การนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จ
Publisher
Issued Date
1990
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ต, 371 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อาคม ใจแก้ว (1990). การนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จ. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/904.
Title
การนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จ
Alternative Title(s)
Policy implementation in the southern most provinces of Thailand : a study of factors affecting success
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เน้นเฉพาะในส่วนของนโยบายส่งเสริมการศึกษาให้กับชาวไทยมุสลิม
ระเบียบวิธีการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ตัวแบบหรือกรอบการศึกษาได้พัฒนาขึ้นมาจากการสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติทั้งของไทยและต่างประเทศโดยการศึกษาครั้งนี้การทดสอบตัวแบบได้แยกออกเป็นสองลักษณะคือ
ตัวแบบที่ 1 เป็นการศึกษาความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติโดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเยาวชนไทยมุสลิมจำนวน 746 คน ตัวแบบนี้มีตัวแปรอิสระคือ ปัจจัยด้านประชาชนที่เน้นเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับความต้องการ การสนับสนุนจากผู้นำท้องถิ่นและท่าทีของประชาชนต่อข้าราชการ และปัจจัยด้านชุมชนที่เน้นเฉพาะเจาะจงด้านความยึดมั่นในวัฒนธรรม ตัวแปรตามคือความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติซึ่งแยกออกเป็น 3 มิติ มิติแรก เป็นความสำเร็จของนโยบายเชิงทัศนคติจากเยาวชนไทยมุสลิมภายหลังจากที่ได้เข้าร่วมในโครงการ มิติที่สองและสามเป็นความสำเร็จของนโยบายที่พิจารณาในเชิงพฤติกรรมการเรียนภาษาไทยและพฤติกรรมการเรียนอิสลามศึกษาตามลำดับ.
ตัวแบบที่ 2 เป็นการศึกษาความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติโดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการระดับล่างจำนวน 215 คน ตัวแบบนี้ประกอบด้วยตัวแปรอิสระคือ ปัจจัยด้านนโยบายเน้นเฉพาะเจาะจงด้านความชัดเจนและความสอดคล้องกับสภาพปัญหา ปัจจัยด้านองค์การเน้นเฉพาะเจาะจงด้านการประสานงานและการสนับสนุนจากหน่วยงานระดับเหนือ ปัจจัยด้านข้าราชการเน้นเฉพาะเจาะจงด้านความตั้งใจจริง ความมีวิชาชีพและความสามารถในการปรับตัว ปัจจัยทางด้านทรัพยากรเน้นเฉพาะเจาะจงด้านงบประมาณและจำนวนบุคลากร สุดท้ายคือปัจจัยด้านการใช้ข้อมูลและกระบวนการติดต่อเน้นเฉพาะเจาะจงด้านการใช้ข้อมูลในพื้นที่และการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงาน
กลุ่มตัวอย่างทั้งสองตัวแบบเป็นเยาวชนไทยมุสลิมและข้าราชการที่รับผิดชอบในโครงการส่งเสริมการศึกษาสายสามัญและโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้สามจังหวัดคือ ปัตตานี ยะลาและสงขลา.
