การศึกษากระบวนการตีตราทางสังคมที่ทำให้บุคคลกลายเป็นผีปอบ
Publisher
Issued Date
2015
Issued Date (B.E.)
2558
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
260
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b191046
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อภิมุข สดมพฤกษ์ (2015). การศึกษากระบวนการตีตราทางสังคมที่ทำให้บุคคลกลายเป็นผีปอบ. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4654.
Title
การศึกษากระบวนการตีตราทางสังคมที่ทำให้บุคคลกลายเป็นผีปอบ
Alternative Title(s)
Study of labeling process of society to individuals as "Ogres"
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงกระบวนการตีตราทางสังคมที่ทาให้บุคคลกลายเป็น ผีปอบ โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการและผลของการตีตราทางสังคมที่ทำให้บุคคลกลายเป็นผีปอบรวมไปถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสังคมในด้านต่างๆ และ 2) เพื่อศึกษาถึงแนวทางแก้ไขปัญหา และป้องกันไม่ให้เกิดการกล่าวหาบุคคลว่าเป็นผีปอบจากคนในสังคมเพื่อนำผลการศึกษาวิจัยไปพัฒนาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องผีปอบ และเป็นแนวทางป้องกันการกล่าวหาให้บุคคลกลายเป็นผีปอบท้องที่ต่างๆ รวมทั้งการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ต่อคนในสังคมให้มีความเข้าใจต่อการตีตราทางสังคมที่ทำให้บุคคลกลายเป็นผีปอบได้
ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 401 คน ซึ่งมาจากพื้นที่ที่เคยเกิดเหตุการณ์เรื่องผีปอบจำนวน 6 หมู่บ้านในภาคอีสาน ซึ่งจำแนกบุคคลได้ 3 กลุ่มได้แก่ 1) คนที่เคยถูกเชื่อว่าเป็นผีปอบและญาติพี่น้อง 2) ผู้นำชุมชน และ 3) ชาวบ้านในหมู่บ้านทั้ง 6 หมู่บ้าน
งานวิจัยครั้งนี้ได้แยกการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) การวิเคราะห์เชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับกระบวนการตีตราทางสังคมที่ทาให้บุคคลกลายเป็นผีปอบตาม แนวทางแก้ไขปัญหาที่ถูกนำมาใช้แนวทางการป้องกันการกล่าวหาบุคคลให้กลายเป็นผีปอบ และผลกระทบที่มีผลต่อสังคม ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างจากบุคคลจำนวน 23 คนโดยใช้การวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา (Description Analysis) เพื่อประกอบการอธิบาย และ 2) การวิเคราะห์เชิงปริมาณเป็นการวิเคราะห์ถึงเจตคติของคนในสังคมเพื่อทดสอบและยืนยันในข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งข้อมูลส่วนนี้มาจากการทำแบบสอบถามของบุคคลจำนวน 378 คน ใน 6 หมู่บ้าน โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ คือค่าความถี่ และค่าร้อยละ เพื่อประกอบการอธิบาย
ผลการศึกษาพบว่าการกลายเป็นผีปอบของบุคคลที่เกิดมาจากกระบวนการตีตราทางสังคมเป็นกลไกสำคัญ ซึ่งมี 3 ขั้นตอน คือ 1) พฤติกรรมเบี่ยงเบนเริ่มต้น เป็นการกำหนดสถานะทางสังคมให้บุคคลเป็นผู้ต้องสงสัยในการเป็นผีปอบ ซึ่งเป็นผลมาจากคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบเองหรือมาจากสังคมเป็นผู้กำหนดให้ก็ได้ 2) กระบวนการตีตราทางสังคม เป็นวิธีการที่คนในสังคมใช้กระทำเพื่อควบคุมพฤติกรรม ลงโทษ และกดดันต่อผู้ที่ถูกเชื่อว่าเป็นผีปอบ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ทำให้ภาพของการเป็นผีปอบมีความชัดมากขึ้น 3) พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงถาวรเป็นผลมาจากกระบวนการตีตราทางสังคมที่รุนแรงจนมีผลทำให้บุคคลเกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านพฤติกรรม และอารมณ์จนมีความผิดปกติไปอย่างถาวรซึ่งรวมไปถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการยอมรับในการเป็นผีปอบอย่างชัดเขน หรือแม้จะไม่ยอมรับแต่ก็ไม่ได้ตอบโต้กลับด้วยวิธีการใดๆ จนถูกมองว่าเป็นอีกพฤติกรรมหนึ่งของคนที่เป็นผีปอบด้วย
