• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

การข่มขืนกระทำชำเราระหว่างคู่ชีวิตเพศเดียวกันศึกษากรณีมาตรา 276 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

by สิรภัทร ปิยะเวช

ชื่อเรื่อง:

การข่มขืนกระทำชำเราระหว่างคู่ชีวิตเพศเดียวกันศึกษากรณีมาตรา 276 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Rape among same-sex couples studying case, Article 276 of the Criminal Code

ผู้แต่ง:

สิรภัทร ปิยะเวช

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

วริยา ล้ำเลิศ

ชื่อปริญญา:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

คณะ/หน่วยงาน:

คณะนิติศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2560

ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ):

10.14457/NIDA.the.2017.90

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

ในปี 2550 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการข่มขืนกระทำชำเราตามมาตรา 276 ซึ่งการแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าว ส่งผลให้การข่มขืนกระทำชำเราระหว่างสามีภรรยาเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา แต่สำหรับการข่มขืนกระทำชำเราระหว่างสามีภรรยานั้น กฎหมายได้บัญญัติ เหตุลดโทษให้กับผู้กระทำ หากเป็นการกระทำความผิดระหว่างสามีภรรยาไว้โดยเฉพาะ ซึ่งคำว่าสามี ภรรยาตามประมวลกฎหมายอาญา หมายความถึง บุคคลที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การสมรสที่บัญญัติ ไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยต้องเป็นบุคคลที่มีเพศสภาพตามกำเนิดเป็นชายและหญิง เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. ... ได้รับการยกร่าง โดยมีเจตนารมณ์ให้คู่ชีวิตเพศเดียวกันมีสถานะเท่าเทียมกับสามีภรรยา ซึ่งหากร่างพระราชบัญญัติ ดังกล่าวได้บังคับใช้เป็นกฎหมาย คู่ชีวิตเพศเดียวกันจะมีสถานภาพและการรับรองตามกฎหมาย คล้ายคลึงกับสามีภรรยา เป็นเหตุให้ต้องมีการศึกษา บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการข่มขืนกระทำชำเรา ระหว่างสามีภรรยา เพื่อนำมาปรับใช้กับกรณีของการข่มขืนกระทำชำเราระหว่างคู่ชีวิตเพศเดียวกัน โดยศึกษาผ่านวิธีการวิจัยเอกสารทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการข่มขืนกระทำชำเราระหว่างสามีภรรยา รวมถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่ชีวิตเพศเดียวกัน ผลจากการศึกษาร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. .... ได้บัญญัติถึงสิทธิและ หน้าที่ซึ่งคู่ชีวิตเพศเดียวกันได้รับจะมีลักษณะเช่นเดียวกับสามีภรรยา จากบทบัญญัติของร่าง พระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ให้นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวกับสามี ภรรยามาปรับใช้กับคู่ชีวิตโดยอนุโลม แต่อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้ คู่ชีวิตเพศเดียวกันมีสถานภาพเช่นเดียวกับสามีภรรยาอย่างชัดเจน และไม่ได้กล่าวถึงลักษณะของการ กระทำความผิดทางอาญาต่อกันไว้แต่อย่างใด อีกทั้งคู่ชีวิตเพศเดียวกันก็ไม่เข้าองค์ประกอบสำคัญใน ลักษณะของการเป็นสามีภรรยาตามกฎหมายไทย ซึ่งได้กำหนดเพศของการสมรสไว้ชัดเจนแล้ว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ อันเป็นการกำหนดเงื่อนไขทางเพศของคู่ สมรสเอาไว้เฉพาะชายหญิงเท่านั้น ที่จะสามารถตีความคู่ชีวิตเพศเดียวกันให้มีสถานภาพเช่นเดียวกัน กับสามีภรรยาได้ และเพื่อให้สามารถนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการข่มขืนกระทำชำเรา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 มาปรับใช้กับคู่ชีวิตเพศเดียวกันตามร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. ....ให้มีสถานภาพเช่นเดียวกับสามีภรรยาตามกฎหมายไทย ตามเจตนารมณ์ของร่างพระราชบัญญัติ ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับ สถานภาพระหว่างคู่ชีวิตไว้เป็นหมวดหนึ่งโดยเฉพาะ กำหนดให้คู่ชีวิตเพศเดียวกันตามร่าง พระราชบัญญัติดังกล่าว มีสถานภาพตามกฎหมายเช่นเดียวกับ สามีภรรยาทุกประการ รวมทั้ง ข้อความในกฎหมายใดที่กล่าวถึงสามีภรรยา หรืออ้างถึงความสัมพันธ์อย่างเช่นสามีภรรยาในกฎหมาย อื่น ให้หมายความรวมถึงคู่ชีวิตเพศเดียวกันด้วย เพื่อให้สถานภาพของคู่ชีวิตเพศเดียวกันมีบทบัญญัติ รับรองให้มีสถานะเทียบเท่าสามีภรรยาตามกฎหมาย ซึ่งการมีสถานะดังกล่าวได้ครอบคลุมถึงการ ข่มขืนกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ด้วย โดยถือว่าคู่ชีวิตเพศเดียวกันมี สถานะเป็นสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 โดยปริยาย นอกจากนั้น การแก้ไข เพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการรับรองสถานะของคู่ชีวิตเพศเดียวกันให้มีสถานภาพ เช่นเดียวกับสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น แต่เป็นการรับรองสถานะของคู่ชีวิตเพศ เดียวกันให้มีสถานภาพเช่นเดียวกับสามีภรรยาตามกฎหมายอื่น ๆ ด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560

หัวเรื่องมาตรฐาน:

การข่มขืน -- คดีอาญา

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

138 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6133
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b198275.pdf ( 2,087.44 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [208]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×