กฎหมายเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดสำหรับพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทย
by จรีรัตน์ สร้อยเสริมทรัพย์
ชื่อเรื่อง: | กฎหมายเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดสำหรับพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal for conservation and wise use of wetland in Thailand |
ผู้แต่ง: | จรีรัตน์ สร้อยเสริมทรัพย์ |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | ฌานิทธิ์ สันตะพันธุ์ |
ชื่อปริญญา: | นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Doctoral |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะนิติศาสตร์ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ): | 10.14457/NIDA.the.2019.89 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์และ การใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด การศึกษาโดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ได้แก่ ศึกษา หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดในพื้นที่ชุ่มน้ำ ศึกษา และวิเคราะห์อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ และกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และ การใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดในพื้นที่ชุ่มน้ำ ศึกษาและวิเคราะห์นโยบายและแผนการจัดการพื้นที่ ชุ่มน้ำของรัฐ กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี และองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำใน ประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าปัญหาในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทยที่ผ่านมา ได้แก่ 1. ปัญหาความไม่ชัดเจนของนโยบายและแผนการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ คือ ปัญหานโยบายและแผนการ จัดการทรัพยากรพื้นที่ชุ่มน้ าของประเทศไทย พบว่าขาดแผนแม่บทการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำและ แผนปฏิบัติการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำและขั้นตอนในการจัดทำนโยบายและแผนยังขาด กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน 2. ปัญหาความไม่สอดคล้องของเนื้อหากฎหมายกับหลักการ ตามอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำพบว่าพื้นที่ชุ่มน้ำที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ กฎหมายที่บังคับใช้ใน เขตอนุรักษ์ ได้ปฏิบัติตามหลักการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด ตามนอนุสัญญาว่า ด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำแล้ว ส่วนพื้นที่ชุ่มน้ำนอกเขตอนุรักษ์นั้น พบว่ากฎหมายส่วนมากไม่มีปฏิบัติตาม หลักการที่สำคัญตามอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำหลายประการ จึงส่งผลให้พื้นที่ชุ่มน้ำนอกเขต อนุรักษ์ เกิดการสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นจำนวนมาก 3. ปัญหาด้านโครงสร้างขององค์กร พบว่ามี หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่พื้นที่ชุ่มน้ำมีอยู่จำนวนมาก เกิดความซ้ำซ้อนกันใน การปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้งยังขาดการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4. ปัญหาการขาด การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ชุ่มน้ำพบว่าประชาชนยังขาด ความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำ รวมถึงประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการ กำหนดนโยบายและแผนการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำหรือโครงการหรือกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1. ข้อเสนอแนะด้านนโยบาย รัฐควรกำหนดให้มีการจัด ทำแผนแม่บทการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ าและแผนปฏิบัติการพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อวางแผนจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ ทั้งประเทศ 2. ข้อเสนอแนะด้านองค์กร รัฐควรมีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการพื้นที่ ชุ่มน้ำการจัดตั้งองค์กรจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในระดับจังหวัด โดยทำงานประสานกับคณะกรรมการ ลุ่มน้ำประจำจังหวัด เพื่อทำหน้าที่รับนโยบายจากส่วนกลาง ส่วนในระดับท้องถิ่น การจัดตั้ง คณะอนุกรรมการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำในระดับท้องถิ่น หรือ คณะกรรมการพื้นที่ชุ่มน้ำชุมชน 3. ข้อเสนอแนะด้านกฎหมาย รัฐควรออกกฎหมายลำดับรองหรือ ข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำโดยอาศัยหลักการตามอนุสัญญาว่า ด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำและ 4. ข้อเสนอแนะด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐควรสร้างกลไกการบริหาร จัดการพื้นที่ชุ่มน้ าโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการวางแผนจัดการและการติดตามตรวจสอบ การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชุ่มน้ำ |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | พื้นที่ชุ่มน้ำ -- การอนุรักษ์
พื้นที่ชุ่มน้ำ |
ประเภททรัพยากร: | ดุษฎีนิพนธ์ |
ความยาว: | 350 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6342 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|