ผลการทดสอบในเชิงปริมาณพบว่าตัวแบบแรกนั้น ปัจจัยด้านชุมชนและปัจจัยด้านประชาชนมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติเชิงทัศนคติในขณะที่ปัจจัยด้านประชาชนมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของนโยบายที่เป็นผลการเรียนภาษาไทยและปัจจัยด้านชุมชนมีความสัมพันธ์กับผลการเรียนอิสลามศึกษา สำหรับตัวแบบที่สองพบว่า ปัจจัยด้านข้าราชการและปัจจัยด้านงบประมาณมีความสัมพันธ์ทางตรงกับความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติเชิงทัศนคติ ส่วนปัจจัยด้านนโยบายถึงแม้จะไม่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของนโยบายเชิงทัศนคติ แต่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านองค์การและปัจจัยด้านข้าราชการ ปัจจัยด้านการใช้ข้อมูลและกระบวนการติดต่อก็ไม่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จเชิงทัศนคติ ความสำเร็จของนโยบายเชิงพฤติกรรมที่เน้นเฉพาะเจาะจงการอุทิศเวลาให้กับโครงการนั้นพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นที่กล่าวมาแล้วแต่อย่างใด
ผลการทดสอบในเชิงคุณภาพภายใต้การสังเกต สัมภาษณ์จากกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง ณ จุดที่ตั้งของโครงการปรากฏว่าทุกปัจจัยมีผลกระทบต่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติในทุกมิติตัวแปรตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยด้านลักษณะชุมชนที่เป็นแนวความยึดมั่นในวัฒนธรรม ปัจจัยด้านนโยบายและปัจจัยด้านข้าราชการจะมีความสำคัญมากที่สุดตามลำดับ.
ผลการศึกษาทั้งสองลักษณะดังกล่าวจึงได้ข้อสรุปว่า การนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้บรรลุความสำเร็จได้นั้นจะต้องให้ความสำคัญต่อปัจจัย 3 ประการต่อไปนี้คือ ปัจจัยด้านชุมชนที่เน้นความยึดมั่นในวัฒนธรรม ปัจจัยด้านนโยบายและปัจจัยด้านข้าราชการระดับล่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการระดับล่างเป็นผู้เชื่อมโยงนโยบายระดับนามธรรมลงสู่ผลการปฏิบัติระดับพื้นที่ที่เป็นรูปธรรม หากข้าราชการขาดความตั้งใจจริงไม่มีความสามารถด้านวิชาชีพหรือไม่อาจปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่แล้ว ถึงแม้นโยบายจะมีความชัดเจน สอดคล้องกับสภาพปัญหาและวัฒนธรรมของพื้นที่เพียงใดก็อาจจะทำให้นโยบายล้มเหลวได้ในที่สุด จากข้อสรุปดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์กับรัฐและหน่วยงานระดับพื้นที่ใช้เป็นแนวทางปรับปรุงการนำนโยบายไปปฏิบัติในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายนโยบายที่วางไว้ต่อไป.
ระเบียบวิธีการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ตัวแบบหรือกรอบการศึกษาได้พัฒนาขึ้นมาจากการสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติทั้งของไทยและต่างประเทศโดยการศึกษาครั้งนี้การทดสอบตัวแบบได้แยกออกเป็นสองลักษณะคือ
ตัวแบบที่ 1 เป็นการศึกษาความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติโดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเยาวชนไทยมุสลิมจำนวน 746 คน ตัวแบบนี้มีตัวแปรอิสระคือ ปัจจัยด้านประชาชนที่เน้นเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับความต้องการ การสนับสนุนจากผู้นำท้องถิ่นและท่าทีของประชาชนต่อข้าราชการ และปัจจัยด้านชุมชนที่เน้นเฉพาะเจาะจงด้านความยึดมั่นในวัฒนธรรม ตัวแปรตามคือความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติซึ่งแยกออกเป็น 3 มิติ มิติแรก เป็นความสำเร็จของนโยบายเชิงทัศนคติจากเยาวชนไทยมุสลิมภายหลังจากที่ได้เข้าร่วมในโครงการ มิติที่สองและสามเป็นความสำเร็จของนโยบายที่พิจารณาในเชิงพฤติกรรมการเรียนภาษาไทยและพฤติกรรมการเรียนอิสลามศึกษาตามลำดับ.
