มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพ ศึกษาเฉพาะกรณีการตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน
by อารีย์ สุวรรณศรี
ชื่อเรื่อง: | มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพ ศึกษาเฉพาะกรณีการตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The legal measures to control the examination of an autopsy : study in the case of death during the control of an official |
ผู้แต่ง: | อารีย์ สุวรรณศรี |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | ปิยะนุช โปตะวณิช |
ชื่อปริญญา: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะนิติศาสตร์ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ): | 10.14457/NIDA.the.2016.164 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาหลักการทางกฎหมายของกระบวนการชันสูตร พลิกศพและการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพ ว่าควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์และรายละเอียด ของเหตุการณ์ตายที่ต้องทำการชันสูตรพลิกศพ เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ ขั้นตอนของ การชันสูตรพลิกศพ ตลอดจนคุณสมบัติและอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ อย่างไรจึงจะสามารถทำให้การชันสูตรพลิกศพและการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพเป็นไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และ 2. เพื่อหาแนวทางและมาตรการในการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพ ทั้งในเชิงกฎหมายและในทางปฏิบัติที่เหมาะสม วิธีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นการศึกษาแนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการ ชันสูตรพลิกศพและแนวความคิดพื้นฐานที่เกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพที่จะต้องมี การควบคุมตรวจสอบดังกล่าว ส่วนที่สอง เป็นการศึกษาเปรียบเทียบหลักการทางกฎหมายในการ ควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพของของประเทศไทยกับต่างประเทศ ที่ผู้วิจัยเห็นว่ามีความสำคัญ เพื่อแสดงให้เห็นว่าการชันสูตรพลิกศพของประเทศไทยกับต่างประเทศนั้นมีกระบวนการชันสูตรพลิกศพ และหลักการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพอย่างไร ซึ่งจากการศึกษาพบว่าหลักการทางกฎหมาย ในการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพของของประเทศไทยนั้นยังมีปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการ ชันสูตรพลิกศพ ในเรื่องของขั้นตอนของการชันสูตรพลิกศพในกรณีการตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน มีการใช้ถ้อยคำที่ยังไม่มีความสอดคล้องทำให้ยากต่อการตีความและเข้าใจกฎหมาย ตลอดจนยังไม่มีการจัดระบบการขนส่งศพ การจัดการกับศพ และการกำหนดเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการ ออกคำสั่งหรือการลงมติความเห็นที่ไม่ตรงกัน ปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการ ชันสูตรพลิกศพ ที่ยังไม่มีการกำหนดคุณสมบัติที่สำคัญของเจ้าหน้าที่บางประการ ทั้งในด้านคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของแพทย์ผู้ทำการผ่าศพ ตลอดจนการส่งเสริมสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างแพทย์นิติเวชศาสตร์และบุคลากรอื่นที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในการ ชันสูตรพลิกศพ อีกทั้งปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพของเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ใน การชันสูตรพลิกศพที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากการชันสูตรพลิกศพกรณีการตายในระหว่างอยู่ใน ความควบคุมของเจ้าพนักงานที่ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ 4 ฝ่าย อันได้แก่ พนักงานสอบสวน แพทย์ พนักงานอัยการ และพนักงานฝ่ายปกครอง ซึ่งพนักงานสอบสวนเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ที่มีหน้าที่หลักในการ ชันสูตรพลิกศพ โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่นเป็นเพียงผู้ที่เข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนเท่านั้น ไม่ได้เป็นการควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนแต่อย่างใด ตลอดจนพนักงานฝ่ายปกครองก็ไม่มี อำนาจเท่าที่ควร ทำให้ในบางกรณีอาจเกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่าพนักงานสอบสวนได้ดำเนินการไป โดยถูกต้องและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายหรือไม่ ทั้งนี้กระบวนการไต่สวนการตายโดยศาลก็เป็นเพียงวิธีการ ทบทวนรายงานการชันสูตรพลิกศพเท่านั้น ไม่ได้ควบคุมไปถึงการควบคุมตรวจสอบการกระทำของเจ้า พนักงานในการปฏิบัติหน้าที่อีกด้วย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนวทางในการพัฒนาและแก้ไข เพื่อให้การชันสูตรพลิกศพนั้นมีประสิทธิภาพและสามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่บุคคลที่เกียวข้องได้ อย่างเหมาะสม กล่าวคือ 1. ในเรื่องของกระบวนการชันสูตรพลิกศพ กรณีการตายในระหว่างอยู่ในความ ควบคุมของเจ้าพนักงานไม่ควรให้องค์กรการกุศลเข้ามาปฏิบัติงาน ซึ่งควรบัญญัติไว้ในกฎหมายให้ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม หรือหน่วยงานพิสูจน์หลักฐานหรือเจ้าหน้าที่ทางวิทยาการที่ ไม่ได้สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่โดยมีหน้าที่เข้าตรวจพิสูจน์หลักฐานในสถานที่ ที่มีการตายเกิดขึ้นโดยตรง และในเรื่องของขั้นตอนการชันสูตรพลิกศพ ควรบัญญัติกฎหมายให้มีความ ชัดเจนเกี่ยวกับระบบการขนส่งศพตรวจ การออกคำสั่งในการผ่าศพ และการจัดการกับศพ 2. ในเรื่องการกำหนดคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ ควรกำหนดให้ชัดเจนทั้งในเรื่อง คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม เขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ตลอดจนคุณสมบัติหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ของแพทย์ผู้ทำการผ่าศพให้มีความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านนิติเวชศาสตร์และนิติวิทยาศาสตร์เป็นการเฉพาะ เพื่อลดภาระงานหรือแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรและความรู้ความเชี่ยวชาญของ เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ 3. ในเรื่องของการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพของ เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ ควรให้แพทย์เป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจศพ ผ่าศพ ขนส่งศพ ตลอดจนการทำความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุและพฤติการณ์ของการตายโดยมีการกำหนดแบบ รายงานการชันสูตรพลิกศพของตนเองอย่างละเอียด และเห็นสมควรให้ตัดพนักงานฝ่ายปกครองออกจาก กระบวนการชันสูตรพลิกศพ และไม่ใช่เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ โดยให้คงเหลือเพียงแค่ 3 ฝ่ายเท่านั้น กล่าวคือ พนักงานสอบสวน แพทย์ และพนักงานอัยการ ทั้งนี้การไต่สวนการตายของศาล นอกจากจะต้องมุ่งเน้นในการหาความจริงเกี่ยวกับการตายแล้ว จะต้องครอบคุมไปถึงประเด็นที่จะ ควบคุมตรวจสอบการกระทำของเจ้าพนักงานว่าได้กระทำไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ด้วย |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | การชันสูตรพลิกศพ
การตรวจศพ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 284 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6141 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|