รูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพเพื่อสนับสนุนความทุ่มเทมีใจต่อองค์กรของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในธุรกิจการบิน
by ภีมพิพัฒน์ มโนมัยกุล
Title: | รูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพเพื่อสนับสนุนความทุ่มเทมีใจต่อองค์กรของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในธุรกิจการบิน |
Other title(s): | Activity model of career advancement for supporting organization engagement of flight attendants in airline business |
Author(s): | ภีมพิพัฒน์ มโนมัยกุล |
Advisor: | โชคชัย สุเวชวัฒนกูล |
Degree name: | การจัดการมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ |
Degree department: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมการส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพเพื่อสนับสนุนความทุ่มเทมีใจต่อองค์กรของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในธุรกิจการบินกับความทุ่มเทมีใจต่อองค์กร 2) เพื่อศึกษากิจกรรมส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในธุรกิจการบินที่มีอิทธิพลต่อความทุ่มเทมีใจต่อองค์กร และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพเพื่อสนับสนุนความทุ่มเทมีใจต่อองค์กรของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในธุรกิจการบิน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผ่านแบบสอบถาม โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษางานวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบในประเทศไทย อันได้แก่ 1) พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) และ 2) พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของบริษัทบางกอกแอร์เวย์ส จำกัด (มหาชน) จำนวนกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้มีจำนวนเท่ากับ 138 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 57.2 โดยเกิดตั้งแต่ พ.ศ.2523 - พ.ศ.2540 (Generation Y) คิดเป็นร้อยละ 71.0 และมีวุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 61.6 ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ดำรงตำแหน่งงานระดับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน คิดเป็นร้อยละ 96.4 และทำงานที่บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) คิดเป็นร้อยละ 90.6 โดยมีระยะเวลาปฏิบัติงาน 10-15 ปี คิดเป็นร้อยละ 79.7 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพภาพรวมอยู่ในระดับมาก (xˉ = 4.054, S.D. = 0.527) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การประเมินเพื่อการปรับเงินเดือนให้สูงขึ้น (xˉ = 4.366, S.D. = 0.576) รองลงมา คือ การวางแผนและให้คำปรึกษาเรื่องอาชีพ (xˉ = 4.332, S.D. = 0.667) การสนับสนุนให้มีการเรียนรู้ (xˉ = 3.951, S.D. = 0.737) การประเมินเพื่อเลื่อนตำแหน่งงานให้สูงขึ้น (xˉ = 3.913, S.D. = 0.734) และการเปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ (xˉ = 3.708, S.D. = 0.704) ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความทุ่มเทมีใจต่อองค์กรภาพรวมอยู่ในระดับมาก (xˉ = 4.037, S.D. = 0.672) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความตั้งใจที่จะลาออกจากองค์กรต่ำ (xˉ = 4.127, S.D. = 0.724) รองลงมา คือ ความพึงพอใจในการปฎิบัติงานเพิ่มสูงขึ้น (xˉ = 4.111, S.D. = 0.734) ผลการปฎิบัติงานขององค์กรเพิ่มสูงขึ้น (xˉ = 4.033, S.D. = 0.797) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร (xˉ = 3.980, S.D. = 0.756) และอัตราการขาดงานของพนักงานต่ำ (xˉ = 3.935, S.D. = 0.787) ตามลำดับ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน |
Keyword(s): | ความก้าวหน้าในสายอาชีพ
ความทุ่มเทมีใจต่อองค์กร ธุรกิจการบิน e-Thesis |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 171 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4501 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|