บุคลิกภาพเชาวน์จิตอัจฉริยะที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดูแลลูกค้าธนาคารพาณิชย์
by อภิรดี ระวิโรจน์
ชื่อเรื่อง: | บุคลิกภาพเชาวน์จิตอัจฉริยะที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดูแลลูกค้าธนาคารพาณิชย์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effect of spiritual intelligence on work happiness : the evidence from the branch customer care officers of the commercial bank |
ผู้แต่ง: | อภิรดี ระวิโรจน์ |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | ชัยยุทธ ชิโนกุล |
ชื่อปริญญา: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาบุคลิกภาพเชาวน์จิตอัจฉริยะ ของพนักงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดูแลลูกค้าธนาคารพาณิชย์ 2) เพื่อศึกษาความสุขในการทำงานของพนักงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดูแลลูกค้าธนาคารพาณิชย์ 3) เพื่อศึกษาบุคลิกภาพเชาวน์จิตอัจฉริยะที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดูแลลูกค้าธนาคารพาณิชย์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดูแลลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ที่อยู่อันดับสูงสุดในอุตสาหกรรมธนาคารของโลกด้านนายจ้างดีเด่น จัดอันดับโดยนิตยสาร Forbes ซึ่งประจำอยู่สาขาต่างๆ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า 1) พนักงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดูแลลูกค้าธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีบุคลิกภาพเชาวน์จิตอัจฉริยะอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเป็นบุคลิกภาพแบบยึดระเบียบแบบแผนสูงที่สุด และน้อยที่สุดคือบุคลิกภาพแบบชอบงานศิลป์ 2) พนักงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดูแลลูกค้าธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีระดับความสุขในการทำงานอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนใหญ่มีความสุขในการทำงานด้านรักในงาน และน้อยที่สุดคือความสุขในการทำงานในด้านการเป็นที่ยอมรับ 3) บุคลิกภาพเชาวน์จิตอัจฉริยะแบบชอบสังคม แบบยึดความจริง และแบบยึดระเบียบแบบแผน มีอำนาจในการทำนายความสุขในการทำงานได้ร้อยละ 46.90 |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | บุคลิกภาพ -- พนักงาน
พนักงานธนาคาร ความสุขในการทำงาน |
คำสำคัญ: | e-Thesis
บุคลิกภาพเชาวน์จิตอัจฉริยะ |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 115 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5117 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|