• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

การทำแท้งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305 ศึกษากรณี : เหตุให้ทำแท้งได้ หากทารกในครรภ์มารดาพิการ

by สุดที่รัก ฤกษ์คณะ

Title:

การทำแท้งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305 ศึกษากรณี : เหตุให้ทำแท้งได้ หากทารกในครรภ์มารดาพิการ

Other title(s):

Analysis of abortion under section 305 of criminal code : a case study of fetal disability abortion

Author(s):

สุดที่รัก ฤกษ์คณะ

Advisor:

วริยา ล้ำเลิศ

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2018

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

ปัญหาการลักลอบทำแท้งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย  ความเชื่อทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมยังคงเป็นข้อโต้แย้งสำหรับการออกกฎหมายในเรื่องการทำแท้งที่มีความเห็นต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ จากประเด็นปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบัน มีผลการสำรวจพบว่ามีทารกพิการแต่กำเนิดจำนวนมาก ขณะที่กระทรวงสาธารณะสุขเร่งแก้ไขปัญหาโดยจัดตั้งโครงการขึ้นทะเบียนเด็กพิการแต่กำเนิด พร้อมศึกษาวิจัยสาเหตุเพื่อนำไปสู่การป้องกันและเยียวยาระดับชาติ ดังนั้นเรื่องที่น่าเป็นห่วงขณะนี้คือปัญหาเด็กที่คลอดออกมาแล้วพิการแต่กำเนิด ซึ่งส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคม จนถึงระดับประเทศที่ต้องแบกรับภาระดูแลรักษาบุตรพิการ รวมทั้งผลกระทบทางจิตใจของผู้เป็นพ่อและแม่อีกด้วย ในทางกลับกัน เนื่องจากในปัจจุบันวิทยาการทางด้านการแพทย์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แพทย์สามารถตรวจสุขภาพของทารกได้ตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ของมารดา ดังนั้นจะเป็นธรรมหรือไม่หากเราไม่ใช้วิทยาการทางด้านการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้าแต่กลับปล่อยให้เด็กที่ถูกตรวจพบความพิการตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ของมารดาคลอดออกมาเป็นเด็กพิการตั้งแต่กำเนิด แม้จะมีข้อบังคับของแพทยสภากำหนดให้ทำแท้งได้ ในกรณีตรวจพบว่าทารกในครรภ์มีความพิการอย่างรุนแรง แต่เนื่องจากข้อบังคับของแพทยสภาเป็นกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่าประมวลกฎหมายอาญา จึงไม่อาจขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมายอาญาได้ จึงทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติของบุคลากรทางการแพทย์      ดังนั้นจากประเด็นปัญหาที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 ต้องได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับบริบทของปัญหาสังคมไทยในปัจจุบัน กล่าวคือให้เพิ่มเติมเหตุให้ทำแท้งได้ ในกรณีแพทย์ตรวจพบว่าทารกในครรภ์มารดาพิการ หากหญิงตั้งครรภ์มีความประสงค์และร้องขอทำแท้ง ให้แพทย์สามารถทำแท้งได้ ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้เกิดข้อพิพาทและปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
Illegal abortion is a controversial problem that happens around the world, including Thailand. The belief, attitude and idea based on religion and culture of each country lead the abortion law to the different ways. The medical researches in Thailand found that the numbers of congenital disabilities are very high. Thailand’s ministry of Public Health is trying to find a solution by making congenital disabilities list in order to study for cause and prevention in the future. The main concern at the moment is the negative effects toward family, society and the country that have to take responsibility in taking care of the disabled baby as well as parents’ mental health. Nowadays, with an advanced medical technology, doctor can check fetus condition at the early stage. It might not be good to neglect the advanced technology and let the fetus with disability be born into congenital disabled, so the Medical Council of Thailand states that abortion is allowed in the pregnancy with severe disability in the fetus. However, there is still the problem happened because the Medical Council’s regulation is lower in the hierarchy of legislation comparing to Penal Code. According to the conflict mentioned above, the Penal Code, Section 305 should be modified to the related conflict in Thailand by allowing the pregnant woman with doctor-certificated disable of severely fetus to terminate the pregnancy in order to prevent the conflict and issue for the future.

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561

Subject(s):

การทำแท้ง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การทำแท้ง

Keyword(s):

หญิงตั้งครรภ์
e-Thesis
ทารกในครรภ์มารดาพิการ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

102 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4488
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
b204612.pdf ( 2,019.38 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [105]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×