Show simple item record

dc.contributor.advisorพรพรรณ ประจักษ์เนตรth
dc.contributor.authorวรัตดาภร อังวาณิชชากุลth
dc.date.accessioned2020-05-12T09:21:46Z
dc.date.available2020-05-12T09:21:46Z
dc.date.issued2015th
dc.identifier.otherb190097th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4894th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการแสวงข่าวสาร ด้านการท่องเที่ยวของผู้บริโภคจากแหล่งสารแบบปากต่อปากบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การรับรู้ ความน่าเชื่อถือและความตั้งใจซื้อบริการบริษัทนําเที่ยวของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการของบริษัทนําเที่ยวในตอบสนองต่อข้อมูลจากแหล่งสารที่มีความน่าเชื่อถือว่าเป็นอยางไร โดยผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาข้อมูลแบบผสมผสาน (Mixed Methods) โดยใช้รูปแบบ การวิจัยเชิงปริมาณโดยการสํารวจ (Survey Research) ด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) ในการ เก็บข้อมูลการวิจัยควบคั่กบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์จากผู้บริหารจากบริษัทนําเที่ยว จากผลการศึกษาพบว่า กลุ่มประชากรที่ทําการสํารวจส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพ โสด มีอายุระหวาง 26-30 ปี โดยเป็นผู้สําเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 15,000 ถึง 30,000 บาทและเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ทั้งนี้กลุ่มประชากรที่ทําการสํารวจใช้เวลา ในการแสวงหาข่าวสารด้านการท่องเที่ยวจากแหล่งสารแบบปากต่อปากบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1-2 วัน มากที่สุด โดยใช้ช่วงเวลาในการแสดงหาข่าวสารด้านการท่องเที่ยวจาก แหล่งสารแบบปากต่อปากบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ไม่แน่นอนมากที่สุดและใช้ช่วงเวลาระหว่าง 18.01-20.00 น. ในการแสดงหาข่าวสารด้านการท่องเที่ยวจากแหล่งสารแบบปากต่อปากบน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต มากที่สุด อีกทั้งในแต่ละครั้งจะใช้เวลา 1 ชั่วโมงต่อครั้งเพื่อการแสดงหา ข่าวสารด้านการท่องเที่ยวจากแหล่งสารแบบปากต่อปากบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากที่สุด โดย เลือกแสวงหาข่าวสารด้านการท่องเที่ยวจาก www.pantip.com มากที่สุด อีกทั้งจากข้อมูลการศึกษา ยังพบวา กลุ่มประชากรในการศึกษามีการแสวงหาข่าวสารฯ โดยรวมอยูในระดับปานกลาง กลุ่มประชากรในการศึกษามีการรับรู้ความน่าเชื่อถือจากแหล่งสารแบบปากต่อปากบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยรวมอยูในระดับมาก นอกจากนี้เมื่อทําการสัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสําคัญพบว่า มุมมองจากผู้บริหาร บริษัทนําเที่ยวขนาดใหญ่เห็นว่าการสื่อสารแบบปากต่อปากบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นใช้งบประมาณในการลงทุนตํ่าและสามารถทําให้ทราบถึงความต้องการของผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น ในขณะที่บริษัทที่มีขนาดเล็กมีความเห็นวาการสื่อสารแบบปากต่อปากบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ก่อให้เกิดการกระจายข้อมูลทั้งด้านบวกและด้านลบ ทั้งนี้บริษัทนําเที่ยวขนาดใหญ่เลือกจํากัดวงของการถ่ายทอดข้อมูลด้านการสื่อสารแบบปากต่อปากด้านลบโดยการออกนโยบายถึงบุคคลากร ภายในองค์กรไม่ให้ตอบสนองหรือขยายข้อมูลออกไป แต่หากเป็นข้อมูลด้านบวกก็จะทําการ สื่อสารกนภายในองค์กรเพื่อยกย่องความดีงามและถือให้เป็นแบบอย่าง อีกทั้งบริษัทนําเที่ยวขนาด ใหญ่ยังเชื่อว่าหากเกิดข้อมูลด้านการสื่อสารแบบปากต่อปากบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากผู้บริโภค ไม่ว่าในด้านบวกหรือด้านลบก็ตาม ล้วนส่งผลกระทบต่อองค์กรทั้งสิ้น โดยองค์กรขนาดใหญ่นั้น เลือกใช้วิธีการสร้างฐานสมาชิก (Fan Club) เนื่องจากเชื่อว่าบริษัทมีฐานลูกค้าที่เหนี่ยวแน่นและ จงรักภักดีอยู่ในขณะที่องค์กรขนาดเล็ก ซึ่งยังไม่ได้มีจํานวนลูกค้ามาก เลือกใช้วิธีการรักษาคุณภาพ การบริการเนื่องจากยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อองค์กรเท่าไรนักth
dc.description.provenanceSubmitted by Budsakorn Kaewpitakkan (toomool@gmail.com) on 2020-05-12T09:21:46Z No. of bitstreams: 1 b190097.pdf: 2457469 bytes, checksum: 1b3d03bb155ff297548e2751c47e23f2 (MD5)th
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2020-05-12T09:21:46Z (GMT). No. of bitstreams: 1 b190097.pdf: 2457469 bytes, checksum: 1b3d03bb155ff297548e2751c47e23f2 (MD5) Previous issue date: 2015th
dc.format.extent135 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectการสื่อสารแบบปากต่อปากth
dc.subjectการตัดสินใจซื้อth
dc.subjectการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์th
dc.subject.otherการสื่อสารระหว่างบุคคลth
dc.subject.otherการท่องเที่ยวth
dc.titleอิทธิพลของการสื่อสารแบบปากต่อปากบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (E-WOM) ต่อความตั้งใจซื้อบริการบริษัทนำเที่ยวของผู้บริโภคth
dc.title.alternativeThe influence of electronic word of mouth (E-WOM) purchasing intention toward travel program of travel agencyth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelMaster'sth
thesis.degree.disciplineนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2015.152


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record