การขัดเกลาทางสังคมของเด็กวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์ กรณีศึกษา สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี
Publisher
Issued Date
2011
Issued Date (B.E.)
2554
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
11, 262 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
นันทวรรณ รัตติวัธน์ (2011). การขัดเกลาทางสังคมของเด็กวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์ กรณีศึกษา สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/972.
Title
การขัดเกลาทางสังคมของเด็กวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์ กรณีศึกษา สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี
Alternative Title(s)
An approach and measures for teenage's socialization : a case study in a Rajvithi Home for Girls Organization
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาอยู่ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะ และวิธีการขัดเกลาซึ้งประกอบด้วยด้านจิตใจสติปัญญาและพฤติกรรมของเด็กวัยรุ่นในสถาน สงเคราะห์เด็กหญิงบานราชวิถี 2) เพื่อศึกษาผลจากการขัดเกลาทางด้านจิตใจสติปัญญาและ พฤติกรรมของเด็กวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบานราชวิถี 3) เพื่อให้แนวทางข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงการขัดเกลาทางด้านจิตใจสติปัญญาและพฤติกรรมสำหรับเด็กวัยรุ่นในสถาน สงเคราะห์เพื่อไปสัการะเพิ่มประสทธิผลของสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี การศึกษาครั้งนี้นอกจากจะอาศัยการค้นคว้าเอกสารทางวิชาการแล้วยังอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยโดยการ ประยุกต์ใช้เทคนิควิธีวิจัยแบบสังเกต (Observation) กันกับเทคนิควิธีวิจัยการสัมภาษณ์ แบบลึก (In-Depth Interview) และเทคนิควิธีวิจัยแบบสนทนากลุ่ม (Focus Group Interview) ผู้ให้ข้อมลสำคัญกลุ่มต่างๆอาทิกลุ่มเด็กหญิงวัยรุ่นที่ได้รับการอุปการะเลยงดในสถาน สงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถีปกครองสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถีรวมถึงเจ้าหน้าที่แม่บ้านประจำบ้านพักของเด็กและบุคลากรครูฝ่ายส่งเสริมการศึกษาของสถานสงเคราะห์ เด็กหญิงบ้านราชวิถีที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสิ้น 31 ท่านและสำหรับข้อมูลที่ได้รับจะนำมาสู่การ วิเคราะห์ผลดวยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อประกอบการศึกษาในครั้งนี้ ผลจากการศึกษาพบสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถีแห่งนี้มีลักษณะการอบรม เลยงดเด็กวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์แบบผสมผสานและมีการขัดเกลาทางด้านจิตใจทางวิธีการ ถ่ายทอดโดยตรงและโดยอ้อมที่ผ่านการสังเกตแบบอย่างที่ดีจากแม่บ้านเปรียบเสมือนมารดา ทดแทนและครูอาจารย์ที่ใกล้ชิดคุณธรรมตามแนววิถีพุทธพบว่าเด็กวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์ ได้ผ่านการขัดเกลาทางด้านจิตใจมาประกอบด้วยคุณธรรมด้านความอ้อนน้อมถ่อมตนและการ มีสัมมาคารวะคุณธรรมด้านความกตัญญูกตเวทีคุณธรรมด้านการประหยัดและอดออมด้าน ความมเมตตากรุณาและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และด้านการให้อภัยเป็นต้น ส่วนลักษณะและวิธีการขัดเกลาทางด้านสติปัญญาให้กับเด็กวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์แห่งนี้นั้พบว่าสถานสงเคราะห์แห่งนี้ ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมเพื่อการประกอบอาชีพในอนาคตของเด็กด้วยการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กที่รับการสงเคราะห์ทุกคนได้รับสิทธและความเสมอภาคใน โอกาสทจะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานและพัฒนาอาชีพตามความสามารถและความถนัดของ ตนเองในเรื่องของลักษณะและวิธีการขัดเกลาทางด้านพฤติกรรมให้กับเด็กวัยรุ่นในสถาน สงเคราะห์แห่งนี้พบว่าแม่บ้านประจำบ้านพักของเด็กแต่ละคนรวมถึงบุคลากรครูในสถาน สงเคราะห์ต่างก็มีการถ่ายทอดกฎกติกาและระเบียบของการอยู่ร่วมกนในสถานสงเคราะห์ทั้ง โดยทางตรงและโดยทางอ้อมด้วยการเป็นแบบอย่างของพฤติกรรมที่ดีเพื่อให้เกิดพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมตามที่สังคมมุ่งหวัง ผลจากการขัดเกลาทางด้านจิตใจของเด็กวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์แห่งนี้พบว่าเด็ก วัยรุ่นมีภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจโดยมีสุขภาพทางอารมณ์ที่ดีขึ้นสามารถช่วยเหลือและฟื้นฟู สภาพจิตใจของตนเองได้เป็นอย่างดีและยอมรบในประโยชน์ของการปฏิบัตินตามแนวพุทธ ศาสนาส่วนผลจากการขัดเกลาทางด้านสติปัญญาของเด็กวัยรุ่นนี้พบว่าวิชาความรู้และทักษะ วิชาชีพที่ตนได้รับจากสถานสงเคราะห์สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อช่วยเหลือตนเองได้ใน อนาคตและบางคนกสามารถศึกษาต่อในระดบที่สูงขึ้นพร้อมกับมีอาชีพการงานที่มั่นคงส่วนผล จากการขัดเกลาทางด้านพฤติกรรมของเด็กวัยรุ่นนี้พบว่าเด็กวัยรุ่นรู้จักระเบียบวินัยและกฎ กติกาตลอดจนรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ของตนอย่างเหมาะสมเพื่อการอยู่ร่วมกันในสถาน สงเคราะห์อันเป็นพื้นฐานที่ดีสําหรบการออกไปใช้ชีวิตในสังคมภายนอก แนวทางข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ควรให้มีการแก้ปัญหาที่จุดเริ่มต้นเพราะ เป็นการแก้ปัญหาแบบยั่งยืนงจะให้ผลที่ดีกว่าการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุคือการสร้างความ เข้มแข็งให้กับสถาบนครอบครัวการวางแผนครอบครัวพร้อมกับการให้ความรู้ในการอบรม เลี้ยงดูบุตรในแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมกับวัฒนธรรมและพ่อแม่จะต้องเป็นแบบอยางที่ดี สําหรับบุตรด้วย
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รอ.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011