ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำโครงการ "เกษตรทฤษฎีใหม่" (ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) ไปสู่การปฏิบัติ
Publisher
Issued Date
2000
Issued Date (B.E.)
2543
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
235 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b104863
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ (2000). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำโครงการ "เกษตรทฤษฎีใหม่" (ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) ไปสู่การปฏิบัติ. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/718.
Title
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำโครงการ "เกษตรทฤษฎีใหม่" (ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) ไปสู่การปฏิบัติ
Alternative Title(s)
Factors affecting the success of implementation of the "New Theory" proposed by His Majesty the King
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกมาวิจัยครั้งนี้ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการ ได้แก่ (1) ศึกษาการนำหลักการ "ทฤษฎีใหม่" (ตามแนวพระราชดำริ) ไปสู่การปฏิบัติโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินโครงการในภาคปฏิบัติ และ (3) ศึกษาผลที่ได้จากโครงการและปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการ "เกษตรทฤษฎีใหม่" (ตามแนวพระราชดำริ)
ทั้งนี้ได้กำหนดขอบเขตในการศึกษาโครงการ "เกษตรทฤษฎีใหม่" (ตามแนวพระราชดำริ) ที่ดำเนินงานในปี 2541 และปี 2542 ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาดตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวม 39 จังหวัด ซึ่งใช้การประเมินผลโครงการที่ใช้ทฤษฎีเป็นตัวขับ โดยจะพิจารณาในรายละเอียดขององค์ประกอบในการประเมินผลด้านปัจจัยสภาพแวดล้อมในการนำโครงการ ไปปฏิบัติและกลไกแทรกของโครงการที่มีต่อความพอมีพอมีพอกินซึ่งเป็นผลสำเร็จในขั้นแรกของโครงการ
ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การดำเนินโครงการส่วนใหญ่เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ทั้งในปี 2541 และปี 2542 แต่ไม่ครอบคลุมพื้นที่ในทุกตำบล เนื่องจากคุณลักษณะของพื้นที่บางตำบลไม่ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น คุณสมบัติของดินไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว บางพื้นที่อยู่ในเขตชลประทาน เป็นต้น อีกทั้งผู้เข้าร่วมโครงการบางรายขอถอนตัวจากโครงการ อย่างไรก็ดีเจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมโครงการประเมินว่าการดำเนินงานโดยรวมมีประสิทธิภาพสูง
สิ่งที่ระบุไว้ป็นวัตถุประสงค์ของโครงการคือ (1) การพัฒนาคุณภาพชีวิต (2) การดำรงชีพอย่างยั่งยืนและ (3) การลดการเคลื่อนย้ายการใช้แรงงาน เป็นสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นและเห็นผลอย่างป็นรูปธรรมในระยะเวลาอันสั้น และต้องให้ระยะเวลาผ่านไปพอสมควรจึงจะประเมินได้ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ อย่างไรก็ดีผู้เกี่ยวข้องกับโครงการทุกกลุ่มประเมินว่าการดำเนินงานมีประสิทธิผลสูง โดยผู้เข้าร่วมโครงการให้คะแนนความพึงพอใจสูง (ประมาณ 9 จาก 10) นอกจากนั้นหลังจากเข้าร่วมโครงการ ผู้เข้าร่วมมากกว่าร้อยละ 70 สามารถเลี้ยงตัวเองให้ดีขึ้น แต่ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนหนึ่งยังระบุว่าได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจการค้า ท้ายสุดผู้เข้าร่วมโครงการเกือบทั้งหมดระบุว่าไม่ต้องการเดินทางไปทำงานที่จังหวัดอื่น และต้องการดำเนินชีวิตตามรูปแบบการเกษตรทฤษฎีใหม่ต่อไป
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถจำแนกตามประเด็นในด้านแผนงานและการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ ด้านผู้เข้าร่วมโครงการ และด้านปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกอื่นๆ ได้ 8 ประการคือ (1) การประชาสัมพันธ์ (2) การคัดเลือกพื้นที่เเละเกษตรกร (3) การเตรียมความพร้อมของผู้เข้าร่วมโครงการ (4) การจัดทำเผนการผลิตและส่งเสริม (5) การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ (6) การตลาด (7) การขยายเครือข่าย และ (8) ระบบฐานข้อมูล
นอกจากนั้นพบว่าปัจจัยสภาพแวดล้อมในการนำโครงการไปฏิบัติด้าน (1) หลักการดำเนินโครงการ (2) ความสามารถในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และ (3) คุณสมบัติของเกษตรกร ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ในเชิงสาเหตุและผลกับความพอมีพอกินซึ่งเป็นผลสำเร็จในขั้นต้นของโครงการ โดยความพร้อมในการทำการเกษตรจะส่งผลทางตรง นอกนั้นจะส่งผลในทางอ้อม
เมื่อพิจารณาเรื่องกลไกของโครงการพบว่า เมื่อผู้เข้าเข้าร่วมโครงการมีความเพียงพอในการทำการเกษตร และมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เกษตรกรมีความพอมีพอกินมากขึ้น ทั้งนี้ความเพียงพอและผลผลิตเป็นผลสืบเนื่องมาจากการสนับสนุนทางด้านแหล่งน้ำและปัจจัยการผลิตโดยตรง ในขณะที่การอบรมจะส่งผลให้เกิดความพอมีพอกินในทางอ้อม นอกจากนั้นเมื่อ
เกษตรกรใช้พื้นที่ในการเกษตรเเละแหล่งน้ำที่มากขึ้น ผนวกกับการดำเนินโครงการอย่างมุ่งมั่นของเกษตรกรจะทำให้เกษตรกรมีผลผลิตเพิ่มขึ้นและทำให้เกิดความพอมีพอกินได้ในที่สุด
เมื่อพิจารณาแล้วโครงการ "เกษตรทฤษฎีใหม่" (ตามแนวพระระราชดำริ) มีทฤษฎีที่ใช้กำกับโครงการอย่างมีสาเหตุและผลซึ่งควรค่าแก่การนำไปปฏิบัติต่อไป อย่างไรก็ดีควรพิจารณาตรวจสอบในเรื่องกระบวนการสนับสนุนแหล่งน้ำและปัจจัยการผลิตเพื่อให้เกษตรกรมีความพร้อมและความเพียงพอในการทำการเกษตร รวมถึงการมีผลผลิตที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น และอาจคัดเลือก
เกษตรกรผู้ที่มีความมุ่งมั่นในการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อให้เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดำเนินงานการเกษตรทฤษฎีใหม่จนประสบผลตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีการบริหาร))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2543