GSAS: Theses

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 6 of 232
  • Thumbnail Image
    Item
    Motor insurance in Phnom Penh, Cambodia
    Heal Pem; Preecha Vichitthamaros (National Institute of Development Administration, 2022)
    Cambodian insurance market is still in its early development phase despite refinement is made to fit the current context and market. The aim of this study is to explore motor insurance market in Phnom Penh, Cambodia and to find out differentiation of driver characteristics, vehicle information, and driving behavior between insured and uninsured influenced acquiring motor insurance. To achieve this aim, the sample of 382 vehicle users in Phnom Penh, Cambodia were collected from January to June 2021. The findings indicated that Cambodia motor insurance market is currently small that means there is still more space of motor insurance products in Cambodian market. Motor insurance premium the insurers should offer in the market shall be less than $100 for one-year coverage. To promote motor insurance products, social media is the most preferred channel that the insured rated in the survey and followed by TV spots and paper brochures. The potential prospect customers prefer to buy motor insurance through direct marketing (walk in or contact market staff) followed by financial service provider channels and agents. Logistic regression model suggests that the factors that predict the higher probability of purchasing motor insurance are the driver’ age (30 to 40 years and 41 to 50 years comparing to other groups), income between $501 and $1,000, the pick-up truck, the motor’s age from 3 to 5 years, and the motor used for non-business purposes.
  • Thumbnail Image
    Item
    Utilizing data strategy framework for retail business in the metaverse
    Panida Tancharoen; Worapol Pongpech (National Institute of Development Administration, 2023)
    The emergence of the metaverse has brought about a significant shift in the retail industry as businesses strive to couple from the physical and digital worlds. However, this transition presents challenges in managing the massive and rapidly streaming data originating from the metaverse. In this paper, we explore the business opportunities that the metaverse offers for retail businesses and shed light on the ways to utilize data strategy in metaverse retailing. Our research analyzes the potential metaverse scenarios and the characteristics of metaverse data. We identify these scenarios into three key categories: Decoupled, Semi-coupled, and Tightly coupled. In particular, we highlight the importance of robust data strategies for organizations to effectively handle metaverse data and unlock success in this new realm. As a result, we propose a comprehensive data strategy framework that empowers retail businesses to effectively manage metaverse data, leverage valuable data insights, and make informed decisions at the rapid pace of the metaverse, enabling them to stay competitive in this evolving digital realm.
  • Thumbnail Image
    Item
    การสร้างเส้นแนวโน้มอัตโนมัติโดยใช้อัลกอริธึมพันธุกรรม
    กนกพร อุดมวงศ์ศักดิ์; โอม ศรนิล (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
    การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นสิ่งที่ท้าหายสำหรับนักลงทุน นักลงทุนพยายามหา เครื่องมือทางเทคนิคมาช่วยในการตัดสินใจในการลงทุน เส้นแนวโน้ม เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทาง เทคนิควิธีหนึ่งที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้ เส้นแนวโน้มสามารถกำหนดวิธีการลงทุนให้เหมาะ สมตาม แนวโน้มที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา และสามารถใช้งานร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่นๆ งานวิจัยนี้นำเสนอการสร้างส้นแนวโน้มระยะสั้นอัตโนมัติโดยใช้อัลกอริซึมพันธุกรรม เทคนิคที่ใช้ จะถูกประเมินประสิทธิผล โดยใช้ราคาหลักทรัพย์จริงและผลลัพธ์การซื้อ-ขายขึ้นอยู่กับการสร้าง เส้นแนวโน้มที่ได้นำเสนอ
  • Thumbnail Image
    Item
    การเลือกส่วนประกอบบนใบหน้าการ์ตูนแบบอัตโนมัติโดยใช้มุมมองมนุษย์
    จตุรงค์ มไหสวริยะ; ธนาสัย สุคนธ์พันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
    งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอวิธีการเลือกรูปร่างของส่วนประกอบต่าง ๆ บนใบหน้าการ์ตูนที่ ใกล้เคียงกับใบหน้าคนในรูปถ่ายเพียงรูปเดียวโดยไม่ต้องพึ่งการตัดสินใจของมนุษย์ วิธีการจะ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการสกัดคุณสมบัติของรูปร่างของส่วนประกอบต่าง ๆ บนใบหน้าคนในรูปถ่าย และขั้นตอนการจำแนกชนิดหรือแบบของแต่ละส่วนประกอบเพื่อน นำไปใช้ คัดเลือกรูปร่างของส่วนประกอบนั้น ๆ บนใบหน้าการ์ตูน ตัวแบบที่ใช้จำแนกถูกสร้างขึ้นจากข้อมูล เรียนรู้ที่ได้จากการตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญในการเลือกรูปร่างของส่วนประกอบต่าง ๆ บนใบหน้า การ์ตูนจากรูปถ่ายของบุคคล ผลการทดลองประสิทธิภาพของวิธีที่นำเสนอพบว่า การเลือกรูปร่างคิ้ว ใช้ Centroid Vector Length เป็นคุณสมบัติของรูปร่างและจำแนกโดยโครงข่ายใยประสาท ให้ผลลัพธ์ดีที่สุด การเลือกรูปร่างตาใช้ Cross Vector Length เป็นคุณสมบัติของรูปร่างและจำแนก โดยต้นไม้ตัดสินใจให้ผลลัพธ์ดีที่สุด การเลือกรูป ร่างโครงหน้า ใช้ Cross Vector Length เป็นคุณสมบัติของรูปร่างและจำแนกโดยต้นไม้ตัดสินใจให้ผลลัพธ์ดีที่สุด การเลือกรูปร่างปากใช้ Centroid Vector Angle เป็นคุณสมบัติของรูปร่างและจำแนกโดยต้นไม้ตัดสินใจให้ผลลัพธ์ดีที่สุด และ การเลือกรูปร่างจมูก ใช้ Centroid Vector Length เป็นคุณสมบัติของรูปร่างและจำแนกโดย ต้นไม้ตัดสินใจให้ผลลัพธ์ดีที่สุด จากผลการทดลองพบว่าวิธีการนี้จะยังไม่สามารถทำงานได้เท่าเทียมกับผู้เชี่ยวชาญ แต่สามารถสร้างหน้าตาของการ์ตูนได้ผลดีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานหลากหลายประเภทได้ เช่น การสร้างตัวละครในเกม สื่อสังคมออนไลน์ และอุตสาหกรรมบันเทิงต่าง ๆ
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพในการออมของครัวเรือนจนเปรียบเทียบกับครัวเรือนรวย
    นิตยา ปะอินทร์; ปรีชา วิจิตรธรรมรส (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและศักยภาพในการออมของครัวเรือนจน และครัวเรือนรวย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพในการออมของครัวเรือนจนเปรียบเทียบ ครัวเรือนรวย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ครัวเรือนส่วนบุคคลในประเทศไทย จากการ สำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2560 โดยครัวเรือน จน (กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ประจำเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนไม่เกินเปอร์เซ็นไทล์ที่ 20) และครัวเรือนรวย (กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ประจำเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 80 ขึ้นไป) จำนวน 17,287 ครัวเรือน ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ( Logistic Regression) ผลจากการศึกษา พบว่า ครัวเรือนรวยมีศักยภาพในการออมมากกว่าครัวเรือนจน คิดเป็น ร้อยละ 97.1 เทียบกับ 91.5 และเมื่อพิจารณามูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินที่ครัวเรือนเก็บออม พบว่า ครัวเรือนจนมีมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินที่ครัวเรือนเก็บออมทั้งสิ้น 44,261 บาทต่อครัวเรือน และ ครัวเรือนรวยมีมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินที่ครัวเรือนเก็บออมทั้งสิ้น 519,817 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งสูง กว่าครัวเรือนจน 12 เท่า โดยเมื่อพิจารณารูปแบบการออม 3 อันดับแรก ของครัวเรือนจน พบว่า มี ศักยภาพในการเก็บออมในสินทรัพย์ทางการเงินอย่างเดียวมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55.0 รองลงมาคือ มีศักยภาพในการออมในสินทรัพย์ทางการเงินและสินทรัพย์อื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 32.9 และมีศักยภาพ ในการออมในสินทรัพย์สินทรัพย์อื่น ๆ อย่างเดียว คิดเป็นร้อยละ 2.1 ในขณะที่ครัวเรือนรวยมี ศักยภาพในการเก็บออมในสินทรัพย์ทางการเงินและสินทรัพย์อื่น ๆ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 66.2 รองลงมาคือ มีการออมในสินทรัพย์ทางการเงินอย่างเดียว คิดเป็นร้อยละ 22.7 และมีศักยภาพในการ ออมทั้งในสินทรัพย์ทางการเงิน สินทรัพย์เพื่อการลงทุน และสินทรัพย์อื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 5.7นอกจากนี้ได้ท าการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพในการออมของครัวเรือนจน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 มีทั้งปัจจัยทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ สถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือน อัตราส่วนการเป็นภาระ สถานะเศรษฐสังคมของครัวเรือน และ ภาค ส่วนปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้ทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน และค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ย ต่อเดือนต่อครัวเรือน ในขณะที่ครัวเรือนรวยมีเฉพาะปัจจัยทางด้านสังคมเท่านั้นที่มีอิทธิพลต่อ ศักยภาพในการออมของครัวเรือนรวย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ เพศของหัวหน้า ครัวเรือน อายุของหัวหน้าครัวเรือน สถานะเศรษฐสังคมของครัวเรือน และภาค
  • Thumbnail Image
    Item
    การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์การศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาโท ด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูล กรณีศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
    โกวิทย์ ประดิษฐ์ผล; ปรีชา วิจิตรธรรมรส (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
    การวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสําเร็จการศึกษาตามเกณฑ์การศึกษาของ นักศึกษาระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลนักศึกษา ของกองบริ การการศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริ หารศาสตร์ ในช่วงปี การศึกษา 2553 ถึง ปี การศึกษา 2555 มีจํานวนนักศึกษารวมทั้งสิ้น 8,368คน ในจํานวนนี้ไม่ได้นับรวมนักศึกษาที่พ้นสภาพการเป็นนักศึกษาหรือลาออกจากการเป็นนักศึกษา นักศึกษาต่างชาติ และนักศึกษาที่ศึกษา มากกวา 1 สาขาวิชาเอก มีการนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทําเหมืองข้อมูล (Data Mining) เพื่อให้ได้ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสําเร็จการศึกษาตามเกณฑ์การศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาโท ของสถาบัน ผลการศึกษาพบว่า ประเภทงานวิจัย เกรดเฉลี่ย และหน่วยกิตที่ลงทะเบียนในแต่ภาค การศึกษามีความสําคัญอันดับต้นๆ ที่ส่งผลทําให้นักศึกษาสําเร็จการศึกษาตามเกณฑ์การศึกษา โดย พบว่าเพศหญิงมีอัตราการสําเร็จการศึกษาตามเกณฑ์สูงกว่าเพศชาย มีเพียง กลุ่มเดียวที่เพศชายสําเร็จ การศึกษาตามเกณฑ์สูงกว่าเพศหญิง ในส่วนปัจจัยที่เกี่ยวกับการทํางานทุกตัวมีอิทธิพลต่อการสําเร็จ การศึกษาของนักศึกษาภาคปกติ และพบว่านักศึกษาที่ทํางานอยู่ มีอัตราการสําเร็จการศึกษาตาม เกณฑ์ที่สูงกว่านักศึกษาที่ไม่ได้ทํางานและนักศึกษาที่ทํางานส่วนตัว