การวิเคราะห์การดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ภายใต้บริบทของประเทศไทย กรณีศึกษา: จังหวัดปทุมธานี 

dc.contributor.advisorจุฑารัตน์ ชมพันธุ์th
dc.contributor.authorศศิธร ศรีสุรักษ์th
dc.date.accessioned2019-04-25T08:36:55Z
dc.date.available2019-04-25T08:36:55Z
dc.date.issued2018th
dc.date.issuedBE2561th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561th
dc.description.abstract การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ภายใต้บริบทของประเทศไทย รวมทั้งการดำเนินงานด้านการจัดการขยะตามหลักการ 3Rs กรณีศึกษา จังหวัดปทุมธานีที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดังกล่าว เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค และนำเสนอข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs ดังกล่าว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ภายใต้บริบทของประเทศไทย รวมทั้งการดำเนินงานด้านการจัดการขยะตามหลักการ 3Rs ตามนโยบายและแผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และศึกษาเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง โดยได้ประยุกต์หลักการของดัชนีชี้วัดความสำเร็จแบบสมดุล (Balanced Scorecard) ซึ่งมีการพิจารณาประเด็นหลัก 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านประสิทธิผล ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการบริหารจัดการ และด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ประกอบกับการวิเคราะห์จากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก (SWOT Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ในด้านประสิทธิผล การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 และการดำเนินงานด้านการจัดการขยะตามหลักการ 3Rs ของประเทศไทย ทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัดประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง จากข้อมูลขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ในภาพรวมของประเทศที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการพัฒนาและขยายผล ให้ครอบคลุมการดำเนินงานในแต่ละพื้นที่ให้มากขึ้นในด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เทคนิคการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐเป็นการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในลักษณะการประชุมหารือร่วมกันผ่านผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการของภาครัฐ ซึ่งมีความครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในบางพื้นที่หรือบางชุมชนเท่านั้น สำหรับภาคเอกชนที่มีการดำเนินโครงการคัดแยกขยะที่ต้นทางเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ ไม่ได้เกิดจากการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการของภาครัฐโดยตรง แต่เป็นการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหารและได้รับความร่วมมือจากพนักงานเป็นอย่างดี เนื่องจากมีมาตรการในการควบคุมกำกับที่ดี ในด้านการบริหารจัดการ ประเทศไทยมีนโยบายบริหารจัดการขยะที่วางอยู่บนแนวคิด 3R นำไปสู่โครงการส่งเสริมการลดและคัดแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในระดับจังหวัดและท้องถิ่น โดยจังหวัดปทุมธานีให้ความสำคัญกับการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางมีการจัดตั้งโครงการธนาคารขยะ รวมทั้งโครงการส่งเสริมการจัดการขยะในชุมชน ส่วนราชการ และสถานศึกษา ในด้านการเรียนรู้และการพัฒนา พบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการพัฒนาความรู้ให้กับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานในระดับจังหวัดหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งในชุมชนมีการเรียนรู้และพัฒนาในการจัดการขยะตามหลักการ 3Rs แต่การเรียนรู้ไม่ได้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดและคัดแยกขยะที่ต้นทางตั้งแต่ครัวเรือน ส่งผลให้ในภาพรวมของประเทศยังไม่ประสบความสำเร็จในการจัดการขยะตามหลักการ 3Rs เท่าที่ควร ซึ่งปัจจัยภายในที่สนับสนุนให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ การแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และมีการให้แก่ความรู้ประชาชนและบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ปัจจัยภายนอก คือ การมีกฎหมายหรือกฎระเบียบที่บังคับใช้โดยตรง และการรายงานผลการดำเนินงานต่อองค์การสหประชาชาติส่งผลให้มีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ ภาครัฐควรกำหนดให้มีกฎหมายหรือกฎระเบียบบังคับใช้เกี่ยวกับการจัดการขยะตามหลักการ 3Rs โดยตรง และต้องมีการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน รวมทั้งควรพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะให้เป็นมาตฐานเดียวกันทั้งประเทศ และเป็นไปตามมาตรฐานสากลในส่วนของภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการควรมีการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมโดยลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่จำเป็นหรือบรรจุภัณฑ์ที่กำจัดยาก รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้บริโภคลดการใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ยากผ่านมาตรการทางธุรกิจต่าง ๆ และประชาชนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคและสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะที่ต้นทางตั้งแต่ระดับครัวเรือนเพื่อขยายผลสู่ระดับประเทศต่อไปth
dc.description.abstractThis study aims to study and analyze the implementation of the SDG 12, Target 12.5 under the Thailand context and the waste management through 3Rs, using the situation in Pathum Thani Province as a case study, in order to find out challenges and obstacles of the problem and to propose recommendations for the achievement of the SDG 12, Target 12.5. This study is a qualitative research approach, under which the data structure has been acquired from interviews of relevant stakeholders involving in the SDG 12, Target 12.5 based on the Thailand context and the waste management through 3Rs, being in line with the national plan and policy on the waste management. Besides, the non-participation observation method and the more research on relevant academic papers have been included, together with the application of the