องค์กรเครือข่ายภาคประชาชนกับการมีส่วนร่วม กรณีศึกษาเปรียบเทียบองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหินลาด และกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหนองโน จังหวัดมหาสารคาม

dc.contributor.advisorทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์th
dc.contributor.authorศรัณย์ เจริญศิริth
dc.date.accessioned2016-03-09T08:52:40Z
dc.date.available2016-03-09T08:52:40Z
dc.date.issued2013th
dc.date.issuedBE2556th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556.th
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาและการรวมตัวเป็นองค์กรชาวบ้าน อนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหินลาด และกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหนองโน จังหวัดมหาสารคาม ศึกษาระดับและผลของการมีส่วนร่วมขององค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหินลาด และกลุ่มอนุรักษ์ ป่าชุมชนโคกหนองโน จังหวัดมหาสารคาม และศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่สนับสนุนการมีส่วนร่วม ขององค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหินลาด และกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหนองโน จังหวัด มหาสารคาม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research methodology) ใช้วิธีการ ศึกษาจากข้อมูลเอกสาร (documentary research) และศึกษาจากข้อมูลภาคสนาม (field research) โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) และการสังเกตการณ์ (observation) ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาที่มาและการรวมตัวขององค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหินลาด และ กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหนองโน พบว่า สาเหตุหลักของการรวมตัวของชาวบ้านทั้งสองพื้นที่ คือ การมีแกนนําในการริเริ่มจัดตั้ง การได้รับผลกระทบจากนโยบายหรือโครงการพัฒนาที่เข้ามา ดําเนินการในพื้นที่ป่าสาธารณะของชุมชนและได้สร้างความเสียหายให้กบพื้นที่ป่า ส่งผลกระทบ ต่อคนในชุมชนในเรื่องวิถีชีวิตและอาชีพ จุดมุ่งหมายของชาวบ้านที่ต้องการคัดค้านโครงการพัฒนา ดังกล่าว และบทบาทครั้งสําคัญที่ทําให้การรวมตัวขององค์กรมีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม เพราะชาวบ้านหันมาให้ความสําคัญกับการอนุรักษ์และเห็นคุณค่าของป่าสาธารณะมากขึ้น การมีส่วนร่วมของทั้งองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหินลาด และกลุ่มอนุรักษ์ป่า ชุมชนโคกหนองโน พบวาองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหินลาดมีลักษณะการมีส่วนร่วมอยู่ ในระดับการมีส่วนร่วมที่แท้จริง กล่าวคือ กิจกรรมต่างๆ ขององค์กรต้องการการมีส่วนร่วมสูง มี การกาหนดกิจกรรม การประชุมพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสมาชิกในระดับต่างๆ อย่างเป็นระบบ ลักษณะดังกล่าวทําให้ชาวบ้านรู้สึกร่วมกันว่าตนเองเป็นเจ้าของป่าชุมชนโคกหินลาดและมีส่วนร่วมกับกิจกรรมขององค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหินลาดอย่างชัดเจน ขณะที่กลุ่ม อนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหนองโน มีลักษณะของการมีส่วนร่วมในระดับการมีส่วนร่วมเพียงบางส่วน เนื่องจากภายในองค์กรไม่มีการกาหนดโครงสร้างบทบาทหน้าที่ชัดเจน ทําให้การดําเนินการกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มยังขาดการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชนอยางเต็มที่อาศัยการทํางานในระดับ หมู่บ้าน ซึ่งนําโดยผู้นําชุมชน ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นหลัก ในด้านผลของการมีส่วนร่วม พบว่า ทั้งองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหินลาด และกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหนองโน ประสบความสําเร็จในการดําเนินงานตามจุดมุ่งหมายหลักของการเข้ามารวมกลุ่ม ปัจจัยที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของทั้งสองพื้นที่ พบว่า ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ค่อนข้างจะมีลักษณะเหมือนกัน ทั้งด้านลักษณะโดยทั่วไปของชุมชน การได้รับผลกระทบจาก 1 นโยบาย/โครงการพัฒนา ในขณะที่ปัจจัยผลักดันจากบุคคลอื่น โดยเฉพาะผู้นําและสมาชิกของ องค์กร พบว่า องค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหินลาด จะมีความชัดเจนในเรื่องของตัวผู้นํา องค์กรมากกว่ากลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหนองโน ขณะที่ปัจจัยที่เป็นรางวัลตอบแทนมีลักษณะ สอดคล้องกัน คือ ความต้องการให้ป่าชุมชนกลับมามีความอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม เพื่อที่จะ สามารถประกอบอาชีพสร้างรายให้กับตนเองและครอบครัว ส่วนปัจจัยภายในตัวบุคคล พบว่า ชาวบ้านทั.งสองพื้นที่มีความคาดหวังในประโยชน์ส่วนรวม มีความต้องการจะเข้ามาช่วยกันแก้ไข้ ปัญหาร่วมกัน ข้อเสนอแนะของการศึกษาครั้งนี. คือ ควรเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมของสมาชิกใน ชุมชน ทั้งเพื่อการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาศักยภาพในด้านอื่นๆ ควรให้ความสําคัญกับการ กำหนดรูปแบบการทํางาน โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ และการบริหารจัดการองค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดทําแผนกิจกรรม การสนับสนุนช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก และการ เชื่อมโยงกบองค์กรเครือข่ายภาคประชาชนอื่นๆth
dc.format.extent13, 186 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb181850th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2952th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherองค์กรชุมชน -- ไทย -- มหาสารคาม -- เมืองth
dc.subject.otherองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหินลาด.th
dc.subject.otherกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหนองโน.th
dc.titleองค์กรเครือข่ายภาคประชาชนกับการมีส่วนร่วม กรณีศึกษาเปรียบเทียบองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหินลาด และกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกหนองโน จังหวัดมหาสารคามth
dc.title.alternativeLocal network organization with participation : case studies of Kok Hinlard Community Forest and Kok Nong No Community Forest, Maha Sarakham Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b181850.pdf
Size:
3.33 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections