การประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย
by กฤตพล สุธีภัทรกุล
Title: | การประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย |
Other title(s): | Construction of gay characters in Thai boy love series |
Author(s): | กฤตพล สุธีภัทรกุล |
Advisor: | พรพรรณ ประจักษ์เนตร |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
Degree department: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2020 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง “การประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย 2) ศึกษาคุณลักษณะของตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย 3) ศึกษาทัศนคติของผู้ชมที่เป็นกลุ่มชายรักชายที่มีต่อตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย โดยผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ตัวบทผ่านตัวละครชายรักชายจำนวน 20 ตัวละคร จากซีรีส์วาย 10 เรื่องที่ออกอากาศระหว่างปี 2558 – 2562 และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ชมทางสังคมที่เป็นกลุ่มชายรักชายจำนวน 15 คน
ผลการศึกษา พบว่า ตัวละครชายรักชายในซีรีส์วายมีลักษณะที่แตกต่างจากกลุ่มชายรักชายในละครหลังข่าวและภาพยนตร์ในยุคก่อนที่มีความเป็นหญิงสูง ไม่สมหวังในความรัก แสดงออกเกินจริง และบ้าผู้ชาย แต่ตัวละครในซีรีส์วายถูกประกอบสร้างขึ้นมาใหม่ที่ถูกจำกัดอยู่ในช่วงวัยเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนถึงวัยเริ่มทำงาน มีฐานะปานกลางจนถึงดี หน้าตาและรูปร่างดี อาศัยอยู่ในเมือง โดยมีคุณลักษณะร่วมกัน 4 ประการ คือ 1) การให้คุณค่าความเป็นชาย ด้วยการให้ตัวละครมีความเป็นชายสูงทั้งรูปร่างหน้าตา ลักษณะนิสัย 2) การนำความสัมพันธ์ชายหญิงมาครอบทับไว้ ด้วยการกำหนดบทบาททางเพศ ส่งผลให้ตัวละครถูกแบ่งออกเป็นพระเอกที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ และ นายเอก เป็นผู้ถูกกระทำ ซึ่งทำหน้าที่เป็น ”นางเอก” แต่เป็นผู้ชายที่มีความเป็นหญิงสูงกว่าพระเอก เช่น รูปร่างหน้าตาที่ตัวเล็กกว่า ผิวขาวกว่า หรือนิสัยที่มีความเป็นหญิงสูงกว่าพระเอก 3) การสร้างโลกในอุดมคติของการยอมรับกลุ่มชายรักชาย ทำให้ทุกคนสามารถยอมรับการเป็นชายรักชายได้แทบจะในทันที ซึ่งผิดธรรมชาติในโลกแห่งความจริง 4) รักเดียวใจเดียว ทำให้ตัวละครชายรักชายได้ครองคู่และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางเชิงนโยบายเกี่ยวกับการนำเสนอภาพชายรักชายในสื่อแขนงต่าง ๆ รวมไปถึงการพัฒนาการผลิตซีรีส์วายให้มีความแปลกใหม่และสร้างความเข้าใจในกลุ่มชายรักชายให้มากยิ่งขึ้น ด้วยการนำเสนอตัวละครที่มีความหลากหลายมากขึ้น และให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศ ตลอดจนไม่กำหนดบทบาททางเพศของตัวละคร |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563 |
Subject(s): | ตัวละครและลักษณะนิสัย |
Keyword(s): | e-Thesis
ซีรีส์วาย ชายรักชาย การประกอบสร้างตัวละคร ตัวละครชายรักชาย การประกอบสร้างความจริงทางสังคม |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 526 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5148 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|