dc.contributor.advisor | วราภรณ์ วนาพิทักษ์ | |
dc.contributor.author | สุเมธ จันพะนะ | |
dc.date.accessioned | 2023-01-12T06:51:19Z | |
dc.date.available | 2023-01-12T06:51:19Z | |
dc.date.issued | 2016 | |
dc.identifier.other | b198231 | th |
dc.identifier.uri | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6140 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 | th |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการควบคุมปืนบีบีกัน 2. ศึกษากฎหมายกฎหมายเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมปืนบีบีกัน และวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวทาง การควบคุมปืนบีบีกันของประเทศไทยกับต่างประเทศ 3. วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมปืนบีบี กันตามกฎหมายไทย และวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแนวทางการควบคุมปืนบีบีกันตามกฎหมาย ต่างประเทศ และ 4. เพื่อนำเสนอแนวทางในการกำหนดหลักเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุม บีบีกันของประเทศไทย ผู้วิจัยมุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธปืนบีบีกันตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันกฎหมายอาวุธปืนของประเทศไทย เป็นกฎหมายที่มีอยู่ได้ใช้มานาน อาจทำให้กฎหมายล้าสมัย และสิ่งเทียมอาวุธปืนตามกฎหมายไม่คลอบคลุมถึงปืนบีบีกัน ที่จะใช้บังคับ ควบคุมการก่ออาชญากรรม เนื่องมาจากเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้สิ่งเทียมอาวุธปืนมี ความเหมือนจริงมากที่สุด ได้พยายามดัดแปลงประสิทธิภาพให้สิ่งเทียมอาวุธปืนให้มีประสิทธิภาพ เทียบเท่ากับปืนของจริงมากที่สุด ควรมีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ควรจะต้องมีการกำหนดมาตรการควบคุม สิ่งเทียมอาวุธปืน การขออนุญาตซื้อ การขออนุญาตพกพา ควรมีการออกกฎหมายเฉพาะเพื่อควบคุม การใช้ปืนบีบีกันให้มีความรัดกุม ครอบคลุม ชัดเจน และบังคับใช้อย่างเคร่งครัดตลอดจนบทกำหนด โทษกรณีกระทำผิดให้มีโทษรุนแรงเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันบุคคลนำปืนบีบีกันไปใช้เป็นเครื่องมือ หรือ ช่องทางในการกระทำความผิดกฎหมาย เพื่อให้การควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืนเกิดสูงสุด และเพื่อรักษา ความสงบเรียบร้อยความปลอดภัยแก่ประชาชน ตลอดจนความมั่นคงของประเทศ | th |
dc.description.provenance | Submitted by Kwanruthai Kaewjampa (kwanruthai.k@nida.ac.th) on 2023-01-12T06:51:19Z
No. of bitstreams: 1
b198231.pdf: 1965400 bytes, checksum: a6676fb77a6b0d73c6b41e9a3db71213 (MD5) | en |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2023-01-12T06:51:19Z (GMT). No. of bitstreams: 1
b198231.pdf: 1965400 bytes, checksum: a6676fb77a6b0d73c6b41e9a3db71213 (MD5)
Previous issue date: 2016 | en |
dc.format.extent | 104 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject.other | อาวุธปืน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย | th |
dc.subject.other | ปืน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย | th |
dc.title | มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืนในประเทศไทย: ศึกษากรณี ปืนบีบีกัน (BB Gun) | th |
dc.title.alternative | Thailand’s imitate firearm control act : case study of BB Gun | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | วิทยานิพนธ์ | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th |
thesis.degree.level | Master's | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะนิติศาสตร์ | th |
dc.identifier.doi | 10.14457/NIDA.the.2016.163 | |