล่าวมีทั้งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบสําหรบผลกระทบทางลบหากไม่ไดรับการแก้ไขหรือเยียวยาจะนํามาซึ่งความขัดแย้ง ดังเช่นกรณีความขัดแย้งจากการพัฒนาโครงการวอเตอร์ฟร้อนท์พัทยาไทยแลนด์กับคนเมืองพัทยาดังนั้น การวจิยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของความขัดแย้งสาเหตุของความขัดแย้งจากการพัฒนาโครงการวอเตอร์ฟร้อนท์พัทยาไทยแลนด์และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนโดยรอบผู้พัฒนาโครงการกับหน่วยงานของรัฐโดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกบการทบทวนวรรณกรรมผลการศึกษาพบว่าสาเหตุความขัดแย้งตามวงกลมแห่งความขัดแย้งได้แก่ความเชื่อต่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ระหว่างประชาชนในพื้นที่กับผู้พัฒนา โครงการและประชาชนยังไม่เชื่อมั่นในขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างและขั้นตอนการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมประชาชนผู้อาศัยโดยรอบยังขาดการรับรู้ข้อมูลโครงการจากผู้พัฒนาโครงการและหน่วยงานภาครัฐเมื่อความขัดแย้งไม่ได้รับการแก้ไขผู้พัฒนาจึงไม่สามารถดําเนินการโครงการต่อไปได้นําไปสู่ความขัดแย้งระหว่างผู้พัฒนาโครงการและหน่วยงานรัฐจากการเสียผลประโยชน์ทางธุรกิจส่วนเสนอแนวทางการแก้ไขความขัดแย้งนั้นพบว่าหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานท้องถิ่นควรร่วมกันหาข้อเท็จจริงชี้แจงและไกล่เกลี่ยโดยคนกลางรวมทั้งผู้พัฒนาโครงการจะต้องดำเนินการตามกฎหมายและมาตรการทางสิ่งแวดล้อมอย่างเครงครัด
  • Thumbnail Image
    Item
    ผลกระทบจากแคดเมียมที่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตของถั่วเหลือง รุ่น f2
    พัชริดา ตริยาสุข; ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    การศึกษาผลกระทบจากแคดเมียมที่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตของถั่วเหลืองรุ่น f2 โดย การปลูกถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 เพื่อศึกษาสมรรถภาพการเจริญเติบโต ลักษณะภายนอก และการให้ผลผลิตของถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่60 รุ่น f1 ในดินที่มีความเข้มข้นของแคดเมียมในการปลูกแตกต่างกัน และรุ่น f2 ที่น ามาปลูกต่อในดินที่ไม่ผสมแคดเมียม เพื่อทราบปริมาณการปนเปื้อนสูงสุดของแคดเมียมในดินที่สามารถนำมาใช้ในการปลูกถั่วเหลืองเพื่อการขยายพันธุ์(f1) ทำการวิจัยเชิงทดลองโดยการน าถั่วเหลือง รุ่น f1 ปลูกในกระถางบรรจุดินน้ำหนัก 4.50กิโลกรัม ปริมาณความเข้มข้นของแคดเมียมไนเตรทในดินที่แตกต่างกัน คือ 0, 20.0, 40.0, 60.0, 80.0 และ 100 พีพีเอ็ม จำนวนความเข้มข้นละ 40 ซ้ำ วางแผนแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ที่ได้ไปปลูกต่อจนได้ถั่วเหลืองเชียงใหม่ 60รุ่น f2 ผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่า ปริมาณแคดเมียมในดินส่งผลเสียต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต และคุณค่าทางโภชนะด้านโปรตีนและไขมันของถั่วเหลือง ทั้งรุ่น f1 และ f2 อย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05)
  • Thumbnail Image
    Item
    แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในจังหวัดปทุมธานี
    เสาวลักษณ์ ศักดิ์สิทธิ์; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    การศึกษาคร้ังนี้เป็นงานวิจยัเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัญหา ด้านขยะมูลฝอยชุมชนในจังหวัดปทุมธานี วิเคราะห์การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในจังหวัดปทุมธานีและเสนอแนะแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในจังหวัดปทุมธานี โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้มีส่วนได้เสียจากการจัดการมูลฝอยชุมชนของปทุมธานีร่วมกับการสังเกตุการณ์อย่างมีส่วนร่วมและการทบทวนวรรณกรรม และใช้เทคนิคการประเมินแบบ CIPP-I Model เป็นกรอบในการศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในจังหวัดปทุมธานีแล้วตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ด้านข้อมูล (Data Triangulation)จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่คุณภาพ และพิจารณาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของจังหวัดปทุมธานี โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกขององค์กร (SWOT Analysis) และนำ SWOT Matrix มาดำเนินการประเมิน และวิเคราะห์ เพื่อจัดทำเป็นแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมของปทุมธานีต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันจังหวัดปทุมธานีมีนโยบายการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของจังหวัดปทุมธานีสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ และสามารถแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสมภายในจังหวัดได้สำเร็จ แต่ปัจจุบันยังไม่มีสถานที่กำจัดที่ถูกตอ้งตามหลักวิชาการภายในจังหวัด ทำให้ต้องขนส่งไปทิ้งที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นส่วนใหญ่ ส่วนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากพลงังานขยะที่ตำบลเชียงรากใหญ่นั้น ยังไม่สำเร็จเพราะประชาชนคัดค้านและจากการวิเคราห์ SWOT พบว่า มีจุดแข็ง คือ หน่วยงานภาครัฐตอบรับนโยบายจากส่วนกลาง และหน่วยงานภาครัฐส่วนทอ้งถิ่นมีโครงการจดัการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม จุดอ่อน คือ องค์การปกครองส่วนทอ้งถิ่น (อปท.) มีงบประมาณประจำปีในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนแต่ทำได้ช้าเพราะต้องรองบประมาณจากส่วนกลาง จังหวัด ปทุมธานีไม่มีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ประชาชนปฏิเสธสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยหากอยในพื้นที่ชุมชนตนเองโครงการของภาครัฐยังเข้าถึงประชาชนไม่ครบถ้วน ด้านโอกาส คือ นโยบายภาครัฐในทุกระดับสอดคล้องกัน บริษัท เอกชนสนใจลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าจากพลงังานขยะ สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยเดิมในจังหวัดสามารถปรับปรุงและเปิดดำเนินการได้ มีพื้นที่เหมาะสมสำหรับสร้างสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยแห่งใหม่ มีปริมาณขยะมากเพียงพอสำหรับการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังงานขยะ และประชาชนเข้มแข็ง มีความรู้ความเข้าใจ ต่อรองกับหน่วยงานรัฐได้ส่วนอุปสรรค คือ ประชาชนไม่เชื่อมั่นภาครัฐในการสร้างสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในทุกรูปแบบ และมีประชากรแฝงมาก แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในจังหวัดปทุมธานี (TOWS Matrix) 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์เชิงรุกได้แก่ให้หน่วยงานภาครัฐร่วมมือกับเอกชนในโครงการพัฒนาสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในจังหวัด กลยุทธ์เชิงป้องกัน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐส่วนท้องถิ่นต้องเข้าถึงประชาชนทั้งในด้านความสัมพันธ์และการให้ข้อมูลข่าวสารกลยุทธ์เชิงแก้ไข ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐสนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในปทุมธานี ของบประมาณจากส่วนกลางเพิ่มเพื่อปรับปรุงสถานที่กำจัดขยะเดิมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนกับประชาชนทุกระดับ กลยุทธ์เชิงรับ ได้แก่กำหนดกฎระเบียบว่าด้วยแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยตั้งงแต่ต้นทางและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง รวมถึงให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในจังหวัดปทุมธานี
  • Thumbnail Image
    Item
    การค้าปลีกเพื่อความยั่งยืน: โมเดลธุรกิจร้านรีฟีลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
    สุลักขณา แสงทรัพย์สิน; ฆริกา คันธา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2023)
