• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การประเมินความเสี่ยงด้านนิเวศพิษวิทยาจากการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในระบบนิเวศนาข้าว จังหวัดชัยนาท : กรณีศึกษาเป็ดไล่ทุ่ง

by ภัทราวดี วัฒนสุนทร

Title:

การประเมินความเสี่ยงด้านนิเวศพิษวิทยาจากการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในระบบนิเวศนาข้าว จังหวัดชัยนาท : กรณีศึกษาเป็ดไล่ทุ่ง

Other title(s):

Ecological risk assessment of pesticide residues in paddy field ecosystem in Chai-Nart Province : a case study of grazing ducks

Author(s):

ภัทราวดี วัฒนสุนทร

Advisor:

จินตนา อมรสงวนสิน

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

จากปัญหาการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ที่มากเกินไปของเกษตรกรในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเกษตรกร รวมถึง สุขภาพของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในระบบนิเวศนั้นๆ เป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้เขียนจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้ทำการศึกษาการประเมินความเสี่ยงจากการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในระบบนิเวศนาข้าว จังหวัดชัยนาท กรณีศึกษา เป็ดไล่ทุ่ง จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาชนิดและปริมาณของการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในนาข้าวที่มีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งของจังหวัดชัยนาท 2) เพื่อศึกษาเส้นทางการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ของเป็ดไล่ทุ่งจากสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพของเป็ดไล่ทุ่ง 3) เพื่อศึกษาผลจากการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ต่อห่วงโซ่อาหารของเป็ดไล่ทุ่งในระบบนิเวศนาข้าวของจังหวัดชัยนาท 4) เพื่อประเมินความเสี่ยงจากการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในสิ่งแวดล้อม ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศนาข้าวที่มีผลต่อสุขภาพของเป็ดไล่ทุ่ง
วิธีการศึกษาแบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วนแรกเป็นการศึกษาทางด้านสังคม ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกรผู้ทำนาและเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งในอำเภอวัดสิงห์และอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ส่วนที่สองเป็นการศึกษาเชิงปริมาณโดยทำการวิเคราะห์ปริมาณการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในตัวอย่างดิน ตะกอนดิน น้ำ และเมล็ดข้าวตก และทำการวิเคราะห์ Cholinesterase ในตัวอย่างซีรัมเป็ดเพื่อนามาวิเคราะห์ค่าความเสี่ยงด้านนิเวศพิษวิทยาจากการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในระบบนิเวศนาข้าว จังหวัดชัยนาท และศึกษาผลกระทบจากการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในตัวอย่างสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพของเป็ดไล่ทุ่งและระบบนิเวศนาข้าวจังหวัดชัยนาท
ผลการศึกษาพบว่าในตัวอย่างสิ่งแวดล้อมมีการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืช 5 กลุ่ม คือสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์กลุ่ม Carbamate สารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์กลุ่ม Organocholine สารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์กลุ่ม Organophosphorus สารกำจัดเชื้อรา (Fungicide) และ สารกำจัดวัชพืช (Herbicide) ซึ่งปริมาณการตกค้างในตัวอย่างสิ่งแวดล้อมของทั้ง 2 อำเภอ นั้นมีปริมาณที่แตกต่าง กัน โดยตัวอย่างที่สิ่งแวดล้อมที่เก็บจากอำเภอวัดสิงห์จะพบปริมาณการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในปริมาณที่สูงกว่าตัวอย่างสิ่งแวดล้อมที่เก็บจากอำเภอหันคาเกือบทุกชนิด แต่ตัวอย่างสิ่งแวดล้อมของอำเภอหันคาจะตรวจพบการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์มากชนิดกว่าตัวอย่างสิ่งแวดล้อมในอำเภอวัดสิงห์ เมื่อนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาทาการจัดทำเกณฑ์การประเมินการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์พบว่าตัวอย่างสิ่งแวดล้อมนั้นมีการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์เกินจากค่า Acceptable Daily Intake (ADI) ดังนั้นผู้วิจัยจึงจัดทำเกณฑ์ในการประเมินความเสี่ยงเทียบกับค่า ADI ของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์แต่ละชนิด ส่วนเกณฑ์ในการประเมินความเสี่ยงจากการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ที่มีผลต่อสุขภาพของเป็ดไล่ทุ่งได้ใช้ค่า %Cholinesterase Enzyme Inhibition เป็นตัวบอกถึงค่าความเสี่ยงที่สิ่งมีชีวิตได้รับเข้าไปในร่างกาย จากเกณฑ์การประเมินพบว่าตัวอย่างสิ่งแวดล้อมของ อำเภอวัดสิงห์ และ อำเภอหันคามีการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในปริมาณสูงเมื่อเทียบกับค่า ADI ส่วนความเสี่ยงจากการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ต่อสุขภาพของเป็ดไล่ทุ่งเมื่อดูจากการค่า%Cholinesterase Enzyme Inhibition พบว่าตัวอย่างซีรัมเป็ดไล่ทุ่งมี %Cholinesterase Enzyme Inhibition สูงในทั้ง 2 อำเภอ จึงทำให้ทราบได้ว่าการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งในนาข้าวของเกษตรกรทั้ง 2 อำเภอ มีความเสี่ยงที่จะได้รับสัมผัสกับสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์เข้าสู่ร่างกาย จากการศึกษานี้ทำให้ทราบถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดจากสัมผัสกับตัวอย่างสิ่งแวดล้อมของอำเภอวัดสิงห์ และ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทและความเสี่ยงที่จะส่งผลถึงอาชีพการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งในนาข้าวของเกษตรกร และผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลจากการศึกษานี้ไปใช้ในการเฝ้ าระวังความเสี่ยงให้แก่เกษตรกรที่เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายจากการตายของเป็ดไล่ทุ่ง และยังสามารถใช้เป็นข้อมูลในการเตือนภัยให้แก่เกษตรกรผู้ทำนาข้าวได้เห็นถึงผลเสียจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ที่มากเกินไปต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเกษตรกรเอง
จากการศึกษานี้จะเห็นได้ว่าการที่เกษตรกรเปลี่ยนรูปแบบการทำนาจากการทำนาภายในครัวเรือนเป็นการทำนาที่เน้นผลผลิตเป็นสำคัญนั้น ทำให้เกษตรกรต้องมีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชสัตว์เป็นจำนวนมาก จึงทาให้เกิดการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศนาข้าวเป็นจำนวนมาก การตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในระบบนิเวศนาข้าวอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนาข้าวนั้นทำให้เกิดการเสียสมดุลขึ้นในระบบนิเวศ และยังอาจส่งผลมายังตัวเกษตรกรเองอีกด้วย

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

ศัตรูพืช -- การควบคุม -- ไทย
สารพิษตกค้างทางเกษตรกรรม -- ไทย
สารพิษตกค้างทางเกษตรกรรม -- การประเมินความเสี่ยง
ยากำจัดศัตรูพืช -- ไทย
ยากำจัดศัตรูพืช -- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม -- ไทย

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

176 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4451
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b190471.pdf ( 1.42 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSEDA: Theses [92]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×