สมรรถนะของหัวหน้างานและผู้บริหารระดับกลางสายสนับสนุนที่จำเป็นต่อการพัฒนาหน่วยงานสู่มาตรฐานสากลตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ
Files
Publisher
Issued Date
2018
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
227 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b207803
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ธนินท์รัฐ ประสารชัยมนตรี (2018). สมรรถนะของหัวหน้างานและผู้บริหารระดับกลางสายสนับสนุนที่จำเป็นต่อการพัฒนาหน่วยงานสู่มาตรฐานสากลตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6427.
Title
สมรรถนะของหัวหน้างานและผู้บริหารระดับกลางสายสนับสนุนที่จำเป็นต่อการพัฒนาหน่วยงานสู่มาตรฐานสากลตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ
Alternative Title(s)
Key competencies of middle management and heads of support staff necessary for driving organizational development to meet the educaion criteria for performance excellence (EdPEx) in higher education institutions
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาคร้ังนี้มีจุดประสงค์มุ่งเน้นที่จะระบุสมรรถนะที่จำเป็นของหัวหน้างานและ ผู้บริหารระดับกลางสายสนับสนุนในสถาบันการศึกษาที่ผ่านเกณฑ์โครงการนำเกณฑ์คุณภาพ การศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในจากวิถีปฏิบัติที่ เป็นเลิศ (Best Practices) ที่เป็นข้อได้เปรียบในการพัฒนาองค์การของตนเองในสถาบันการศึกษา ประเทศไทย การศึกษาแบ่งออกได้เป็น 3ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1) การสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม โดยเก็บข้อมูลจากให้ผู้ข้อมูลจำนวน 17 ท่าน ตามเกณฑ์ที่ได้ระบุไว้ในระเบียบวิธี 2) การบูรณาการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจำนวน 35 เรื่อง 3) ระเบียบวิธี แบบเดลฟายโดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานข้อมูลจากทั้ง 2 ขั้นตอนก่อนหน้าในการเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 18 ท่าน ผลการศึกษาพบพบชุดสมรรถนะในหมวดค่านิยมทั้งสิ้น 22 สมรรถนะ ดังต่อไปนี้ 1) เป็น ผู้ที่สามารถมองภาพรวมองค์การได้ และมีความสามารถในการเชื่อมโยง 2) มีวิสัยทัศน์และแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน 3) ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังและเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ 4) สามารถสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ 5) เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน 6) รับฟังและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า 7) สามารถจูงใจ รักษาขวัญกำลังใจ บุคลากรในการทำงานให้เกิดความสุขและความผูกพันได้ 8) ความสามารถในการติดต่อและประสานงาน 9) ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการทำงานร่วมกัน 10 ) มีแผนการพัฒนาบุคลากร 11) ทักษะในการให้คำแนะนำและปรึกษา 12) เข้าใจในกระบวนการทำงานในสายงานของตน 13) สามารถบริหารจัดการเวลาได้ 14) สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มได้ด้วยตนเอง 15) เปิดรับเรียนรู้สิ่งใหม่16) มีความรู้ในการจัดการคุณภาพ 17) ทัศนคติบวกกับงานประกัน คุณภาพ หรือ Quality Assurance 18) สามารถรวบรวมข้อมูลและสืบค้นข้อมูลที่ต้องการ 19) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ประเมิน และแปลผลข้อมูล 20) มีธรรมาภิบาล 21) มีจรรยาบรรณ วิชาชีพ 22) มีความรับผดิชอบต่อสิ่งที่ได้ดำเนินการ ภายหลังการสรุปผลการวิจัย ผู้วิจัยได้เพิ่มวิธีเปรียบเทียบสมรรถนะที่เป็นผลสรุปกับ สมรรถนะจากการศึกษาในหัวข้อการพัฒนาภาวะผู้นำในประเทศไทย (Leadership Development in Thailand) โดยใช้การศึกษาดังกล่าวเป็นตัวคัดกรองสมรรถนะเพื่อความเป็นเลิศเพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้งาน ผลพบชุดสมรรถนะทั้งสิ้น 4 สมรรถนะ ดังต่อไปนี้ 1) ทัศนคติบวกกับงานประกันคุณภาพ หรือ Quality Assurance 2) สามารถรวบรวมข้อมูลและสืบค้นข้อมูลที่ต้องการ 3) เป็ นผู้ที่สามารถมองภาพรวมองค์การได้ และมีความสามารถในการเชื่อมโยง 4) รับฟังและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ชุดสมรรถนะดงักล่าวที่เป็นผลการศึกษาในคร้ังนี้คาดว่าจะมีประโยชน์ในการช่วยผลักดัน องค์กรให้สามารถนำเกณฑ์ EdPEx มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่องค์การอย่างเป็นรูปธรรม โดย ตระหนักถึงความสำคัญของสมรรถนะที่หัวหน้างานจำเป็นจะต้องฝึกฝนพัฒนาและผลการศึกษา จากงานวิจัยชิ้นนี้สามารถนำไปแปลงเป็นข้อมูลประกอบการคัดเลือกหรือแมก้ระทั่งนำไปสร้างเป็นรายการการตรวจสอบคุณสมบัติเพื่อกำหนดเงื่อนไขของบุคคลที่จะมอบหมายงานในการขับเคลื่อนองค์การตามแนวทางของเกณฑ์อีกด้วย
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561