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะโมเดลธุรกิจร้านรีฟีล (Business Model) ความท้าทายของธุรกิจ (Business Challenge) และเสนอแนวทางเบื้องต้นในการพัฒนาธุรกิจร้านรีฟีลในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) ผู้ประกอบการและผู้จัดการแบรนด์ร้านรีฟีลทั้งหมด 10 ร้าน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีการลงพื้นที่ร้านรีฟีลเพื่อเก็บข้อมูลและสังเกตการณ์ โดยนำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์แบบพรรณนาเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ตามกรอบการศึกษาองค์ประกอบโมเดลธุรกิจที่ปรับปรุงจาก Johnson, Christensen & Kagermann (2008), Osterwalder (2008), Social Innovation lab (2013), Tandemic (2019) และ Kotler (1997) โดยแบ่งลักษณะของโมเดลธุรกิจออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1) คุณค่าต่อลูกค้า (Customer Value Proposition) 2) สูตรกำไร (Profit Formula) 3) ทรัพยากรหลัก (Key Resource) และ 4) กระบวนการหลัก (Key Process) ผลการศึกษาพบว่า 1. คุณค่าต่อลูกค้า (Customer Value Proposition): คุณค่าของร้านรีฟีล (Value of the Shop) ได้แก่ 1) แนวคิดของการค้าปลีกยั่งยืน (Sustainable Retail Concept) 2) การลดขยะ (Waste Reduction) 3) สินค้าคุณภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความยั่งยืนในสังคม (Sustainable Products) และ 4) การเป็นแหล่งเรียนรู้และชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม (Environment Learning Community) 2. ทรัพยากรหลัก (Key Resource): ทรัพยากรที่ธุรกิจร้านรีฟีลต้องใช้ในการดำเนินกิจการ โดยเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับธุรกิจร้านรีฟีลในการส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้าและสังคม ได้แก่ 1) ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) 2) เงินลงทุน (Investment) 3) สินค้า (Products) 4) อุปกรณ์ (Equipment) 5) พันธมิตร (Partnerships) 6) ทำเลที่ตั้ง (Location) และ 7) พนักงาน (Employees) 3. สูตรกำไร (Profit Formula): การสร้างกำไรของธุรกิจร้านรีฟีลในขณะที่มอบคุณค่าให้แก่ลูกค้า ได้แก่ กำไร (Profit) ต้นทุน (Cost) รวมถึงแนวทางในการตั้งราคาสินค้า (Pricing) 4. กระบวนการหลัก (Key Process): กระบวนการดำเนินงานและการจัดการของธุรกิจร้านรีฟีลที่ช่วยให้ร้านรีฟีลสามารถส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้าและสังคม ได้แก่ 1) การปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Engagement) 2) การตลาดและช่องทางการสื่อสาร (Marketing and Communication Channels) 3) การบริการ (Service) 4) การออกแบบร้าน (Shop Design) 5) การดูแลสินค้า (Storage) 6) การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว (Used Packaging Management) และ 7) การสนับสนุนการลดขยะบรรจุภัณฑ์แก่ผู้ผลิต (Supporting Packaging Waste Reduction for Supplier) ความท้าทายทางธุรกิจ (Business Challenge) ที่สำคัญของการทำธุรกิจร้านรีฟีลนั้นอยู่ในส่วนของสูตรกำไร (Profit Formula) กล่าวคือ ธุรกิจการขายสินค้ารีฟีลนั้นให้กำไรสุทธิ (Margin) ที่ต่ำ ส่งผลให้ธุรกิจร้านรีฟีลในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอาจไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพทางสังคมและการเงินอย่างยั่งยืน แนวทางพัฒนาธุรกิจร้านรีฟีลในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ 1) การทำตู้รีฟีล (Refill Station) เพื่อกระจายสินค้ารีฟีล 2) การนำเสนอสินค้าคุณภาพที่หลากหลาย (Quality and Variety of Products) 3) การให้รางวัลแก่ลูกค้าที่ซื้อสินค้าไร้บรรจุภัณฑ์ (Reward Me) 4) การหาพันธมิตร (Partnerships) คู่ค้าที่สนับสนุนและส่งเสริมแนวคิดการ “รักษ์โลก” ของธุรกิจร้านรีฟีล 5) การทำการตลาดในเชิงรุก: การตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer Marketing) และการตลาดชุมชน (Community Marketing) ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า คุณค่าของร้านรีฟีลนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่แนวคิดของร้านที่ส่งเสริมความยั่งยืน กล่าวคือ ธุรกิจร้านรีฟีลไม่เพียงแต่สร้างผลกระทบทางบวกต่อสิ่งแวดล้อม คือ เป็นร้านค้าปลีกที่ตอบโจทย์ของผู้บริโภคในการลดการใช้บรรจุภัณฑ์ครั้งเดียว และส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำ แต่ยังสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนในแง่ของการกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น ด้วยการเป็นหน้าร้านให้กับผู้ประกอบการรายย่อยในชุมชนที่ผลิตสินค้าธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนเกษตรกรในท้องถิ่นผ่านการรับซื้อวัตถุดิบในราคาที่เป็นธรรม ร้านรีฟีลจึงถือเป็นรูปแบบการค้าปลีกที่ยั่งยืน (Sustainable Retail Concept) ที่สร้างผลกระทบทางบวกต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • Thumbnail Image
    Item
    นวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
    อรญา อู่สุวรรณ; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2023)
    การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์วิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานทรัพยากรชุมชน และนวัตกรรมทางสังคม เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และเสนอแนวทางการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยนวัตกรรมทางสังคมตำบลตลาดใหม่ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In – Depth Interview) และสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากกลุ่มผู้นำชุมชนแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นต้น จำนวน 20 ท่าน และใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) กับตัวเเทนครัวเรือน จำนวน 261 ครัวเรือน โดยวิธีการสุ่มแบบโควตาไม่เป็นสัดส่วน (Quota sampling) และแบบบังเอิญ (Accidental Selection) วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ SPSS (Statistical Package for the Social Science) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากการศึกษาพบว่า ศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและนวัตกรรมทางสังคมของตำบลตลาดใหม่มีประวัติศาสตร์ของบรรพชนทั้งหมด 12 ท่าน และมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการตั้งกลุ่มวิสาหกิจ เช่น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจักสานบ้านตลาดใหม่ วิสาหกิจชุมชนคนรักดนตรีไทย อบต .ตลาดใหม่ การแสดงลำตัด กลุ่มขนมไทยบ้านตลาดใหม่ กลุ่มนวดแผนโบราณเพื่อสุขภาพ และกระถางดินเผา เป็นต้น ด้านปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ได้แก่ 1) ปัจจัยภายใน พบว่า มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ และเปิดโอกาสให้หน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาเข้ามาพัฒนา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่เป็นสำคัญ รวมถึงการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และ 2) ปัจจัยภายนอก พบว่า มีนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวจากภาครัฐเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และมีกฎหมายในการควบคุมมาตรฐานของการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แนวทางการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยนวัตกรรมทางสังคม ได้แก่ การส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืนโดยนวัตกรรมทางสังคม ผลักดันการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของชุมชนและการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการตลาดดิจิทัลด้านการท่องเที่ยว เพื่อประชาสัมพันธ์ และขายสินค้าและบริการการท่องเที่ยว จัดเส้นทางการท่องเที่ยว One Day Trip และครบวงจร ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยให้นักท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีชุมชน และเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในอำเภอ จังหวัด และจังหวัดใกล้เคียงโดยขอความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชน
  • Thumbnail Image
    Item
    แนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในเขตกรุงเทพมหานคร
    จิรัฏฐ์ จันต๊ะคาด; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์และปัญหาจากการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนในเขตกรุงเทพมหานครปัจจุบัน (2) ศึกษาความรู้ความเข้าใจที่ส่งผลต่อความตระหนักและพฤติกรรมการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของภาคประชาชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในเขตกรุงเทพมหานคร และ (3) เสนอแนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาเชิงผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหนังสือ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บรวบรวม ข้อมูลปฐมภูมิจากการลงพื้นที่ทำแบบสอบถามกับประชากรกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพมหานครจำนวน 480 ราย รวมทั้งการสัมภาษณ์ตัวแทนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อหาแนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้า และข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ STATA ยอมรับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 384,233 ตันในปีพ.