แนวทางการพัฒนาองค์กรในการจัดเก็บภาษีอากรของประเทศไทย

dc.contributor.advisorฌานิทธิ์ สันตะพันธุ์th
dc.contributor.authorสัจจวัตน์ เรืองกาญจน์กุลth
dc.date.accessioned2023-12-12T07:17:18Z
dc.date.available2023-12-12T07:17:18Z
dc.date.issued2022th
dc.date.issuedBE2565th
dc.description.abstractองค์กรจัดเก็บภาษีส่วนกลางของไทย ประกอบด้วย กรมสรรพากร กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร ทั้งสามองค์กรดังกล่าวถือเป็นกลไกสำคัญในจัดเก็บเงินได้ให้แก่รัฐบาลเพื่อนำไปใช้ในการบริหารและพัฒนาประเทศให้บรรลุและเป็นไปตามบทบาทภารกิจของรัฐ แต่อย่างไรก็ดี จากการศึกษาปัญหาในการจัดเก็บภาษีทำให้ทราบว่าองค์กรจัดเก็บภาษีมีข้อจำกัดบางประการที่ทำให้การบริหารการจัดเก็บรายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายประมาณการในแต่ละปี กล่าวคือมีรายได้น้อยกว่าที่ตั้งเป้าหมายในการจัดเก็บไว้ โดยวัตถุประสงค์ในการศึกษานี้เพื่อศึกษาปัญหาและพัฒนารูปแบบองค์กรจัดเก็บภาษีที่เหมาะสมตามแนวคิดองค์กรจัดเก็บภาษีกึ่งอิสระ ที่นำไปสู่การบริหารการจัดเก็บภาษีที่มีความคล่องตัว และสามารถจัดเก็บภาษีให้กับรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากการศึกษา พบว่า รูปแบบ ลักษณะโครงสร้าง อำนาจหน้าที่และการบริหารองค์กรจัดเก็บภาษีในปัจจุบันซึ่งมีสถานะเป็นส่วนราชการอยู่ภายใต้กฎหมาย ระเบียบปฏิบัติที่เคร่งครัด มีสายการบังคับบัญชาที่ยาว ขาดความคล่องตัว และการดำเนินการจัดเก็บภาษีที่ทับซ้อนกันในหลายหน่วยงานทำให้เกิดต้นทุนในการบริหารจัดเก็บที่สูง เช่น อัตราค่าตอบแทนบุคลากรจำนวนมาก แต่กลับไม่จูงใจให้บุคลากรที่มีคุณภาพคงอยู่ เป็นต้น ซึ่งในอดีต ประเทศไทยมีการศึกษาแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรจัดเก็บภาษีรูปแบบใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เช่น การจัดตั้งทบวงภาษี การจัดตั้งสำนักงานจัดเก็บภาษีแห่งชาติ หรือการจัดตั้งองค์กรจัดเก็บภาษีกึ่งอิสระ แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จ ซึ่งทำให้จำนวนเงินภาษีที่จัดเก็บได้ไม่เพียงพอกับงบประมาณรายจ่ายในแต่ละปี และจากการศึกษารูปแบบองค์กรจัดเก็บภาษีของประเทศสิงคโปร์ มาเลเซียและญี่ปุ่น ที่มีการเปลี่ยนสภาพรูปแบบองค์กรจากความเป็นราชการดั้งเดิมมาเป็นองค์กรจัดเก็บภาษีกึ่งอิสระ ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีได้ดีขึ้น ดังนั้น เพื่อการกำหนดรูปแบบองค์กรที่เหมาะสมและเป็นไปได้ ผู้เขียนจึงได้วิเคราะห์ลักษณะเด่น ข้อจำกัดของรูปแบบองค์กรต่างๆ และแนวทางการพัฒนารูปแบบองค์กรจัดเก็บภาษีที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยพบว่าหากมีการพัฒนารูปแบบขององค์กรจัดเก็บภาษีจากการเป็นส่วนราชการภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มาเป็นรูปแบบองค์กรกึ่งอิสระ โดยการยุบรวมทั้งสามกรมภาษีเดิมมาอยู่ภายใต้องค์กรใหม่โดยการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งสำนักงานจัดเก็บภาษีแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....ที่มีลักษณะรูปแบบเหมือนองค์การมหาชน ซึ่งยังคงมีฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นเพียงหน่วยงานในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ก็จะสามารถแก้ปัญหาการบริหารงานองค์กรให้มีความคล่องตัว เชี่ยวชาญ ลดความซ้ำซ้อนและบูรณาการการจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นth
dc.description.abstractThailand's central tax collection organization consists of the Revenue Department, the Excise Department and the Customs Department. These three organizations are considered as important mechanisms for collecting money for the government to be used in the administration and development of the country to achieve and comply with the roles and missions of the state. However, from the study of tax collection problems, it is known that tax collection organizations have some limitations that prevent revenue collection management from meeting the projected goals each year. In other words, the revenue is less than the goal of storage. The purpose of this study was to study the problems and develop a suitable tax collection organization model based on the semi-independent tax collection organization concept. This leads to a more streamlined administration of tax collection and more efficient tax collection for the state. From the study, it was found that the form, structure, authority, and administration of the current tax collection organization had the status of a government agency under the law, strict protocols, long chains of command, and lack of flexibility. Overlapping tax collection operations in many departments causes high administrative costs, such as large personnel compensation rates, but does not motivate quality personnel to remain, etc. As a result, the amount of tax collected is insufficient for the annual expenditure budget. And from the study of the tax collection organization of Singapore, Malaysia and Japan, with their organizational transformation from a traditional bureaucracy to a semi-autonomous tax collection, have made it possible to solve the problem of better tax collection efficiency. In the past, Thailand has studied the concept of establishing a new tax collection organization to solve such problems, such as the establishment of a tax bureau, the establishment of a national tax collection office, or the establishment of a semi-independent tax collection organization but still unable to complete the process. Therefore, to determine the appropriate and feasible organizational model, the author therefore analyzes the advantages and disadvantages of various organizational styles and guidelines for the development of a tax collection organization that is suitable for Thailand. It was found that if the form of tax collection organization was developed from a government agency under the supervision of the Minister of Finance to a semi-autonomous organization, by dissolving all three former tax departments to be under a new organization by enacting the Act on the Establishment of the Tax Collection Office of Thailand BE .... that looks like a public organization which still has the status of a government agency that is only a supervisory agency of the Ministry of Finance. It will be able to solve the problem of organizational management with flexibility, expertise, reduce redundancy and integrate tax collection more efficiently. th
dc.format.extent324 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb216678th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6730th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectองค์กรภาษีกึ่งอิสระth
dc.subjectสำนักงานจัดเก็บภาษีแห่งประเทศไทยth
dc.subjecte-Thesisth
dc.subject.otherภาษีอากร -- ไทยth
dc.subject.otherการจัดเก็บภาษี -- ไทยth
dc.titleแนวทางการพัฒนาองค์กรในการจัดเก็บภาษีอากรของประเทศไทยth
dc.title.alternativeGuidelines for organizational development in taxation of Thailandth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b216678.pdf
Size:
2.96 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description: