การศึกษาเพื่อกำหนดคำนิยามเมืองในประเทศไทย

dc.contributor.advisorจุรี วิจิตรวาทการ, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorโสภาคย์ ผาสุขนิรันต์th
dc.date.accessioned2014-05-05T09:15:38Z
dc.date.available2014-05-05T09:15:38Z
dc.date.issued1993th
dc.date.issuedBE2536th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ด. (การบริหารการพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.th
dc.description.abstractการกล่าวถึงเมืองในความหมายที่ใช้ทางวิชาการ ต้องมีคำจำกัดความที่ชัดเจนมากกว่าความหมายที่เข้าใจกันตามสามัญสำนึกทั่วไป การศึกษาเพื่อกำหนดคำนิยามเมืองจึงเป็นการเสนอวิธีจำกัดความหมายของคำว่าเมือง เพื่อให้เกิดความชัดเจนในระดับพื้นฐานของแนวคิด คำนิยามเมืองซึ่งเป็นที่ยอมรับจะป้องกันไม่ให้มีการแปลความหมายที่ไขว้เขว หรือทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน นอกจากนั้น คำนิยามเมืองยังใช้เป็นเงื่อนไขในการพิจารณาคุณสมบัติของพื้นที่ เพื่อให้สามารถระบุขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของเมือง สำหรับใช้เป็นหน่วยศึกษาวิเคราะห์ในประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับชุมชนเมือง ดังนั้น คำนิยามเมืองที่กำหนดขึ้นนี้จึงให้ความสำคัญแก่ปรากฏการณ์เมืองในฐานะที่เป็นหน่วยทางสังคมเศรษฐกิจของท้องที่ มากกว่าการมีฐานะเป็นหน่วยงานทางการปกครอง.th
dc.description.abstractประเทศไทยไม่มีคำนิยามหรือการกำหนดเขตชุมชนเมืองไว้เป็นมาตรฐาน และไม่มีการรวบรวมสถิติในเรื่องนี้ไว้อย่างเป็นทางการเหมือนในต่างประเทศที่มีความก้าวหน้า การปราศจากคำนิยามที่เป็นทางการทำให้การศึกษาเรื่องเกี่ยวกับเมืองในประเทศไทยมีลักษณะกระจัดกระจายในแนวคิดพื้นฐาน และส่วนใหญ่ต้องอาศัยเขตของหน่วยการปกครองท้องถิ่นในรูปของเทศบาลให้มีความหมายเป็นเขตชุมชนเมือง วิธีการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่ออาศัยตัวเลขสถิติที่รวบรวมไว้ในทะเบียนราษฎร์นำไปใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์ของเมือง ทั้ง ๆ ที่ได้ตระหนักถึงปัญหาในทางวิชาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากความไม่สอดคล้องกันระหว่างสภาพพื้นที่ของชุมชนเมืองกับอาณาเขตทางการปกครองของเทศบาลth
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ของเมืองในประเทศไทย เพื่อแสวงหาข้อสรุปเกี่ยวกับลักษณะของเมือง และนำไปเสนอเป็นคำนิยามเมืองที่มีเงื่อนไขรายละเอียดสอดคล้องกับลักษณะของเมืองในประเทศไทย.th
dc.description.abstractวิธีการศึกษาแยกออกเป็นสองแนวทาง ในแนวทางที่หนึ่ง มุ่งหาข้อสรุปเกี่ยวกับลักษณะของเมือง โดยอาศัยวิธีสังเกตการณ์จากพื้นที่ชุมชนเมืองในประเทศไทย การสังเกตการณ์มีแนวทฤษฎีมนุษย์นิเวศน์เป็นกรอบความคิดของการศึกษา โดยมุ่งสนใจตัวแปรสำคัญคือ ขนาดของประชากร การควบคุมสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ พัฒนาการทางเทคโนโลยี และพัฒนาการขององค์กรทางสังคม ในแนวทางที่สอง เป็นการค้นคว้าทางวรรณกรรมเกี่ยวกับหลักวิธีการกำหนดคำนิยามของเมือง รวมทั้งลักษณะของคำนิยามของเมืองในต่างประเทศ ผลลัพธ์ของการศึกษาจากทั้งสองแนวทางนำไปสู่การนำเสนอคำนิยามสำหรับประเทศไทย ที่เกิดจากการอาศัยข้อสรุปเกี่ยวกับลักษณะของเมืองเป็นบรรทัดฐานทางด้านเนื้อหาสาระ และอาศัยความรู้จากการค้นคว้าทางวรรณกรรมเกี่ยวกับการกำหนดคำนิยามของเมืองในต่างประเทศเป็นบรรทัดฐานทางด้านรูปแบบการนำเสนอเป็นคำนิยามth
