dc.contributor.advisor | อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา | th |
dc.contributor.author | สมาน รังสิโยกฤษฏ์ | th |
dc.date.accessioned | 2014-05-05T09:16:55Z | |
dc.date.available | 2014-05-05T09:16:55Z | |
dc.date.issued | 1967 | th |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/992 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2510. | th |
dc.description.abstract | สาระสำคัญของวิทยานิพนธ์เรื่องนี้เพื่อชี้ให้เห็นปัญหา ลักษณะ และมูลเหตุของปัญหาอันเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่ามีอยู่อย่างไรบ้าง มีมูลเหตุมาจากอะไร และปัญหาแต่ละปัญหานั้นมีผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ และเสถียรภาพของภูมิภาคส่วนนี้อย่างไรบ้าง เพื่อจะนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดวิธีการเข้าถึงประชาชนที่เหมาะสมที่สุด และสอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มากที่สุด | th |
dc.description.abstract | จากการศึกษาปรากฏว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหาพิเศษแตกต่างกับจังหวัดอื่น ๆ หลายด้านคือ ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการและเจ้าหน้าที่กับประชาชน ปัญหาทางเศรษฐกิจอันได้แก่เรื่องการหาอาชีพใหม่และส่งเสริมอาชีพให้ถูกต้องตามหลักวิชา ปัญหาทางสังคมอันได้แก่เรื่องศาสนา ขนบประเพณีและวัฒนธรรม ตลอดจนการศึกษา ปัญหาทางการเมืองอันได้แก่ ปัญหาเรื่องเชื้อชาติ ปัญหาการแทรกซึมบ่อนทำลายของพวกคอมมิวนิสต์ ปัญหาเหล่านี้รัฐบาลได้พยายามแก้ไขปรับปรุงโดยจัดให้มีกิจกรรมเพื่อการเข้าถึงประชาชนในจังหวัดเหล่านี้ แต่วิธีการเข้าถึงประชาชนก็ยังไม่เหมาะสมและได้ผลดี ผู้เขียนได้เสนอให้มีการเลือกเฟ้นข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมไปประจำในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้ววางมาตรฐานการปฏิบัติของข้าราชการและเจ้าหน้าที่เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักศาสนา ขนบประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทยอิสลาม นอกจากนี้ผู้เขียนได้เสนอข้อคิดเห็นบางประการที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการปกครอง ซึ่งได้แก่การส่งเสริมให้ชาวไทยอิสลามที่มีภูมิลำเนาภาคใต้ และรับราชการอยู่ในกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ ให้กลับไปรับราชการในท้องที่จังหวัดเหล่านั้น และส่งเสริมให้ข้าราชการในจังหวัดภาคใต้ทั่วไปเข้าใจในหลักศาสนาอิสลามพอสมควร เพื่อจะได้อาศัยลัทธิศาสนาเป็นอุปกรณ์ช่วยในการปกครองได้เป็นอย่างดี ควรให้ความเคารพ และเข้าถึงผู้นำทางศาสนาอิสลาม ควรมีมาตรฐานในการสะกดชื่อให้ถูกต้อง การเรียกชื่อก็เช่นกัน ไม่ควรเรียกว่าแขก หรือชาวไทยอิสลาม เพราะจะทำให้เกิดความรู้สึกแบ่งแยก ควรจะได้มีวิธีการที่จะให้ชาวไทยอิสลามมีความรู้สึกว่าตนเป็นคนไทย. | th |
dc.format.extent | 173 หน้า. | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.subject.lcc | JS 7415 ส16ต | th |
dc.subject.other | ไทย (ภาคใต้) -- ประชากร | th |
dc.title | การเข้าถึงประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้\ | th |
dc.title.alternative | Government approach program for the southern border provinces | th |
dc.type | Text | th |
dcterms.accessRights | สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มเฉพาะ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เท่านั้น | th |
dc.rights.holder | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
mods.genre | Thesis | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | en |
thesis.degree.name | พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต | en |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | th |
thesis.degree.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ | th |