ด้านการแก้ไขปัญหาพบว่ามีอยู่ 3 แนวทางสำคัญ ได้แก่ 1) แนวทางของสังคม เป็นวิธีการที่มาจากความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่คิดว่าจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องผีปอบได้ 2) แนวทางของบุคคลที่ถูกเชื่อว่าเป็นผีปอบที่ได้พยายามอธิบายตัวเองเพื่อสร้างความเข้าใจกับสังคมด้วยแนวทางต่างๆ ทั้งตามความเชื่อและการเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากหน่วยงานอื่น 3) แนวทางของหน่วยงานราชการ เป็นการเข้ามาช่วยเหลือสังคมของหน่วยงานราชการเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องผีปอบควบคู่ไปกับสังคมโดยหวังที่ควบคุมระดับความรุนแรงของการตีตราและการลงโทษทางสังคม
ด้านผลกระทบพบว่ามีอยู่ 3 ด้านสาคัญคือ 1) ผลกระทบที่มีต่อทรัพย์สินเงินทองของชาวบ้าน ซึ่งต้องเสียไปกับกระบวนการแก้ไขปัญหาและการที่ต้องจ่ายเป็นค่าเสียหายแก่ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบเมื่อถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฟ้องร้องดาเนินคดี 2) ผลกระทบที่มีต่อการดาเนินชีวิตของคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ และคนในสังคมที่ถูกสังคมอื่นรังเกียจเพราะการมาจากสังคมที่มีผีปอบ และ 3) ผลกระทบที่มีต่อร่างกายของผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ ซึ่งเป็นผลมาจากการถูกสังคมตีตราด้วยวิธีการที่รุนแรง
ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา พบว่าการกลายเป็นผีปอบของบุคคลนั้น คนในสังคมมีส่วนสำคัญในการกาหนดให้เกิดขึ้นและผลกระทบที่ตามมาได้สร้างความเสียหายให้แก่ผู้ถูกเชื่อว่าเป็นผีปอบ คนในสังคม และชื่อเสียงของสังคมเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงไม่ควรไปกล่าวหาบุคคลใดว่าเป็นผีปอบ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา และในการแก้ไขปัญหาชาวบ้านควรที่จะพิจารณาถึงความเหมาะสมในวิธีการที่นามาใช้ อีกทั้งควรเชิญหน่วยงานอื่นเข้ามาร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหาไปพร้อมกัน เพื่อจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยุติธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายโดยสันติปราศจากความรุนแรงที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลใด อีกทั้งยังเป็นการป้องกันบุคคลที่ไม่หวังดีนำเรื่องผีปอบเข้ามาหาแสวงหาประโยชน์ความเชื่อของชาวบ้านอีกด้วย
ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 401 คน ซึ่งมาจากพื้นที่ที่เคยเกิดเหตุการณ์เรื่องผีปอบจำนวน 6 หมู่บ้านในภาคอีสาน ซึ่งจำแนกบุคคลได้ 3 กลุ่มได้แก่ 1) คนที่เคยถูกเชื่อว่าเป็นผีปอบและญาติพี่น้อง 2) ผู้นำชุมชน และ 3) ชาวบ้านในหมู่บ้านทั้ง 6 หมู่บ้าน
งานวิจัยครั้งนี้ได้แยกการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) การวิเคราะห์เชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับกระบวนการตีตราทางสังคมที่ทาให้บุคคลกลายเป็นผีปอบตาม แนวทางแก้ไขปัญหาที่ถูกนำมาใช้แนวทางการป้องกันการกล่าวหาบุคคลให้กลายเป็นผีปอบ และผลกระทบที่มีผลต่อสังคม ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างจากบุคคลจำนวน 23 คนโดยใช้การวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา (Description Analysis) เพื่อประกอบการอธิบาย และ 2) การวิเคราะห์เชิงปริมาณเป็นการวิเคราะห์ถึงเจตคติของคนในสังคมเพื่อทดสอบและยืนยันในข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งข้อมูลส่วนนี้มาจากการทำแบบสอบถามของบุคคลจำนวน 378 คน ใน 6 หมู่บ้าน โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ คือค่าความถี่ และค่าร้อยละ เพื่อประกอบการอธิบาย