dc.description.abstractจากการเก็บข้อมูลด้วยวิธีสังเกตการณ์ในพื้นที่ชุมชนเมืองรวม 4 แห่ง คือ ชุมชนเมืองนครนายก ชุมชนเมืองอุตรดิตถ์ ชุมชนเมืองเชียงใหม่ และชุมชนเมืองกระบี่ มีการบันทึกข้อมูลตามจุดสังเกตการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 207 จุด พร้อมกับการบันทึกเป็นภาพถ่ายไว้ทุกจุดสังเกตการณ์ จำนวนทั้งสิ้น 620 ภาพ ผลจากการศึกษาได้พบข้อสรุปเกี่ยวกับลักษณะสำคัญของเมืองในประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 12 ประการ แบ่งออกเป็น ลักษณะทางภูมิศาสตร์ 2 ประการ ลักษณะทางมนุษย์นิเวศน์ 6 ประการ และลักษณะทางด้านอื่นที่เป็นองค์ประกอบของเมืองซึ่งช่วยให้คำอธิบายมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นอีก 4 ประการ.th
dc.description.abstractลักษณะของเมืองในประเทศไทยที่สำคัญและพิจารณานำไปเป็นเงื่อนไขประกอบอยู่ในคำนิยามที่นำเสนอ ได้แก่ บริเวณตัวเมือง พื้นที่เขตเมือง ชุมนุมชนแบบเมือง และพื้นที่ว่าง.th
dc.description.abstractผลลัพธ์ของการศึกษาได้เสนอเป็นคำนิยามของเมืองสำหรับประเทศไทย ประกอบด้วย เงื่อนไขรายละเอียดทั้งสิ้น 4 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ เงื่อนไขด้านประชากร 1 ข้อ และเงื่อนไขด้านมนุษย์นิเวศน์ 3 ข้อth
dc.description.abstractแนวนโยบายที่เกิดขึ้นจากข้อสรุปของการศึกษาชี้ให้เห็นหนทางที่เป็นประโยชน์ต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่มีการพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนเมือง ข้อสรุปของวิทยานิพนธ์ทำให้เห็นความสำคัญของการประเมินระดับการพัฒนาของพื้นที่ในฐานะที่เป็นหน่วยทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ที่ไม่ผูกพันอยู่กับขอบเขตทางการปกครอง ผลลัพธ์ของการศึกษาช่วยนำไปสู่การทบทวนในแนวคิด และวิธีปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง และช่วยให้เกิดความชัดเจนขึ้นเป็นรูปธรรมสำหรับการพิจารณาปรับปรุงอาณาเขตของเทศบาลและสุขาภิบาลth
dc.format.extentxi, 198 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1993.6
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/914th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccHT 147 .T5 ส86th
dc.subject.otherเมือง -- ไทยth
dc.titleการศึกษาเพื่อกำหนดคำนิยามเมืองในประเทศไทยth
dc.title.alternativeA study of Thailand Urban Areas to determine an Urban Definition (to distinguish socio-economic from administrative criteria)th
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.disciplineการบริหารการพัฒนาth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-diss-b5908.pdf
Size:
11.45 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text