Balanced Scorecard technique was applied for the analysis Evaluation indicators were including Effectiveness, Stakeholders, Management and learning and development from the analysis of both internal and external factors, or the analysis of strength, weakness, opportunity and threat (SWOT Analysis). The study has shown that the application of the Balanced Scorecard through the area of effectiveness of the SDG 12, Target 12.5, and the waste management through 3Rs in Thailand, in both the national and the provincial levels, have been successful to a certain extent, as data have shown that more waste has been recycled as renewed and usable products. However, such the actions are recommended to be further expanded in each targeted area. Through the area of stakeholders, this research has found that the participation of stakeholders has been incomprehensive because only a group of representatives from relevant government agencies has held meetings to discuss plans to achieve the SDG 12, Target 12.5, and the waste management through 3Rs and only people who are stakeholders in some targeted areas or communities have been invited to participate in the government plans on the SDG 12, Target 12.5, and the waste management through 3Rs. On the other hand, the private sector has been found, not having directly participated in the government plans on the SDG 12, Target 12.5, but following the policy of their companies’ executives in launching their own waste recycling projects instead, backed by sound cooperation from their staff members and their companies’ practical regulatory measures. Through the management area, this study has found that Thailand has already implemented the policy on the waste management through 3Rs, under which a move on promoting the reduction and the separation of different types of waste for the recycling and reuse purpose of part of the wastes has been launched in the provincial and community levels. In the case of Pathum Thani, the province has realized to separate daily waste from upstream sources, established a provincial waste bank and campaigned on the proper waste management in local residential communities, government agencies and educational institutes. Through the learning and development from the analysis of both internal and external factors, this research has found operational personnel and other stakeholders of relevant agencies in the provincial and the community levels, including local administrative bodies, have had more development in the waste management through 3Rs, thanks to proper knowledge and information provided to them by the relevant agencies. However, this study revealed that the more development in terms of proper knowledge on the waste management through 3Rs has not yet resulted in the change of people’s behavior in the reduction and the separation of waste from such an upstream source as local households. This weak point has deferred the whole nation from becoming fully successful in the waste management through 3Rs. This research has shown that internal factors which should support the achievement of the SDG 12, Target 12.5 under the Thai context and the waste management through 3Rs include a systematic management style, a practical and concrete implementation of a set policy and a provision of proper knowledge and information to people and operational personnel who are stakeholders. For external factors, they include laws and regulations that could be enforced to directly support the achievement of the SDG 12, Target 12.5 under the Thai context and the waste management through 3Rs and updated reports submitted to the United Nations for regular monitoring and following up of developments. This paper recommends that the Thai government should promulgated and enforced laws and regulations which could directly support the waste management through 3Rs. While the government should promote and support integrated actions of the public and private sectors, as well as the general public towards the goal and developing a common standard nationwide on the data gathering of the amounts of waste in separate areas, the standard of which should comply with international standards. For the private sector, more social responsibility and accountability should be promoted and supported among business operators so that they would reduce unnecessary or hardly-decomposable packages or containers. Public campaigns should also be launched, including through business channels, to create awareness among consumers to reduce the use of hardly-decomposable materials and containers and to help separate their household waste as a change of their behaviors for better future from the upstream sources towardsa successful national outcome.           th
dc.format.extent267 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb204520th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4392th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectการจัดการขยะth
dc.subject.otherการพัฒนาที่ยั่งยืนth
dc.subject.otherขยะ -- การจัดการth
dc.subject.otherขยะ -- การนำกลับมาใช้ใหม่th
dc.titleการวิเคราะห์การดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ภายใต้บริบทของประเทศไทย กรณีศึกษา: จังหวัดปทุมธานี th
dc.title.alternativeAn analysis of an implementation according to sustainable development goals 12 target 12.5 under Thailand's context : a case study of Pathum Thanith
dc.typetext--thesis--master thesisen
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b204520.pdf
Size:
6.18 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections