ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งออกไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้ : ศึกษากรณีผลกระทบจากแผนปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ธรรมาภิบาลและการค้าของสหภาพยุโรป
Publisher
Issued Date
2018
Issued Date (B.E.)
2561
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
581 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b203243
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ลภัสรดา ปาณะสิทธิ์ (2018). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งออกไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้ : ศึกษากรณีผลกระทบจากแผนปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ธรรมาภิบาลและการค้าของสหภาพยุโรป. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6297.
Title
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งออกไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้ : ศึกษากรณีผลกระทบจากแผนปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ธรรมาภิบาลและการค้าของสหภาพยุโรป
Alternative Title(s)
Legal problems of exporting timber and timber products : a case study of the effects of the European Union's forest law enforcement, governance and trade (FLEGT) action plan
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค ตลอดจนผลกระทบจาก
การบังคับใช้แผนปฏิบัติการ EU FLEGT ต่ออุตสาหกรรมไม้และการส่งออกสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้
ของประเทศไทย 2. ศึกษากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ แนวคิด และทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการ
ป่าไม้ และอุตสาหกรรมการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ของไทย 3. เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฏี และ
หลักการสําคัญของแผนปฏิบัติการ EU FLEGT รวมถึงกระบวนการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ
การทําไม้ตามข้อตกลง FLEGT VPA ของประเทศอินโดนีเซียในฐานะที่เป็นประเทศแรกในภูมิภาค
อาเซียนที่ได้รับใบอนุญาต FLEGT และเป็นคู่แข่งทางการค้าไม้ที่สําคัญของไทย 4. เพื่อพิจารณา
แนวทางการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการป่าไม้ และป่าไม้เชิงเศรษฐกิจให้ทันสมัย และ
สอดคล้องกับหลักการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนซึ่งเป็นหลักการสําคัญของ FLEGT
วิธีการศึกษาวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสารวิชาการเป็นหลัก (Documentary Research) โดยทําการศึกษา ค้นคว้า รวบรวม ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูลอันเป็นข้อมูลปฐมภูมิต่าง ๆ อันได้แก่ บทบัญญัติของกฎหมายไทย และต่างประเทศ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ การจัดสรร และการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์บนที่ดิน และหลักสากลในการจัดการป่าไม้ทางเศรษฐกิจ ตําราทาง นิติศาสตร์ บทความ วิทยานิพนธ์ ข้อมูลจากเวบไซท์ทั้งในและต่างประเทศ โดยนําข้อมูลที่ได้มา วิเคราะห์เปรียบเทียบกับแผนปฏิบัติการ EU FLEGT และการปรับปรุงพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องของ อินโดนีเซียเพื่อประกอบการจัดทําข้อเสนอแนะที่เหมาะสมกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมไทย
ผลจากการศึกษาพบว่า จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกส่งผลให้นานาชาติ ต้องหันมาให้ความสนใจในประเด็นปัญหาการทําไม้เถื่อน อันเป็นสาเหตุสําคัญประการหนึ่งของ การบุกรุกทําลายป่า นอกเหนือจากความต้องการที่อยู่อาศัยหรือการขยายเขตเมือง สหภาพยุโรปเป็น ตลาดทางการค้าระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีบทบาทสําคัญในเวทีการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้ง ยังเป็นภูมิภาคที่มีการนําเข้าไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้มากเป็นลําดับที่ 3 ของโลกรองจาก ประเทศจีนและญี่ปุ่น ซึ่งได้ตระหนักถึงความสําคัญของการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ของโลก เพื่อรักษาสมดุลทางนิเวศวิทยา จึงได้ทําการศึกษาถึงแนวทางในการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นมา โดยตลอด จนในที่สุดได้มีประกาศบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (Forest Law
Enforcement, Governance and Trade: FLEGT) ใน ปี ค.ศ.2005 (พ.ศ.2548) ซึ่งครอบคลุม สินค้าและผลิตภัณฑ์ไม้แทบทุกชนิดทั้งที่อยู่ในรูปของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป ซึ่งประกอบด้วย ไม้ฟืน ถ่านไม้ ผงไม้ แผ่นชิ้นไม้อัดเรียง ไม้อัดพลายวูด กระดาษและเยื่อกระดาษ เครื่องประกอบ อาคาร เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารหรือในครัว เฟอร์นิเจอร์ เตียงนอน รวมถึงภาคหัตถกรรม และสินค้า OTOP และเชิญชวนให้ประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เข้าร่วมในข้อตกลงการเป็น หุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (Voluntary Partnership Agreements: VPA) เพื่อร่วมกันหยุดยั้งปัญหา การทําไม้เถื่อน และส่งเสริมการนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการจัดการป่าไม้ทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และต่อมาได้ออกกฎระเบียบว่าด้วยการห้ามจําหน่ายไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ผิดกฎหมายในตลาด สหภาพยุโรป (EU Timber Regulation: EUTR) ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการหนึ่งของ FLEGT เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.2013 (พ.ศ.2556) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค สร้าง จิตสํานึกในการอนุรักษ์ ลดละเลิกใช้สินค้าที่ได้มาจากการทําไม้เถื่อน โดยการกําหนดให้ผู้นําเข้าต้อง ทําระบบการตรวจทานเอกสาร (Due Diligence System: DDS) ส่งผลให้ผู้ส่งออกสินค้าไม้และ ผลิตภัณฑ์ไม้ต้องแนบเอกสารรับรองความถูกต้องตามกฎหมายของกระบวนการผลิตไปพร้อมกับ สินค้า มิฉะนั้นสินค้าจํานวนทั้งหมดจะถูกห้ามเข้าประเทศ และผู้นําเข้าจะต้องถูกดําเนินคดีซึ่งมีโทษ ทางอาญา
การประกาศบังคับใช้ FLEGT และระเบียบ EUTR ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิต สินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ของประเทศไทย เพราะทําให้ไม้สามารถส่งออกไปขายยังตลาดสหภาพยุโรป ได้โดยสะดวกเช่นในอดีต ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากมูลค่าการส่งออกประเภทสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ ไม้ของไทยลดลงอย่างมีนัยสําคัญ อีกทั้งกระทบถึงภาพรวมของสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทย เพราะเมื่อไม้สามารถส่งออกได้ สินค้าที่ผลิตขึ้นขายได้เพียงภายในประเทศ ทําให้ไม้ได้ราคาเท่าที่ควร ทุกภาคส่วนในกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้ปลูกไม้ แรงงาน โรงงานแปรรูปไม้ อุตสาหกรรมการขนส่ง จึงได้รับผลกระทบอย่างถ้วนทั่ว อันเป็นสาเหตุอีกประการของปัญหาด้าน เศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน
ดังนั้น ประเทศไทยในฐานะหนึ่งในประเทศที่ผลิตและส่งออกสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ จึงได้ เปิดการเจรจาข้อตกลง VPA กับสหภาพยุโรปและมีพันธกิจที่ต้องทําการปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย ระเบียบข้อบังคับและระบบการรับรองความถูกต้องตามกฎหมายของอุปทานไม่ให้สอดคล้องกับ มาตรการ FLEGT เพื่อให้ได้รับใบอนุญาต FLEGT เฉกเช่นเดียวกับประเทศอินโดนีเซียที่ได้รับ ใบอนุญาต FLEGT เป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.2016 (พ.ศ.2559) ส่งผลให้สินค้าที่ได้รับใบอนุญาต FLEGT ได้รับยกเว้นไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการ DDS จากความสําเร็จ ของประเทศอินโดนีเซียในการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับโดยการพัฒนาระบบประกันความ ถูกต้องตามกฎหมายของไม้ ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทํา ไม้ รวมทั้งภาคประชาสังคม และภาครัฐส่งผลให้ประเทศอินโดนีเซียประสบความสําเร็จอย่างรวดเร็ว ซึ่งสภาพปัญหาที่เกี่ยวกับด้านการป่าไม้ และการทําไม้ของประเทศอินโดนีเซียไม้เแตกต่างจากปัญหาที่ เกิดขึ้นในประเทศไทย ดังนั้น จึงควรนําประสบการณของประเทศอินโดนีเซียมาประกอบการพิจารณา แนวทางการดําเนินการเพื่อให้ได้รับใบอนุญาต FLEGT ให้ได้เร็วที่สุด เพื่อสงเสริมศักยภาพของ
อุตสาหกรรมไม้และการส่งออกสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ไทย รวมทั้งกระตุ้นมูลค่าการส่งออก และ ฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของประเทศ
ผลจากการศึกษา ผู้ศึกษาพบว่ารัฐบาลควรปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติ ป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ในประเด็นการกําหนดประเภทไม้หวงห้าม รวมทั้งประกาศของคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 และฉบับที่ 31/2559 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วย ป่าไม้ โดยควรยกเลิกการกําหนดประเภทไม้หวงห้ามแต่ควรสนับสนุนส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกให้ มากขึ้นเพื่อให้เป็นพืชเศรษฐกิจเพื่อการส่งออกอันสอดคล้องงกับสภาพภูมิประเทศของไทย และต้อง ปรับปรุงวิธีการจัดการป่าไม้เชิงเศรษฐกิจ ตามพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ.2535 และที่ปรับปรุงแก้ไข ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2558 ให้มีมาตรการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในเรื่องการส่งเสริมการปลูกสวนป่า อีกทั้งควรปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการที่ดินในประเทศไทยให้มีความสอดคล้องกับความต้องการ ใช้ที่ดินเพื่อสนองรับกับการพัฒนาประเทศในอนาคต ทั้งนี้ผู้ศึกษาเสนอร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมการนําเข้า แลเะส่งออกไม้ผลิตภัณฑ์ไม ไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ..เพื่อ กําหนดให้มีองค์กรที่มีอํานาจและหน้าที่ในการตรวจสอบ พิสูจน์สถานะ และรับรองความชอบด้วย กฎหมายของที่ดินให้สอดคล้องกับมาตรการที่กําหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ EU FLEGT เพื่อให้ความ เชื่อมั่นต่อตลาดผู้นําเข้าว่าไทยเป็นตระหนักถึงความสําคัญของการจัดการอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ในการเพิ่มโอกาสทางการค้าและการส่งออกของไทยในตลาดโลกต่อไปในระหว่างที่ การพิสูจน์กรรมสิทธิ์บนที่ดินพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนผู็ครอบครองยังไม้แล้วเสร็จ
วิธีการศึกษาวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสารวิชาการเป็นหลัก (Documentary Research) โดยทําการศึกษา ค้นคว้า รวบรวม ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูลอันเป็นข้อมูลปฐมภูมิต่าง ๆ อันได้แก่ บทบัญญัติของกฎหมายไทย และต่างประเทศ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ การจัดสรร และการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์บนที่ดิน และหลักสากลในการจัดการป่าไม้ทางเศรษฐกิจ ตําราทาง นิติศาสตร์ บทความ วิทยานิพนธ์ ข้อมูลจากเวบไซท์ทั้งในและต่างประเทศ โดยนําข้อมูลที่ได้มา วิเคราะห์เปรียบเทียบกับแผนปฏิบัติการ EU FLEGT และการปรับปรุงพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องของ อินโดนีเซียเพื่อประกอบการจัดทําข้อเสนอแนะที่เหมาะสมกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมไทย
ผลจากการศึกษาพบว่า จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกส่งผลให้นานาชาติ ต้องหันมาให้ความสนใจในประเด็นปัญหาการทําไม้เถื่อน อันเป็นสาเหตุสําคัญประการหนึ่งของ การบุกรุกทําลายป่า นอกเหนือจากความต้องการที่อยู่อาศัยหรือการขยายเขตเมือง สหภาพยุโรปเป็น ตลาดทางการค้าระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีบทบาทสําคัญในเวทีการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้ง ยังเป็นภูมิภาคที่มีการนําเข้าไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้มากเป็นลําดับที่ 3 ของโลกรองจาก ประเทศจีนและญี่ปุ่น ซึ่งได้ตระหนักถึงความสําคัญของการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ของโลก เพื่อรักษาสมดุลทางนิเวศวิทยา จึงได้ทําการศึกษาถึงแนวทางในการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นมา โดยตลอด จนในที่สุดได้มีประกาศบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (Forest Law
Enforcement, Governance and Trade: FLEGT) ใน ปี ค.ศ.2005 (พ.ศ.2548) ซึ่งครอบคลุม สินค้าและผลิตภัณฑ์ไม้แทบทุกชนิดทั้งที่อยู่ในรูปของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป ซึ่งประกอบด้วย ไม้ฟืน ถ่านไม้ ผงไม้ แผ่นชิ้นไม้อัดเรียง ไม้อัดพลายวูด กระดาษและเยื่อกระดาษ เครื่องประกอบ อาคาร เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารหรือในครัว เฟอร์นิเจอร์ เตียงนอน รวมถึงภาคหัตถกรรม และสินค้า OTOP และเชิญชวนให้ประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เข้าร่วมในข้อตกลงการเป็น หุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (Voluntary Partnership Agreements: VPA) เพื่อร่วมกันหยุดยั้งปัญหา การทําไม้เถื่อน และส่งเสริมการนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการจัดการป่าไม้ทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และต่อมาได้ออกกฎระเบียบว่าด้วยการห้ามจําหน่ายไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ผิดกฎหมายในตลาด สหภาพยุโรป (EU Timber Regulation: EUTR) ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการหนึ่งของ FLEGT เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.2013 (พ.ศ.2556) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค สร้าง จิตสํานึกในการอนุรักษ์ ลดละเลิกใช้สินค้าที่ได้มาจากการทําไม้เถื่อน โดยการกําหนดให้ผู้นําเข้าต้อง ทําระบบการตรวจทานเอกสาร (Due Diligence System: DDS) ส่งผลให้ผู้ส่งออกสินค้าไม้และ ผลิตภัณฑ์ไม้ต้องแนบเอกสารรับรองความถูกต้องตามกฎหมายของกระบวนการผลิตไปพร้อมกับ สินค้า มิฉะนั้นสินค้าจํานวนทั้งหมดจะถูกห้ามเข้าประเทศ และผู้นําเข้าจะต้องถูกดําเนินคดีซึ่งมีโทษ ทางอาญา
การประกาศบังคับใช้ FLEGT และระเบียบ EUTR ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิต สินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ของประเทศไทย เพราะทําให้ไม้สามารถส่งออกไปขายยังตลาดสหภาพยุโรป ได้โดยสะดวกเช่นในอดีต ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากมูลค่าการส่งออกประเภทสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ ไม้ของไทยลดลงอย่างมีนัยสําคัญ อีกทั้งกระทบถึงภาพรวมของสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทย เพราะเมื่อไม้สามารถส่งออกได้ สินค้าที่ผลิตขึ้นขายได้เพียงภายในประเทศ ทําให้ไม้ได้ราคาเท่าที่ควร ทุกภาคส่วนในกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้ปลูกไม้ แรงงาน โรงงานแปรรูปไม้ อุตสาหกรรมการขนส่ง จึงได้รับผลกระทบอย่างถ้วนทั่ว อันเป็นสาเหตุอีกประการของปัญหาด้าน เศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน
ดังนั้น ประเทศไทยในฐานะหนึ่งในประเทศที่ผลิตและส่งออกสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ จึงได้ เปิดการเจรจาข้อตกลง VPA กับสหภาพยุโรปและมีพันธกิจที่ต้องทําการปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย ระเบียบข้อบังคับและระบบการรับรองความถูกต้องตามกฎหมายของอุปทานไม่ให้สอดคล้องกับ มาตรการ FLEGT เพื่อให้ได้รับใบอนุญาต FLEGT เฉกเช่นเดียวกับประเทศอินโดนีเซียที่ได้รับ ใบอนุญาต FLEGT เป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.2016 (พ.ศ.2559) ส่งผลให้สินค้าที่ได้รับใบอนุญาต FLEGT ได้รับยกเว้นไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการ DDS จากความสําเร็จ ของประเทศอินโดนีเซียในการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับโดยการพัฒนาระบบประกันความ ถูกต้องตามกฎหมายของไม้ ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทํา ไม้ รวมทั้งภาคประชาสังคม และภาครัฐส่งผลให้ประเทศอินโดนีเซียประสบความสําเร็จอย่างรวดเร็ว ซึ่งสภาพปัญหาที่เกี่ยวกับด้านการป่าไม้ และการทําไม้ของประเทศอินโดนีเซียไม้เแตกต่างจากปัญหาที่ เกิดขึ้นในประเทศไทย ดังนั้น จึงควรนําประสบการณของประเทศอินโดนีเซียมาประกอบการพิจารณา แนวทางการดําเนินการเพื่อให้ได้รับใบอนุญาต FLEGT ให้ได้เร็วที่สุด เพื่อสงเสริมศักยภาพของ
อุตสาหกรรมไม้และการส่งออกสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ไทย รวมทั้งกระตุ้นมูลค่าการส่งออก และ ฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของประเทศ
ผลจากการศึกษา ผู้ศึกษาพบว่ารัฐบาลควรปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติ ป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ในประเด็นการกําหนดประเภทไม้หวงห้าม รวมทั้งประกาศของคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 และฉบับที่ 31/2559 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วย ป่าไม้ โดยควรยกเลิกการกําหนดประเภทไม้หวงห้ามแต่ควรสนับสนุนส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกให้ มากขึ้นเพื่อให้เป็นพืชเศรษฐกิจเพื่อการส่งออกอันสอดคล้องงกับสภาพภูมิประเทศของไทย และต้อง ปรับปรุงวิธีการจัดการป่าไม้เชิงเศรษฐกิจ ตามพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ.2535 และที่ปรับปรุงแก้ไข ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2558 ให้มีมาตรการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในเรื่องการส่งเสริมการปลูกสวนป่า อีกทั้งควรปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการที่ดินในประเทศไทยให้มีความสอดคล้องกับความต้องการ ใช้ที่ดินเพื่อสนองรับกับการพัฒนาประเทศในอนาคต ทั้งนี้ผู้ศึกษาเสนอร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมการนําเข้า แลเะส่งออกไม้ผลิตภัณฑ์ไม ไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ..เพื่อ กําหนดให้มีองค์กรที่มีอํานาจและหน้าที่ในการตรวจสอบ พิสูจน์สถานะ และรับรองความชอบด้วย กฎหมายของที่ดินให้สอดคล้องกับมาตรการที่กําหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ EU FLEGT เพื่อให้ความ เชื่อมั่นต่อตลาดผู้นําเข้าว่าไทยเป็นตระหนักถึงความสําคัญของการจัดการอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ในการเพิ่มโอกาสทางการค้าและการส่งออกของไทยในตลาดโลกต่อไปในระหว่างที่ การพิสูจน์กรรมสิทธิ์บนที่ดินพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนผู็ครอบครองยังไม้แล้วเสร็จ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561