ตัวแบบที่ 2 เป็นการศึกษาความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติโดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการระดับล่างจำนวน 215 คน ตัวแบบนี้ประกอบด้วยตัวแปรอิสระคือ ปัจจัยด้านนโยบายเน้นเฉพาะเจาะจงด้านความชัดเจนและความสอดคล้องกับสภาพปัญหา ปัจจัยด้านองค์การเน้นเฉพาะเจาะจงด้านการประสานงานและการสนับสนุนจากหน่วยงานระดับเหนือ ปัจจัยด้านข้าราชการเน้นเฉพาะเจาะจงด้านความตั้งใจจริง ความมีวิชาชีพและความสามารถในการปรับตัว ปัจจัยทางด้านทรัพยากรเน้นเฉพาะเจาะจงด้านงบประมาณและจำนวนบุคลากร สุดท้ายคือปัจจัยด้านการใช้ข้อมูลและกระบวนการติดต่อเน้นเฉพาะเจาะจงด้านการใช้ข้อมูลในพื้นที่และการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงาน
กลุ่มตัวอย่างทั้งสองตัวแบบเป็นเยาวชนไทยมุสลิมและข้าราชการที่รับผิดชอบในโครงการส่งเสริมการศึกษาสายสามัญและโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้สามจังหวัดคือ ปัตตานี ยะลาและสงขลา.
ผลการทดสอบในเชิงปริมาณพบว่าตัวแบบแรกนั้น ปัจจัยด้านชุมชนและปัจจัยด้านประชาชนมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติเชิงทัศนคติในขณะที่ปัจจัยด้านประชาชนมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของนโยบายที่เป็นผลการเรียนภาษาไทยและปัจจัยด้านชุมชนมีความสัมพันธ์กับผลการเรียนอิสลามศึกษา สำหรับตัวแบบที่สองพบว่า ปัจจัยด้านข้าราชการและปัจจัยด้านงบประมาณมีความสัมพันธ์ทางตรงกับความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติเชิงทัศนคติ ส่วนปัจจัยด้านนโยบายถึงแม้จะไม่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของนโยบายเชิงทัศนคติ แต่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านองค์การและปัจจัยด้านข้าราชการ ปัจจัยด้านการใช้ข้อมูลและกระบวนการติดต่อก็ไม่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จเชิงทัศนคติ ความสำเร็จของนโยบายเชิงพฤติกรรมที่เน้นเฉพาะเจาะจงการอุทิศเวลาให้กับโครงการนั้นพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นที่กล่าวมาแล้วแต่อย่างใด
ผลการทดสอบในเชิงคุณภาพภายใต้การสังเกต สัมภาษณ์จากกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง ณ จุดที่ตั้งของโครงการปรากฏว่าทุกปัจจัยมีผลกระทบต่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติในทุกมิติตัวแปรตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยด้านลักษณะชุมชนที่เป็นแนวความยึดมั่นในวัฒนธรรม ปัจจัยด้านนโยบายและปัจจัยด้านข้าราชการจะมีความสำคัญมากที่สุดตามลำดับ.
ผลการศึกษาทั้งสองลักษณะดังกล่าวจึงได้ข้อสรุปว่า การนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้บรรลุความสำเร็จได้นั้นจะต้องให้ความสำคัญต่อปัจจัย 3 ประการต่อไปนี้คือ ปัจจัยด้านชุมชนที่เน้นความยึดมั่นในวัฒนธรรม ปัจจัยด้านนโยบายและปัจจัยด้านข้าราชการระดับล่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการระดับล่างเป็นผู้เชื่อมโยงนโยบายระดับนามธรรมลงสู่ผลการปฏิบัติระดับพื้นที่ที่เป็นรูปธรรม หากข้าราชการขาดความตั้งใจจริงไม่มีความสามารถด้านวิชาชีพหรือไม่อาจปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่แล้ว ถึงแม้นโยบายจะมีความชัดเจน สอดคล้องกับสภาพปัญหาและวัฒนธรรมของพื้นที่เพียงใดก็อาจจะทำให้นโยบายล้มเหลวได้ในที่สุด จากข้อสรุปดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์กับรัฐและหน่วยงานระดับพื้นที่ใช้เป็นแนวทางปรับปรุงการนำนโยบายไปปฏิบัติในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายนโยบายที่วางไว้ต่อไป.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ด. (การบริหารการพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2533.