ผลการศึกษาพบว่าการกลายเป็นผีปอบของบุคคลที่เกิดมาจากกระบวนการตีตราทางสังคมเป็นกลไกสำคัญ ซึ่งมี 3 ขั้นตอน คือ 1) พฤติกรรมเบี่ยงเบนเริ่มต้น เป็นการกำหนดสถานะทางสังคมให้บุคคลเป็นผู้ต้องสงสัยในการเป็นผีปอบ ซึ่งเป็นผลมาจากคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบเองหรือมาจากสังคมเป็นผู้กำหนดให้ก็ได้ 2) กระบวนการตีตราทางสังคม เป็นวิธีการที่คนในสังคมใช้กระทำเพื่อควบคุมพฤติกรรม ลงโทษ และกดดันต่อผู้ที่ถูกเชื่อว่าเป็นผีปอบ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ทำให้ภาพของการเป็นผีปอบมีความชัดมากขึ้น 3) พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงถาวรเป็นผลมาจากกระบวนการตีตราทางสังคมที่รุนแรงจนมีผลทำให้บุคคลเกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านพฤติกรรม และอารมณ์จนมีความผิดปกติไปอย่างถาวรซึ่งรวมไปถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการยอมรับในการเป็นผีปอบอย่างชัดเขน หรือแม้จะไม่ยอมรับแต่ก็ไม่ได้ตอบโต้กลับด้วยวิธีการใดๆ จนถูกมองว่าเป็นอีกพฤติกรรมหนึ่งของคนที่เป็นผีปอบด้วย
ด้านการแก้ไขปัญหาพบว่ามีอยู่ 3 แนวทางสำคัญ ได้แก่ 1) แนวทางของสังคม เป็นวิธีการที่มาจากความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่คิดว่าจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องผีปอบได้ 2) แนวทางของบุคคลที่ถูกเชื่อว่าเป็นผีปอบที่ได้พยายามอธิบายตัวเองเพื่อสร้างความเข้าใจกับสังคมด้วยแนวทางต่างๆ ทั้งตามความเชื่อและการเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากหน่วยงานอื่น 3) แนวทางของหน่วยงานราชการ เป็นการเข้ามาช่วยเหลือสังคมของหน่วยงานราชการเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องผีปอบควบคู่ไปกับสังคมโดยหวังที่ควบคุมระดับความรุนแรงของการตีตราและการลงโทษทางสังคม
ด้านผลกระทบพบว่ามีอยู่ 3 ด้านสาคัญคือ 1) ผลกระทบที่มีต่อทรัพย์สินเงินทองของชาวบ้าน ซึ่งต้องเสียไปกับกระบวนการแก้ไขปัญหาและการที่ต้องจ่ายเป็นค่าเสียหายแก่ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบเมื่อถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฟ้องร้องดาเนินคดี 2) ผลกระทบที่มีต่อการดาเนินชีวิตของคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ และคนในสังคมที่ถูกสังคมอื่นรังเกียจเพราะการมาจากสังคมที่มีผีปอบ และ 3) ผลกระทบที่มีต่อร่างกายของผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ ซึ่งเป็นผลมาจากการถูกสังคมตีตราด้วยวิธีการที่รุนแรง
ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา พบว่าการกลายเป็นผีปอบของบุคคลนั้น คนในสังคมมีส่วนสำคัญในการกาหนดให้เกิดขึ้นและผลกระทบที่ตามมาได้สร้างความเสียหายให้แก่ผู้ถูกเชื่อว่าเป็นผีปอบ คนในสังคม และชื่อเสียงของสังคมเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงไม่ควรไปกล่าวหาบุคคลใดว่าเป็นผีปอบ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา และในการแก้ไขปัญหาชาวบ้านควรที่จะพิจารณาถึงความเหมาะสมในวิธีการที่นามาใช้ อีกทั้งควรเชิญหน่วยงานอื่นเข้ามาร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหาไปพร้อมกัน เพื่อจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยุติธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายโดยสันติปราศจากความรุนแรงที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลใด อีกทั้งยังเป็นการป้องกันบุคคลที่ไม่หวังดีนำเรื่องผีปอบเข้ามาหาแสวงหาประโยชน์ความเชื่อของชาวบ้านอีกด้วย
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558