แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่าอากาศยานเมืองรองในภูมิภาคอย่างยั่งยืน สำหรับพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย
Publisher
Issued Date
2019
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
350 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b208164
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
บุณวัทน์ ศรีขวัญ (2019). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่าอากาศยานเมืองรองในภูมิภาคอย่างยั่งยืน สำหรับพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5055.
Title
แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่าอากาศยานเมืองรองในภูมิภาคอย่างยั่งยืน สำหรับพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย
Alternative Title(s)
Management potential development guidelines of the regional secondary airport to sustainability in the Southern part of Thailand
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการของท่าอากาศยานเมืองรองในภูมิภาคอย่างยั่งยืน สำหรับพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการจัดการของท่าอากาศยานเมืองรองของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาท่าอากาศยานเมืองรองอย่างยั่งยืนของประเทศไทย (2.1) เพื่อศึกษาศักยภาพการจัดการในการพัฒนาท่าอากาศยานเมืองรองที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการของท่าอากาศยานเมืองรองของประเทศไทย และ (2.2) เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการของท่าอากาศยานเมืองรองที่มีผลต่อการพัฒนาท่าอากาศยานเมืองรองอย่างยั่งยืนของประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ควบคู่กัน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพมีประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ชำนาญการพิเศษในท่าอากาศยานเมืองรองในภูมิภาคภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ ท่าอากาศยานตรัง ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช และท่าอากาศยานระนอง จำนวน 6 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณมีประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้โดยสารและเจ้าหน้าที่สายการบินที่ใช้บริการท่าอากาศยานเมืองรอง ได้แก่ ท่าอากาศยานตรัง ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช และท่าอากาศยานระนอง จำนวน 402 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษาศักยภาพการจัดการของท่าอากาศยานเมืองรองของประเทศไทย พบว่า ศักยภาพของท่าอากาศยานเมืองรอง จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเพื่อให้ท่าอากาศยานมีทิศทางพัฒนาศักยภาพที่ชัดเจน ท่าอากาศยานเมืองรองจำเป็นที่จะต้องออกแบบแผนพัฒนาและนโยบายของท่าอากาศยานให้มีประสิทธิภาพและชัดเจน รวมไปถึงต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก พัฒนารูปแบบมาตรการรักษาและเฝ้าระวังความปลอดภัยที่รัดกุม พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพของพนักงานและบุคคลากรของท่าอากาศยานให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่อยู่เสมอ และท่าอากาศยานต้องมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือด้านการบินทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอยู่เสมอ นอกจากนี้ ยังต้องพัฒนาระบบขนส่งและการเข้าถึงท่าอากาศยานให้มีความสะดวก พร้อมทั้งพัฒนารูปแบบการดำเนินงานในท่าอากาศยานให้สะดวกรวดเร็ว และบริหารจัดการด้านการเงินของท่าอากาศยานให้มีประสิทธิภาพให้สามารถยกระดับศักยภาพได้อย่างคลอบคลุมและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
สำหรับการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาท่าอากาศยานเมืองรองอย่างยั่งยืนของประเทศไทย พบว่า ศักยภาพการจัดการในการพัฒนาท่าอากาศยานเมืองรองที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการของท่าอากาศยานเมืองรองของประเทศไทย ต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและกฎระเบียบ ในการควบคุมและระงับเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในท่าอากาศยาน พัฒนาบุคลากรและพนักงานให้สามารถมีความพร้อมในการบริการเสมอ ยกระดับระบบขนส่งสาธารณะให้ผู้ใช้บริการมีทางเลือกในการเดินทาง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอและตรงต่อความต้องการ มุ่งเน้นการลดระยะเวลาในการเข้าถึงท่าอากาศยาน และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้มีความรวดเร็วและเป็นระบบมากขึ้น และในส่วนของการศึกษาคุณภาพการบริการของท่าอากาศยานเมืองรองที่มีผลต่อการพัฒนาท่าอากาศยานเมืองรองอย่างยั่งยืนของประเทศไทย ท่าอากาศยานต้องยกระดับการดำเนินงานโดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ พัฒนาการบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ และมุ่งเน้นการส่งมอบบริการที่ดีและรวดเร็ว ที่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้ใช้บริการสูงสุด
จากผลการศึกษาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงนำเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการของท่าอากาศยานเมืองรองในภูมิภาคอย่างยั่งยืน สำหรับพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย โดยกำหนดนเป็น 16 แนวทางสำคัญ คือ แนวทางที่ 1 ออกแบบแผนการพัฒนาและนโยบายของท่าอากาศยานให้มีประสิทธิภาพใช้งานได้และเห็นผลได้จริงอย่างเป็นรูปธรรมบนพื้นฐานบริบทของพื้นที่อย่างยั่งยืน แนวทางที่ 2 ยกระดับคุณภาพการควบคุมความปลอดภัย ป้องกัน และระงับเหตุที่ไม่คาดคิดของท่าอากาศยานอย่างยั่งยืน แนวทางที่ 3 ออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรม การทดสอบ และการประเมินผู้ให้บริการให้มีความพร้อมในการบริการบนพื้นฐานของพฤติกรรมการเดินทางของคนพื้นที่ แนวทางที่ 4 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอ สมดุลเท่าเทียมและทั่วถึง แนวทางที่ 5 ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการบริการในการเข้าถึงท่าอากาศยานเมืองรองให้สะดวกรวดเร็วและหลากหลายมากขึ้น แนวทางที่ 6 ออกแบบการดำเนินงานและการบริหารงานในท่าอากาศยานให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน แนวทางที่ 7 พัฒนาคุณภาพการบริการที่สนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างยั่งยืน แนวทางที่ 8 พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ และผู้ใช้บริการมีทางเลือกในการรับบริการอย่างยั่งยืน แนวทางที่ 9 บริหารจัดการด้านการเงินให้มีสภาพคล่อง สมดุล และมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน แนวทางที่ 10 ส่งเสริมการสร้างความร่วมกับภาคีและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับท่าอากาศยานทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างยั่งยืน แนวทางที่ 11 พัฒนรูปแบบการส่งมอบบริการในท่าอากาศยานที่มีคุณภาพและรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางที่ 12 ยกระดับการบริการและการบริหารจัดการการบริการที่ตรงต่อความคาดหวังของผู้ใช้บริการในท่าอากาศยานอย่างยั่งยืน แนวทางที่ 13 พัฒนาการบริการที่สามารถสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ผู้ใช้บริการอย่างยั่งยืน แนวทางที่ 14 มุ่งเน้นการส่งเสริมการก่อสร้างและออกแบบท่าอากาศยานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แนวทางที่ 15 พัฒนารูปแบบและมาตรการการลดผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมของท่าอากาศยานอย่างยั่งยืน และแนวทางที่ 16 ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับท่าอากาศยานให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และรักษาความเสื่อมโทรมของธรรมชาติโดยรอบท่าอากาศยานอย่างยั่งยืน
The study of management potential in secondary airport in Thailand has found that the potential of secondary airport must be significantly encouraged and developed. They need to establish plans and policies for development including infrastructure, facilities and security of the airport. In addition, the potential of staffs in the airport must also be improved to be ready to work and airports always have to cooperate with others both domestic and international airports. Furthermore, they need to develop the transportation and accessibility to be convenient and the system of management in the airport is being able to be as fast as possible. To raise potential of airport thoroughly and permanently, financial management needs to be improved as well. For the study of factors affecting to permanent development of secondary airport in Thailand, it was found that potential of developmental management in secondary airport affected service quality in secondary airport. It is important to focus on security and rules for controlling and terminating an incident that may occur within the airport. The improvement of employees to be able to serve service and the development of transportation as an alternative way for passengers to transport are also needed. Besides, infrastructures and facilities will have to be improved to meet passenger’s need. it should aim at reducing passenger’s time to enter airport and raising potential management to be fast and systematic. In the part of the study of service quality affecting effectively to development of secondary airport, the airport must be developed by using and applying technology to improve service and give passengers the best service and to extremely meet passenger’s need. According to the study above, researcher offers the ways to permanently develop management potential of secondary airport in the southern region of Thailand. It is divided into 16 important ways: 1) creating efficient and workable plans and policies that is in the concrete form in the area of the airport. 2) raising quality, controlling security, protecting and terminating an incident permanently. 3) creating training curriculum, examination, and evaluation to the staffs whether their behavior is appropriate to give passengers service or not. 4) developing infrastructure and facilities efficiently and conveniently. 5) encouraging and developing service for being accessible to enter secondary airport fast, conveniently, and variously. 7) developing service that extremely meet passenger’s demand permanently. 8) developing transportation permanently and variously as an alternative way for passengers. 9) manage financial plan efficiently and effectively. 10) encouraging for cooperating permanently with alliance and stakeholder including domestic and international airports. 11) improving distribution in the area of the airport fast and effectively. 12) raising service and management that is punctual and can meet passenger’s need permanently. 13) raising satisfaction of passengers permanently. 14) encouraging to build the building and creating airport that is suitable to environment. 15) developing preventing measure that may occur by airport permanently. 16) encouraging entrepreneurs and stakeholder involving with airport to preserve environment and reduce deterioration of environment affected by airport permanently.
The study of management potential in secondary airport in Thailand has found that the potential of secondary airport must be significantly encouraged and developed. They need to establish plans and policies for development including infrastructure, facilities and security of the airport. In addition, the potential of staffs in the airport must also be improved to be ready to work and airports always have to cooperate with others both domestic and international airports. Furthermore, they need to develop the transportation and accessibility to be convenient and the system of management in the airport is being able to be as fast as possible. To raise potential of airport thoroughly and permanently, financial management needs to be improved as well. For the study of factors affecting to permanent development of secondary airport in Thailand, it was found that potential of developmental management in secondary airport affected service quality in secondary airport. It is important to focus on security and rules for controlling and terminating an incident that may occur within the airport. The improvement of employees to be able to serve service and the development of transportation as an alternative way for passengers to transport are also needed. Besides, infrastructures and facilities will have to be improved to meet passenger’s need. it should aim at reducing passenger’s time to enter airport and raising potential management to be fast and systematic. In the part of the study of service quality affecting effectively to development of secondary airport, the airport must be developed by using and applying technology to improve service and give passengers the best service and to extremely meet passenger’s need. According to the study above, researcher offers the ways to permanently develop management potential of secondary airport in the southern region of Thailand. It is divided into 16 important ways: 1) creating efficient and workable plans and policies that is in the concrete form in the area of the airport. 2) raising quality, controlling security, protecting and terminating an incident permanently. 3) creating training curriculum, examination, and evaluation to the staffs whether their behavior is appropriate to give passengers service or not. 4) developing infrastructure and facilities efficiently and conveniently. 5) encouraging and developing service for being accessible to enter secondary airport fast, conveniently, and variously. 7) developing service that extremely meet passenger’s demand permanently. 8) developing transportation permanently and variously as an alternative way for passengers. 9) manage financial plan efficiently and effectively. 10) encouraging for cooperating permanently with alliance and stakeholder including domestic and international airports. 11) improving distribution in the area of the airport fast and effectively. 12) raising service and management that is punctual and can meet passenger’s need permanently. 13) raising satisfaction of passengers permanently. 14) encouraging to build the building and creating airport that is suitable to environment. 15) developing preventing measure that may occur by airport permanently. 16) encouraging entrepreneurs and stakeholder involving with airport to preserve environment and reduce deterioration of environment affected by airport permanently.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562