ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และแนวทางการพัฒนาการป้องกันพื้นที่ป่าไม้ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

dc.contributor.advisorฆริกา คันธาth
dc.contributor.authorสุนี ลำสาth
dc.date.accessioned2021-12-16T10:53:47Z
dc.date.available2021-12-16T10:53:47Z
dc.date.issued2016th
dc.date.issuedBE2559th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559th
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) กำหนดขอบเขตพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินใน อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง 2) วิเคราะห์ปัจจยัที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินในอุทยานแห่งชาติ น้ำตกห้วยยาง 3)ศึกษาข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจากประชาชนในพื้นที่ศึกษาและ 4) นำเสนอแนวทางการพัฒนาและการป้องกันการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งแบ่งวิธีการศึกษาออกเป็ น 2 ส่วน ได้แก่การศึกษาลักษณะข้อมูลด้านกายภาพ โดยการนำระบบภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใน การแปลตีความภาพถ่ายทางอากาศ ปีพ.ศ. 2537 และภาพถ่ายดาวเทียม ปีพ.ศ. 2558 ด้วยสายตา ร่วมกับการสำรวจข้อมูลภาคสนาม เพื่อตรวจสอบความถูกต้องในการแปลภาพ จากนั้น จึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และพื้นที่เสี่ยง สำหรับการศึกษาในส่วนที่สองนั้นเป็นการศึกษาข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยการเก็บแบบสอบถามจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่ศึกษาที่ได้ทำการขยายแนวเขต (Buffer) ออกไป 5 กิโลเมตร เมื่อรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์แบบสอบถามตามสถิติเรียบร้อยแล้ว จึงนำข้อมูลทั้งสองส่วนมา ศึกษาร่วมกัน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและการป้องกัน พื้นที่ที่เหมาะสม ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่ป่าไม้เปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม 9,780 ไร่ เปลี่ยนเป็น แหล่งน้ำ 688 ไร่ เปลี่ยนเป็นสิ่งปลูก สร้าง 94 ไร่และเปลี่ยนเป็นถนน 77 ไร่โดยพื้นที่ที่มีระยะห่างจากแหล่งน้ำ สิ่งปลูกสร้างและถนน น้อยจะมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินมากกว่าพื้นที่ที่อยู่ไกลออกไป และพื้นที่ที่มีความลาดชันต่า จะมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินมากกว่าพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง สำหรับผลการศึกษาข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมน้ัน พบว่า เจ้าหน้าที่ทุกรายรับทราบแนวเขต พื้นที่อุทยานแห่งชาติและมีความเห็นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนใช้ประโยชน์ที่ดินมากที่สุดคือ เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่ามีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับ พื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบทำให้ดูแลไม่ทั่วถึง ในขณะ ที่ประชาชนส่วนใหญ่น้ันรับทราบแนวเขตแค่บางช่วง และมีความเห็นว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนใช้ประโยชน์ที่ดินมากที่สุดคือแนวเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ยังไม่มีความชัดเจน เมื่อนำข้อมูล ทั้งหมดมาพิจารณาแล้ว สามารถเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและการป้องกัน ได้ดังนี้1) พัฒนา ศักยภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่ 2) แบ่งโซนพื้นที่ตามระดับความเสี่ยง 3) ตรวจสอบ พิสูจน์ สิทธิพื้นที่ถือครองของประชาชนรอบพื้นที่อุทยานฯ 4) พัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ 5) พัฒนาระบบการทำงานให้มีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใสตรวจสอบได้th
dc.format.extent134 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2016.63
dc.identifier.otherb194270th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5349th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางth
dc.subject.otherป่าไม้ -- การใช้ประโยชน์th
dc.subject.otherที่ดิน -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์th
dc.titleปัจจัยการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และแนวทางการพัฒนาการป้องกันพื้นที่ป่าไม้ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์th
dc.title.alternativeLand use change factors and forest protection guidelines in Huai Yang Waterfall National Park, Prachuap Khiri Khanth
dc.typetext--thesis--master thesisen
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b194270.pdf
Size:
4.8 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections