การทดแทนความเสียหายแก่ผู้ถูกกล่าวหาในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
Publisher
Issued Date
2017
Issued Date (B.E.)
2560
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
127 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b198270
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
วิวัฒนา วัฒนภิรมย์ (2017). การทดแทนความเสียหายแก่ผู้ถูกกล่าวหาในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6125.
Title
การทดแทนความเสียหายแก่ผู้ถูกกล่าวหาในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
Alternative Title(s)
Compensation to persons alleged to have committed an offence of malfeasance in Office under the Organic Act on Counter Corruption B.E. 2542
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทดแทนความเสียหายแก่ผู้ถูกกล่าวหา กรณีที่ ผู้ถูกกล่าวหาได้รับความเสียหายจากการพักราชการหรือพักงาน และการดำเนินคดีอาญาของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องผู้ถูกกล่าว หาตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จากการศึกษาพบว่า ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ามีความผิดทางอาญาหรือที่เรียก กันว่า “ชี้มูลทางอาญา” ให้ประธานกรรมการส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุด หรือฟ้องคดีต่อศาลกรณีผู้ถูกกล่าวหาเป็นอัยการสูงสุด เพื่อด าเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดี ในการไต่สวนข้อเท็จจริง หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นว่าการให้ผู้ถูกกล่าวหา ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปอาจจะก่อความเสียหายแก่ทางราชการหรือเป็นอุปสรรคในการไต่สวน ข้อเท็จจริง ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาสั่งพักราชการหรือพักงาน เพื่อรอฟังผล การพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และหากผู้บังคับบัญชาสั่งพักราชการหรือพักงาน แล้วต่อมา ผลการไต่สวนข้อเท็จจริงปรากฏว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. แจ้งให้ผู้บังคับบัญชา ของเจ้าหน้าที่ของรัฐทราบ เพื่อดำเนินการสั่งให้กลับเข้ารับราชการหรือทำงานในตำแหน่งเดิมถึงแม้ การกฎหมายจะกำหนดให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้ารับราชการหรือทำงานในตำแหน่งเดิมแต่ผลของการสั่งพัก ราชการหรือพักงาน ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกสั่งพักราชการหรือพักงานนั้นได้รับความเสียหายจากสิทธิ ตามกฎหมายที่ข้าราชการผู้นั้นควรจะได้รับ อีกทั้ง ในกรณีที่เรื่องกล่าวหาร้องเรียนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิดทาง อาญาแก่ผู้ถูกกล่าวหาแล้ว และได้ส่งส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุดหรือฟ้องคดี ต่อศาลกรณีผู้ถูกกล่าวหาเป็นอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีและในกรณีที่มีมูลความผิดทางวินัย ให้ประธานกรรมการส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่ พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาผู้นั้นเพื่อพิจารณา ลงโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนทางวินัยอีก โดยการลงโทษทางวินัยอาศัยมูลเหตุจากการชี้มูลความผิดทางอาญาของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่ภายหลังจากที่ศาลได้พิจารณาพิพากษาแล้ว ปรากฏกว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่มความผิด ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาได้รับความเสียหายจากการดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เช่น เงินเดือน การเลื่อนขั้นเงินเดือน รวมถึงในการได้รับบำเหน็จความชอบโดยการเลื่อนขั้นเงินเดือน ข้าราชการพลเรือนสามัญหรือเลื่อนตำแหน่งตามกฎหมาย จึงเป็นการกระทบสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา ดังนั้นผู้เขียนจึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในกฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อทดแทนความเสียหายแก่ผู้ถูกกล่าวหา จากการดำเนินการทางวินัยและทางอาญา ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560