Title:
| ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่สืบสวนจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สังกัดกองกำกับการสืบสวน สถานีตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุง |
Other title(s):
| Success in investigations and arrests of police officers. directed Investigation Division, Patthalung Provincial Police Station |
Author(s):
| ณัฐพงศ์ ย่องบุตร |
Advisor:
| เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์ |
Degree name:
| รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level:
| Master's |
Degree department:
| คณะรัฐประศาสนศาสตร์ |
Issued date:
| 2015 |
Publisher:
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract:
|
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ 1) เพื่อค้นหานิยามความสำเร็จในการปฏิบัติ
หน้าที่สืบสวนจับกุมในมุมมองของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สังกัดกองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัด
พัทลุง 2) เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่สืบสวนจับกุมในมุมมอง
ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สังกัดกองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุง และ 3) เพื่อสร้างตัว
แบบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่สืบสวนจับกุมในมุมมองของเจ้าหน้าที่
ตำรวจ สังกัดกองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สังกัดกองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธร
จังหวัดพัทลุง จำนวน 20 คน โดยแยกเป็น เจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับกองกำกับการ (ผู้กำกับการและ
รองผู้กำกับการ) จำนวน 1 คน และเจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับชุดปฏิบัติการ จำนวน 19 คน โดย
จำแนกเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นสัญญาบัตร จำนวน 6 คน และเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นประทวน จำนวน
13 คน ทั้งนี้โดยทำการศึกษาวิจัยในช่วง ระหว่างเดือน กันยายน 2557 ถึง พฤษภาคม 2558 ผลการวิจัยสรุปว่า นิยามความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่สืบสวนจับกุมในมุมมองของ
เจ้าหน้าที่ตำรวจ สังกัดกองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุง ประกอบไปด้วย
1) ความสำเร็จในระดับบุคคล คือ การที่ได้ทราบรายละเอียดแห่งความผิด การที่สามารถจับกุม
ผู้กระทำความผิด และ/หรือ ผู้ต้องสงสัยในคดีได้ การได้รับคำชมเชยจากผู้บังคับบัญชา การได้รับ
การพิจารณาความดีความชอบ/เลื่อนขั้นเงินเดือนเป็ นกรณีพิเศษ การเกิดความรักและความ
ภาคภูมิใจในอาชีพตำรวจ การมีชีวิตความเป็ นอยู่ที่ดีขึ้น 2) ความสำเร็จในระดับองค์กรหรือ
หน่วยงาน คือ สถิติอาชญากรรมในพื้นที่รับผิดชอบลดน้อยลง การได้รับคำชมเชยจากองค์กรหรือ
หน่วยงานในระดับที่สูงกว่าตามชั้นการบังคับบัญชา การได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆจาก
องค์กรหรือหน่วยงานในระดับที่สูงกว่าตามชั้นการบังคับบัญชา การได้รับคำชมเชยจากประชาชนในพื้นที่ การมีความสัมพันธ์อันดีกับประชาชน การได้รับความร่วมมือในด้านต่างๆจากประชาชน และ 3) ความสำเร็จในระดับสังคม บ้านเมืองและประเทศชาติ คือ ศาลได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการ
กระทำความผิดของผู้ต้องหาที่เพียงพอสำหรับการพิจารณาตัดสินคดี การที่จำเลยที่ถูกตัดสินว่ามี
ความผิดถูกลงโทษตามกฎหมาย จำนวนสถิติอาชญากรรมในในภาพรวมลดน้อยลง และ ความสงบ
เรียบร้อยของประชาชน และสังคม บ้านเมือง ประเทศชาติ ตัวชี้วัดความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่
สืบสวนจับกุม ประกอบไปด้วย จำนวนผู้กระทำความผิดที่ถูกจับกุมได้ คำชมเชยจากผู้บังคับบัญชา
ผลการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน จำนวนสถิติอาชญากรรมหรือจำนวนผู้กระทำความผิดที่ถูกจับกุม
ได้ คำชมเชยจากประชาชนในพื้นที่ และจำนวนจำเลยที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดและถูกลงโทษตาม
กฎหมาย สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่สืบสวนจับกุมประกอบไป
ด้วย บุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ความพอเพียงของงบประมาณ ความทันสมัยของความรู้และเทคนิค
ในการสืบสวน ระบบฐานข้อมูลที่สามารถเรียกดูและสืบค้นได้สะดวก ภาวะผู้นำที่เหมาะสมของ
ผู้บังคับบัญชา การจูงใจจากผู้บังคับบัญชา ทีมงานและการมีส่วนร่วมของทีมงาน ความร่วมมือที่ดี
จากประชาชน การเสนอข่าวของสื่อมวลชน และความมีประสิทธิภาพของสายลับให้ข่าว
|
Description:
|
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558
|
Subject(s):
| ข้าราชการตำรวจ |
Resource type:
| วิทยานิพนธ์ |
Extent:
| 124 แผ่น |
Type:
| Text |
File type:
| application/pdf |
Language:
| tha |
Rights:
| ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s):
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI:
| http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4662 |