แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของมัคคุเทศก์เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล

dc.contributor.advisorไพฑูรย์ มนต์พานทองth
dc.contributor.authorเจนนิสตรา สิริศรีเสริมวงศ์th
dc.date.accessioned2023-12-12T07:14:27Z
dc.date.available2023-12-12T07:14:27Z
dc.date.issued2022th
dc.date.issuedBE2565th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นการศึกษาเรื่องการพัฒนาสมรรถนะของมัคคุเทศก์เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล โดยมีวัตถุประสงค์ 5 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล 2) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล 3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสมรรถนะของมัคคุเทศก์ที่ส่งผลต่อประสบการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลชาวไทย 4) เพื่อประเมินสมรรถนะของมัคคุเทศก์นำเที่ยวนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลในปัจจุบัน และ 5) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของมัคคุเทศก์เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล โดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Approach) รวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยเดินทางท่องเที่ยวประเภทการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล จำนวน 300 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ และหาอิทธิพลของตัวแปร โดยใช้ ค่าสถิติ One-way ANOVA และค่าสถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เกิดในช่วงพ.ศ.2523-2540 Generation Y  เป็นพนักงาน/ปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่จบปริญญาตรี มีรายได้ 15,000 - 20,000 บาท ทำงานให้กับองค์กรในช่วงเวลา 1-5 ปี ในธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม (ยานยนต์/วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร/บรรจุภัณฑ์/กระดาษและวัสดุการพิมพ์/ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์) สถานภาพโสด สำหรับพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล พบว่า ส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสาร และค้นหาข้อมูลก่อนการเดินทางท่องเที่ยวผ่านช่องทางออนไลน์ (เว็บไซต์/ Facebook/Line) โดยต้องการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ส่วนใหญ่เคยเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลเพียง 1 ครั้ง ไม่มีส่วนร่วมในการวางแผนโปรแกรมและกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล ทั้งนี้ผู้จัดการเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกผู้เดินทางท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล ซึ่งบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อเป็นรางวัลทั้งหมด มีค่าใช้จ่ายส่วนตัวในการเดินทางท่องเที่ยวเฉลี่ยอยู่ที่ 1,000-3,000 บาท และ 3,001-5,000 บาท มีจำนวนผู้ร่วมเดินทางประมาณ 21-30 ท่าน และ 10-20 ท่าน ระยะเวลาในการเดินทางท่องเที่ยวที่ต้องการคือ 1-2 วันและ 3-4 วัน รวมถึงช่วงเวลาที่ต้องการในการเดินทางท่องเที่ยว คือ วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และช่วงวันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) สำหรับภาคที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวส่วนใหญ่ คือภาคใต้ และต้องการท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (ภูเขา/ทะเล/น้ำตก/บ่อน้ำแร่ ฯลฯ) รวมถึงกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่ต้องการคือ เที่ยวชมเมือง ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรม ในขณะที่ที่พักแรมที่ต้องการพักคือ รีสอร์ทและโรงแรม ส่วนพาหนะหลักที่ต้องการเดินทาง คือ รถบัส นอกจากนี้ยังต้องการมัคคุเทศก์ที่สนุกสนาน ร่าเริง เฮฮา สามารถสร้างความบันเทิงได้ตลอดการเดินทาง และช่องทางในการบอกต่อเรื่องราวและประสบการณ์การเดินทางจะแชร์ผ่านโซเชียลมีเดีย โดยลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีความแตกต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล สำหรับผลการศึกษาความสำคัญของสมรรถนะมัคคุเทศก์กับสมรรถนะมัคคุเทศก์ในปัจจุบัน พบว่า สมรรถนะด้านความรู้ ได้แก่ ความรู้และข้อมูลทั่วไป มีช่องว่างเกิดขึ้นมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ความรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย และความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยว สมรรถนะด้านทักษะ ได้แก่ ทักษะนันทนาการ มีช่องว่างเกิดขึ้นมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ทักษะความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการสร้างประสบการณ์ และสมรรถนะด้านคุณลักษณะ ได้แก่ จิตบริการ มีช่องว่างเกิดขึ้นมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง และมนุษยสัมพันธ์ดี สำหรับปัจจัยด้านสมรรถนะของมัคคุเทศก์ที่ส่งผลต่อประสบการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลชาวไทย พบว่า สมรรถนะด้านความรู้ ได้แก่ ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย และความรู้และข้อมูลทั่วไป สมรรถนะด้านทักษะ ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทักษะการนำเสนอ สื่อความหมาย และนักการขาย ทักษะนันทนาการ ทักษะวิชาชีพ ทักษะการใช้สื่อสังคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะการสร้างประสบการณ์ สมรรถนะด้านคุณลักษณะ ได้แก่ ความภาคภูมิใจในงาน การตรงต่อเวลา การมีมนุษยสัมพันธ์ดี และจริยธรรมและจรรยาบรรณ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสบการณ์การท่องเที่ยว โดยการศึกษาในครั้งนี้ได้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของมัคคุเทศก์เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ 1) การเสริมสร้างสมรรถนะของมัคคุเทศก์เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และ 2) การเสริมสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลth
dc.description.abstractThis thesis emphasis on study about Guidelines for Improving Tour Guides’ Competency to Create Tourist Experience to Thai tourists for Incentive Travel which has objective are 1) to study behavior and needs of Thai tourists for Incentive Travel. 2) to study travel characteristics and travel behavior of Thai tourists for incentive. 3) to study factors of tour guide competency that tourist experience to Thai tourists for incentive travel. 4) to study evaluate desired tour guide competency for Thai tourists for incentive travel in current. 5) to study propose Guidelines for Improving tour guides competency to create tourist experience to Thai tourists for incentive travel. Quantitative approach was used for this study. The quantitative data were collected, using questionnaires as a research tool from 300 Thai tourists in Bangkok who had traveled in the category of reward tourism. The data were analyzed by using descriptive statistics included frequency, percentage, mean and standard deviation and the inferential statistics for use in comparison and find the influence of variables which were One-way ANOVA and Multiple Regression Analysis. The results of demographic characteristics of Thai tourists for Incentive Travel revealed that the majority were females, born during 1980-1997 (Generation Y) Most of tourists graduated bachelor’s degree and worked as employee/worker. The majority earn 15,000 -20,000 baht/month. Most of tourists were single that work for the organization for a period of 1-5 years in the business of industrial products. (Automotive/Industrial Materials and Machinery/Packaging/Paper and Printing Materials/Petrochemicals and Chemicals). The study about Thai tourists for Incentive Travel behavior presented that the purpose of traveling for relaxation. Most of tourists were receive information and search for information before traveling through online platforms (website / Facebook / Line) by wanting to travel for recreation. The most Incentive Travel only 1 time and did not participate in the planning Travel program and activities. The company is responsible for Incentive Travel. The average expenditure for personal expenses was between 1,000 – 3,000 baht and 3,001-5,000 baht. There are tourists approximately 21-30 Thai tourists and 10-20 Thai tourists. The desired traveling period is 1-2 days and 3-4 days, including the desired time of travel is weekends and holidays. and during weekdays (Monday-Friday). Most sector that wants to travel mainly in the south and wants to travel to natural attractions (mountains/ sea/ waterfalls/ mineral springs, etc.), including the desired tourism activities. City tour, nature, history art and culture while the desired accommodation is Resorts and hotels. Main vehicle that wants to travel is a bus, it also needs a tour guide who is fun, cheerful, hilarious, able to entertain throughout the journey. And ways to tell stories and travel experiences are shared via social media. Different demographic characteristics affect the behavior and needs of Thai tourists for incentive travel. The results reveled that, importance of tour guide competency and current tour guide competency revealed that knowledge competencies. Most of the gaps are general knowledge and information, Knowledge of the assignment, and knowledge of the behavior and needs of tourists. Skill competencies such as recreational skills most of the gaps. inferior creative skills and experience building skills ,and the competency in characteristics, such as service mind, the gap occurred the most. next by Eager to learn and develop yourself and good human relations. As for the competency factors of tour guides that affect the tourism experience of Thai tourists for incentive, it was found that the knowledge competence was information technology knowledge. Knowledge of the assignment and general knowledge and information Skill competences include problem solving skills Presentation, interpretive and sales skills, recreational skills, professional skills, social media and information technology skills. and experience building skills Attribute competence includes pride in work. punctuality good human relations and ethics. There is a positive correlation with the travel experience. Finding of this study could be analyzed and transformed to be guidelines the efficiency of Improving tour guides competency to create tourist experience to Thai tourists for incentive travel which is divided into 2 aspects: 1) Strengthening the competence of tour guides to create tourist experience to Thai tourists for incentive travel and 2) enhancing tourism experiences for Thai tourists for incentive travel.th
dc.format.extent260 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb216620th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6702th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectสมรรถนะมัคคุเทศก์th
dc.subjectประสบการณ์การท่องเที่ยวth
dc.subjectการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลth
dc.subjecte-Thesisth
dc.subject.otherมัคคุเทศก์ -- ไทยth
dc.subject.otherสมรรถนะth
dc.subject.otherการท่องเที่ยวth
dc.titleแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของมัคคุเทศก์เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลth
dc.title.alternativeGuidelines for improving tour guides' competency to create tourists for incentive travelth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะการจัดการการท่องเที่ยวth
thesis.degree.disciplineการจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameการจัดการมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b216620.pdf
Size:
5.4 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections