• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในโรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย

by ชุลีวรรณ ปราณีธรรม

Title:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในโรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย

Other title(s):

Factors relating environmental conservation behavior in household and hotels of Thai tourists

Author(s):

ชุลีวรรณ ปราณีธรรม

Advisor:

ไพฑูรย์ มนต์พานทอง

Degree name:

การจัดการมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ

Degree department:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2019

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติและพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในโรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยและเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในโรงแรม รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อเสนอแนะแนวทางในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในโรงแรม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวและใช้บริการที่พักแรมในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 381,818 คน กลุ่มตัวอย่างในเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 400 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติพรรณนาที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติอนุมานที่นำมาทดสอบสมมติฐานคือ สถิติค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยมีเจตคติในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับสูงมาก พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในโรงแรมอยู่ในระดับมาก มีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในครัวเรือนดีกว่าพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงแรม ปัจจัยด้านเพศ อายุ และอาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในโรงแรม ในขณะที่ปัจจัยด้านประเภทโรงแรมที่เข้าพักไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงแรม สำหรับปัจจัยด้านระดับการศึกษาที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในครัวเรือน แต่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงแรมที่แตกต่างกัน เจตคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในโรงแรม ปัญหาและอุปสรรคในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฟุ่มเฟือย ขาดความตระหนักและความรู้เรื่องการจัดการขยะที่ถูกต้อง ดังนั้น หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต้องเร่งส่งเสริมให้ความรู้ สร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อทุกคนจะได้ช่วยในการป้องกันและมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
The objectives of this research were (1) to investigate the attitudes and behavior of Thai tourists on environmental conservation in the households and hotels, and (2) to study the factors relating to the environmental conservation behavior in the household and hotels of Thai tourists, including problems and obstacles in environmental conservation to propose guidelines for the environmental conservation in the household and hotel. The research population was 381,818 Thai tourists who travelled and stayed in Koh Samui, Surat Thani province. The samples were 400 Thai tourists for quantitative data collection, and 30 Thai tourists for qualitative data collection selected by purposive selection technique. A questionnaire and semi-structured interviews were deployed to be the research instrument. Descriptive statistics were the frequency, mean, percentage, and standard deviation; while inferential statistics were the t-test, One-way ANOVA, and Pearson’s product moment correlation coefficient. The findings revealed that attitude towards environmental conservation of Thai tourists was at a very high level. The environmental conservation behavior in the household and hotels was at good level. The Thai tourists had better environmental conservation behavior in household than in hotels. Gender, age, and career factors were not related significantly to the environmental conservation behavior in household and hotels; while the hotel type factors were not related to the environmental conservation behavior in hotels. In addition, the educational factor has no effect on the environmental conservation behavior in household, conversely, it affected the environmental conservation behavior in hotels. Moreover, there was the relationship between attitude and the environmental conservation behavior in household and hotels. Problems and obstacles in environmental conservation were the use of natural resources and environment extravagantly, lack of awareness and knowledge about proper waste management. Therefore, related agencies must accelerate the promotion of knowledge, continuously raise awareness about environmental problems and waste management, so that everyone can help to protect and participate in environmental sustainability.

Description:

วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562

Subject(s):

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม -- ไทย -- การมีส่วนร่วมของประชากร
โรงแรม
การท่องเที่ยว -- แง่สิ่งแวดล้อม

Keyword(s):

e-Thesis

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

145 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5251
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b211011.pdf ( 4,634.21 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [120]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×