การศึกษาเปรียบเทียบการรับบทบาทในเกม MOBA กับรูปแบบภาวะผู้นำ
Publisher
Issued Date
2019
Issued Date (B.E.)
2562
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
163 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b207805
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ชยาภพ เหล่าภูมิแจ้ง (2019). การศึกษาเปรียบเทียบการรับบทบาทในเกม MOBA กับรูปแบบภาวะผู้นำ. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6425.
Title
การศึกษาเปรียบเทียบการรับบทบาทในเกม MOBA กับรูปแบบภาวะผู้นำ
Alternative Title(s)
A comparative study of game roles in MOBA and leadership styles
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบการรับบทบาทในเกม MOBA กับรูปแบบภาวะผู้นำ ” เป็นการวจิยัเชิงทดลอง มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการเล่นเกม MOBA กับรูปแบบของภาวะผู้นำโดยมุ่งศึกษาผ่านกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เล่นเกม League of Legends ในระดับเลเวล30อายุระหว่าง 20 - 30 ปีและมีประสบการณ์ในการทำงานต้งัแต่2 ปีขึ้นไป ที่อาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัยจำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 จำนวน 10 คน กลุ่มทดลองที่ 2 จำนวน 10 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 10 คน ดำเนินตามแผนการทดลองแบบวดัก่อนหลัง (Pretest –Posttest Design) โดยสิ่งทดลองที่กลุ่ม ทดลองที่ 1 ได้รับคือการให้เล่นเกมในบทบาทที่ตนเองไม่ถนัด และสิ่งทดลองที่กลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับคือการไม่อนุญาตให้เล่นเกมประเภท MOBA ทุกเกม และกลุ่มควบคุม ให้เล่นเกมตามปกติ ใช้เวลาทดลองทั้งหมด 21 วัน ตัวแปรหลักที่มุ่งศึกษาคือ 1) บทบาทในเกม MOBA ประกอบด้วยฝ่ายสร้างความเสียหาย ฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายลอบโจมตี 2) รูปแบบภาวะผู้นำประกอบด้วยผู้นำแบบรวมอำนาจ ผู้นำแบบ ประชาธิปไตย และผู้นำแบบเสรีนิยม โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นข้อมูลส่วนบุคคลและส่วนที่สองเป็นแบบประเมินรูปแบบภาวะผู้นำสถิติที่ใช้ได้แก่ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดย กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ .05 ผลการวจิยัพบว่า 1)การรับบทบาทให้เล่นในตำแหน่งฝ่ายสร้างความเสียหายส่งผลต่อภาวะ ผู้นำแบบรวมอำนาจ 2) การรับบทบาทให้เล่นในตำแหน่งฝ่ายสนับสนุนส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบ ประชาธิปไตย 3)การรับบทบาทให้เล่นในตำแหน่งฝ่ายลอบโจมตีไม่ส่งผลต่อภาวะผู้นำในทุก รูปแบบ 4)การงดให้เล่นเกมไม่มีผลต่อภาวะผู้นำในทุกรูปแบบ 5)ไม่มีบทบาทใดในเกมที่ส่งผลต่อ ภาวะผู้นำแบบเสรีนิยม ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจยัในคร้ังต่อไป 1) ควรเพิ่มความหลากหลายของลักษณะ ประชากรในการวจิยั เช่น การศึกษาในเพศหญิง 2)ควรทำวิจิยเชิงคุณภาพเพิ่มเติมเพื่อแสวงหาปัจจัยอื่น ๆ หรือคำอธิบายเชิงลึกเพิ่มเติม 3)ควรเพิ่มการทดสอบเรื่องอาการติดเกม เข้าไปในแผนการทดลอง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เข้าร่วมการทดลองจะไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าวจากการทดลอง โดยควร วัดทั้งก่อน ระหว่างและหลังจบการทดลอง
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562