• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

การประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย

by กฤตพล สุธีภัทรกุล

ชื่อเรื่อง:

การประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Construction of gay characters in Thai boy love series

ผู้แต่ง:

กฤตพล สุธีภัทรกุล

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

พรพรรณ ประจักษ์เนตร

ชื่อปริญญา:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม

คณะ/หน่วยงาน:

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2563

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

  การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง “การประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย 2) ศึกษาคุณลักษณะของตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย 3) ศึกษาทัศนคติของผู้ชมที่เป็นกลุ่มชายรักชายที่มีต่อตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย โดยผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ตัวบทผ่านตัวละครชายรักชายจำนวน 20 ตัวละคร จากซีรีส์วาย 10 เรื่องที่ออกอากาศระหว่างปี 2558 – 2562 และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ชมทางสังคมที่เป็นกลุ่มชายรักชายจำนวน 15 คน ผลการศึกษา พบว่า ตัวละครชายรักชายในซีรีส์วายมีลักษณะที่แตกต่างจากกลุ่มชายรักชายในละครหลังข่าวและภาพยนตร์ในยุคก่อนที่มีความเป็นหญิงสูง ไม่สมหวังในความรัก แสดงออกเกินจริง และบ้าผู้ชาย แต่ตัวละครในซีรีส์วายถูกประกอบสร้างขึ้นมาใหม่ที่ถูกจำกัดอยู่ในช่วงวัยเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนถึงวัยเริ่มทำงาน มีฐานะปานกลางจนถึงดี หน้าตาและรูปร่างดี อาศัยอยู่ในเมือง โดยมีคุณลักษณะร่วมกัน 4 ประการ คือ 1) การให้คุณค่าความเป็นชาย ด้วยการให้ตัวละครมีความเป็นชายสูงทั้งรูปร่างหน้าตา ลักษณะนิสัย 2) การนำความสัมพันธ์ชายหญิงมาครอบทับไว้ ด้วยการกำหนดบทบาททางเพศ ส่งผลให้ตัวละครถูกแบ่งออกเป็นพระเอกที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ และ นายเอก เป็นผู้ถูกกระทำ ซึ่งทำหน้าที่เป็น ”นางเอก” แต่เป็นผู้ชายที่มีความเป็นหญิงสูงกว่าพระเอก เช่น รูปร่างหน้าตาที่ตัวเล็กกว่า ผิวขาวกว่า หรือนิสัยที่มีความเป็นหญิงสูงกว่าพระเอก  3) การสร้างโลกในอุดมคติของการยอมรับกลุ่มชายรักชาย ทำให้ทุกคนสามารถยอมรับการเป็นชายรักชายได้แทบจะในทันที ซึ่งผิดธรรมชาติในโลกแห่งความจริง 4) รักเดียวใจเดียว ทำให้ตัวละครชายรักชายได้ครองคู่และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางเชิงนโยบายเกี่ยวกับการนำเสนอภาพชายรักชายในสื่อแขนงต่าง ๆ รวมไปถึงการพัฒนาการผลิตซีรีส์วายให้มีความแปลกใหม่และสร้างความเข้าใจในกลุ่มชายรักชายให้มากยิ่งขึ้น ด้วยการนำเสนอตัวละครที่มีความหลากหลายมากขึ้น และให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศ ตลอดจนไม่กำหนดบทบาททางเพศของตัวละคร
The objectives of this qualitative research “Construction of Gay Characters in Thai Boy Love Series” were; to study the construction of male-homosexual characters in boys love drama, toexamine the characteristics of male-homosexual characters;, and to explore the attitude of homosexual viewers toward male-homosexual characters in boys love drama. The researcher has analyzed 20 male-homosexual characters from 10 boys love dramas, which were broadcasted during 2015-2019, and conducted in-depth interviews with 15 key informants who consider themselve to be men who have sex with men. The results showed that male-homosexual characters in boys love drama displayed different traits from those in soap operas or movies,which were often associated with feminine nature, unrequited love,overaction, and passionate interest in men. Characters in boys love drama, in contrast, were constructed with certain of age—from high school students to early workers, certain of status—from middle to upper class, good-looking, great body, and residing in urban area. Shared characteristics were described as follows: 1) holding traditionalmasculine values – characters were portrayed with hyper-masculinity inboth physical appearance and manner 2) transposing gender roles of male and female onto two males – characters were divided into two leading positions: hero, the one who takes the initiative, and heroine, the one who passively undergoes his partner’s actions and is illustrated asmore feminine in terms of smaller body, fairer skin, and personalitytraits than the hero 3) creating an ideal world where love between homosexuals are accepted widely and almost immediately 4) devoting to a single man – after male-homosexual characters become partners, theylive happily ever after. These research findings could be used as a guideline for the portrayal policy of male-homosexual characters in various types of media, as well as, for improving the production of boys love drama.Presenting a variety of homosexual characters, focusing mainly oncreating gender identity, and not conforming to gender roles would be key to help create a better understanding of male homosexuals in the society.

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563

หัวเรื่องมาตรฐาน:

ตัวละครและลักษณะนิสัย

คำสำคัญ:

e-Thesis
ซีรีส์วาย
ชายรักชาย
การประกอบสร้างตัวละคร
ตัวละครชายรักชาย
การประกอบสร้างความจริงทางสังคม

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

526 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5148
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b210815.pdf ( 1.12 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSCM: Theses [179]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×