ศ 2558 เพิ่มเป็น 435,187 ตันในปีพ.ศ. 2564 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ในระยะ 7 ปีที่ผ่าน และขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่เข้าสู่กระบวนการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกต้อง โดยสามารถจัดการได้เพียงร้อยละ 22 หรือ 147,293.96 ตันของปริมาณที่เกิดขึ้นทั้งหมด ทำให้ยังมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ตกค้างหรือไม่สามารถจัดการได้หลงเหลืออยู่ ทั้งนี้พฤติกรรมของประชาชนส่วนใหญ่บริโภคสินค้าไปตามกระแสความนิยม และการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้ประกอบการทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่มีความต่อเนื่อง รวมถึงยังไม่แรงจูงใจทางด้านระบบเศรษฐศาสตร์ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพ และข้อจำกัดด้านกฎระเบียบและแนวทางการปฏิบัติเพื่อการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวม นอกจากนี้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจต่อความตระหนักและพฤติกรรมการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ในการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยภายในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่อเดือนเฉลี่ย 1.31 ชิ้น และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์และหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับสูง (ค่าระดับคะแนน 1.34 – 2.00) จำนวน 409 ราย และ 370 ราย คิดเป็นร้อยละ 85.2 และร้อยละ 77.1 ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในแหล่งที่อยู่อาศัยได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกจากการบริการของภาครัฐกว่าครึ่งหนึ่งในระดับน้อย (ค่าระดับคะแนน 0.00 – 0.66) จำนวน 283 ราย คิดเป็นร้อยละ 59 ส่วนใหญ่มีความตระหนักในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับสูง (ค่าระดับคะแนน 1.34 – 2.00) จำนวน 339 ราย คิดเป็นร้อยละ 70.6 รวมทั้งมีพฤติกรรมการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในแหล่งที่อยู่อาศัยตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนอยู่ในระดับสูง (ค่าระดับคะแนน 1.34 – 2.00) จำนวน 367 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.5 อย่างไรก็ตามการจะบรรลุถึงความยั่งยืนในอนาคตหรือการจะเป็นมหานครสีเขียวในเอเชีย การจัดการปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งผลสู่การบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ โดยต้องอาศัยการสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะผู้บริหารต้องเป็นผู้กำหนดทิศทางการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน ทั้งด้านนโยบาย มาตรการ รวมทั้งกลยุทธ์ที่ใช้แก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ในชุมชนให้แน่ชัด อีกทั้งควรผลักดันและสร้างการรับรู้ต่อหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อการจัดการขยะของบุคลากรทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติงาน เพื่อขับเคลื่อนแนวคิดไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในบุคลากรทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติงานด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีความรู้ความเข้าใจแนวคิดและหลักการดำเนินงานหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ กระบวนการผลิตได้อีก (Make-Use–Return) หากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนให้ความร่วมมือจะส่งผลให้เดินหน้าเข้าสู่การดำเนินเศรษฐกิจในรูปแบบดังกล่าวอย่างสมดุลในทุกด้าน ภายใต้วิสัยทัศน์เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด ลดผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การผลิต การบริโภค การจัดการของเสีย และการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่