• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

Factors Affecting Happiness: Comparison between Residents of a Community and Thai Rotary Club Members in Bangkok.

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสุข: การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้อาศัยในชุมชนแออัดแห่งหนึ่ง และกลุ่มสมาชิกสโมสรโรตารีในกรุงเทพมหานคร

by Chalida Teeranupattana; ชลิดา ธีรานุพัฒนา; Kalayanee Senasu; กัลยาณี เสนาสุ

Title:

Factors Affecting Happiness: Comparison between Residents of a Community and Thai Rotary Club Members in Bangkok.
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสุข: การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้อาศัยในชุมชนแออัดแห่งหนึ่ง และกลุ่มสมาชิกสโมสรโรตารีในกรุงเทพมหานคร

Advisor:

Kalayanee Senasu
กัลยาณี เสนาสุ

Issued date:

13/8/2021

Publisher:

National Institute of Development Administration

Abstract:

The purposes of this research were to study 1) factors affecting happiness 2) role of membership as a moderator of the relationship between different factors and happiness 3) association between socio-demographic factors and happiness. Data were collected via Senasu’s survey (2017). The samples of this research were 200 residents of a community in Bangkok and 200 Thai rotary members club in Bangkok. The collected data were analyzed with descriptive and inferential statistics, including hierarchical regression and analysis of variance. The results indicate that factors positively affecting happiness are quality of household economy (β = 0.255) and quality of health (β = 0.203) with p-value = 0.01. The variance of happiness can be explained by all factors at 16.8% (adjusted R2 = .168). Additionally, role of membership is significant as a moderator in relation to higher influence of quality of family on happiness for the Thai rotary members club (p-value = 0.05). Further, our results indicate that differences of age, education, occupation and household income are differently related to happiness (p-value = 0.01). Recommendations from this research are to improve sustainable happiness, policy makers should support quality of household economy and quality of health.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระดับความสุข 2) บทบาทของกลุ่มสมาชิกที่แตกต่างกันในฐานะตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระดับความสุข และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันกับระดับความสุข โดยใช้แบบสำรวจของ กัลยาณี เสนาสุ (2560) ในการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้อาศัยในชุมชนแออัดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 ชุด และสมาชิกสโมสรโรตารีแห่งประเทศไทย พื้นที่การดูแลกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 ชุด จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติอนุมาน รวมถึงวิเคราะห์การถดถอยแบบลำดับชั้น และวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระดับความสุขมากที่สุด คือ ปัจจัยคุณภาพด้านเศรษฐกิจในครัวเรือนส่งผลกระทบทางบวกต่อระดับความสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (β = 0.255) รองลงมาคือ ปัจจัยคุณภาพด้านสุขภาพส่งผลกระทบทางบวกกับระดับความสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.01 (β = 0.203) โดยทุกปัจจัยสามารถอธิบายความแปรปรวนต่อระดับความสุขได้ร้อยละ 16.8 (adjusted R2 = .168)  นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรกำกับด้านสมาชิกกลุ่มส่งผลให้อิทธิพลของปัจจัยคุณภาพด้านครอบครัวส่งผลกระทบต่อระดับความสุขในทางบวกสูงกว่าสำหรับกลุ่มสมาชิกสโมสรโรตารีที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์กับระดับความสุขพบว่า ปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ของครัวเรือนต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับระดับความสุขต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ดังนั้นสิ่งผู้ที่สนใจจะยกระดับ หรือพัฒนาความสุขของคนไทยควรให้ความสำคัญ คือ การพัฒนาปัจจัยคุณภาพด้านเศรษฐกิจในครัวเรือน และปัจจัยคุณภาพด้านสุขภาพ โดยส่งเสริมให้มีการสร้างรากฐานที่ดี และมั่นคงให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนสามารถพัฒนาต่อยอดเองได้ในอนาคต และสามารถยกระดับความสุขให้เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน

Keyword(s):

ความสุข
สโมสรโรตารี
ชุมชนแออัด

Type:

Text

Language:

tha

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5648
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • 5810611008.pdf ( 3,493.85 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • Dissertations, Theses, Term Papers [192]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×