การรับรู้ภาพลักษณ์ คุณภาพบัณฑิต หลักสูตรและการเรียนการสอนของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ
Publisher
Issued Date
2012
Issued Date (B.E.)
2555
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
14, 94 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
นลินี พานสายตา (2012). การรับรู้ภาพลักษณ์ คุณภาพบัณฑิต หลักสูตรและการเรียนการสอนของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/492.
Title
การรับรู้ภาพลักษณ์ คุณภาพบัณฑิต หลักสูตรและการเรียนการสอนของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ
Alternative Title(s)
Students' perceptions of image, graduate quality, curriculum and instruction of public universities
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนีมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับการรับรู้ของนักศึกษาที่มีต ภาพลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ 2) เพื่อศึกษาตําแหน่งการรับรู้ของนักศึกษาที่มี ตอภาพลักษณ์ ของสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ 3) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีตอคุณภาพบัณฑิต และ หลักสูตรและการเรียนการสอน การวิจัยนีใช้การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) โดยตัวอยางใน การวิจัยคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชันปีที่ 1 จํานวน 384 คน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ได้แก่ สถิติที่ (t-test) การวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ความสมนัย (Correspondence Analysis) ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีการรับรู้ต่อภาพลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐที่ตกเป็นตัวอย่างโดยรวมอยู่ ในระดับมาก โดยมีการรับรู้ต่อภาพภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่าเป็นมหาวิทยาลัยซึ่ง ตั้งอยูในภูมิทัศน์อันงดงาม และมีการรับรู้ต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว อยู่ในระดับมากที่สุด สวนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยขอนแก่น นักศึกษามีการรับรู้ต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับมาก โดยมีการรับรู้ต่อจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ว่าเป็นเสาหลักของแผ่นดิน และมีการรับรู้ต่อมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าเป็นมหาวิทยาลัย แห่งสุขภาวะ เมื่อเปรียบเทียบการรับรู้ภาพลักษณ์ที่มีต่อสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐของนักศึกษาที่มี ลักษณะสวนบุคคลต่างกัน พบว่า คณะที่กำลังศึกษา เพศ สถานภาพของบิดามารดา และอาชีพของผู้ที่ให้การอุปการะทางการเงิน เป็นปัจจัยที่มีงผลให้นักศึกษามีการรับรู้ต่อภาพลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษา ภาครัฐแตกต่างกัน ส่วนปัจจัยที่ส่งผลให้นักศึกษามีการรับรู้ต่อภาพลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษา ภาครัฐแตกต่างกน ได้แก มหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษา เกรดเฉลี่ยสะสมเมื่อจบ ม.6 หรือเทียบเท่า ภูมิลําเนา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ที่ให้การอุปการะทางการเงิน จากการวิเคราะห์ความทันสมัย พบว่า นักศึกษารับรู้เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยตรง ตามภาพลักษณ์ที่แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด นักศึกษามีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะของสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐที่ตนกำลังศึกษาอยู่ใน ระดับเห็นด้วยมาก ขึ้นไปทุกมหาวิทยาลัย โดยนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะของมหาวิทยาลัยที่ตนกาลังศึกษาอยู่ใน ระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ทั้งในด้านคุณภาพบัณฑิต และ ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน ส่วนนักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะ ของมหาวิทยาลัยที่ตนกาลังศึกษาอยูในระดับเห็นด้วยมาก ทั้งในด้านคุณภาพบัณฑิต และ ด้านหลักสูตร และการเรียนการสอน และเมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อคุณลักษณะของสถาบันอุดมศึกษา ภาครัฐ กับคะแนนการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา รอบสอง (พ.ศ. 25492553) ของสํานักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นในด้านคุณภาพ บัณฑิตเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม กับคะแนนการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ส่วนด้านหลักสูตร และการเรียนการสอน นักศึกษามีความคิดเห็นที่ค่อนข้างเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กับคะแนนการประเมิน คุณภาพภายนอกของ สมศ.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สถิติประยุกต์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012