แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์การท่องเที่ยว เส้นทางตาก–แม่สอด เพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด
by ณัฐชัย บูรณะวิมลวรรณ
Title: | แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์การท่องเที่ยว เส้นทางตาก–แม่สอด เพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด |
Other title(s): | The methods to develop capabilities of tourisms logistics on Tak-Mae Sot route to support Mae Sot Special Economic Zone |
Author(s): | ณัฐชัย บูรณะวิมลวรรณ |
Advisor: | เกศรา สุกเพชร |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ |
Degree department: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2016 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในเส้นทาง ตาก-แม่สอด เพื่อรองรับการดำเนินการเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด 2) เพื่อศึกษาขีดความสามารถด้าน โลจิสติกส์การท่องเที่ยวในเส้นทาง ตาก-แม่สอด เพื่อรองรับการดำเนินการเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในเส้นทางตาก-แม่สอด เพื่อรองรับการดำเนินการเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ใช้การดำเนินการวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลในแบบสำรวจและแบบสอบถาม โดนแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมมั่น (Reliability) = 0.8 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แหล่งท่องเที่ยวในเส้นทางตาก-แม่สอด และ นักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวในเส้นทางตาก-แม่สอด จำนวน 400 คน วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าความถี่ และสถิติเชิงอนุมาน t-test และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test หรือ One-way Analysis of Variance) และหากพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จะทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยจะใช้วิธี LSD ในการหาค่าความแตกต่างของแต่ละคู่ระดับความพึงพอใจของแต่ละด้าน ใช้การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) ในการวิเคราะห์หาค่าและทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปร จากนั้นถึงนำเสนอในเชิงพรรณนา เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในเส้นทางตาก-แม่สอด เพื่อรองรับการดำเนินการเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่า 1) เส้นทางตาก-แม่สอด ตั้งแต่สามแยกแม่สอดถึงสะพานมิตรภาพไทย-พม่า มีระยะทางทั้งสิ้น 89.2 กิโลเมตร มีแหล่งท่องเที่ยวจ านวน 9 สถานที่ คือ อุทยานแห่งชาติลานสาง อุทยานแหงชาติตากสินมหาราช ตลาดสินค้าพื้นเมืองชาวดอยมูเซอ ศาลเจ้าพ่อพะวอ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 |
Subject(s): | การท่องเที่ยว
เขตเศรษฐกิจ -- ไทย -- ตาก การท่องเที่ยว -- แง่เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว -- ไทย -- ตาก -- แม่สอด |
Keyword(s): | การพัฒนาการท่องเที่ยว
เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 154 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5760 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|