การคุ้มครองผู้ทรงสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย : ศึกษาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 1999

dc.contributor.advisorวริยา ล้ำเลิศth
dc.contributor.authorภัทรพร เย็นบุตรth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:13:43Z
dc.date.available2014-05-05T09:13:43Z
dc.date.issued2013th
dc.date.issuedBE2556th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556th
dc.description.abstractเนื่องจากสถานการณ์ที่ประเทศไทยต้องประสบปัญหาจากบริษัทต่างชาติได้นำภูมิปัญญา การแพทย์แผนไทย ไปแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยการพัฒนาต่อยอดและขอรับสิทธิบัตร แต่ ไม่ได้แบ่งปันผลประโยชน์นั้นให้แก่จ้ำของภูมิปัญญาอย่างเป็นธรรม ซึ่งต่อมาได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 เพื่อให้ความคุ้มครองผู้ ทรงสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยโดยเฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตาม ภายหลังการประกาศใช้ กฎหมายดังกล่าวประเทศไทยก็ยังคงประสบปัญหาลักษณะเดิมอยู่ ทำให้ผู้เขียนสนใจศึกษาถึงแนว ทางการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัตินี้ ให้คุ้มครองผู้ทรงสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยได้ ครอบคลุมชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพราะผู้ทรงสิทธิเป็นกลไกสำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์และใช้ ประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์ได้อย่างยั่งยืนต่อไป ในการศึกษาวิจัยนี้ ได้อาศัยการเปรียบเทียบพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริม ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 กับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในประเทศ ของต่างประเทศที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์ แผนไทย พ.ศ. 2542 ได้แก่ ความตกลงทริปส์อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม มาตรการทางกฎหมายของประเทศอินเดีย และมาตรการทางกฎหมายของประเทศจีน และ กฎหมายภายในประเทศของไทยที่มีความสำคัญเกี่ยวข้อง ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติการประกอบโรค ศิลปะ พ.ศ. 2542 แล ะที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 และพร าชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายตามประเด็นปัญหาสี่ประการ คือ ปัญหาการจดทะเบียน เพื่อคุ้มครองผู้ทรงสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย อันเนื่องมาจากพระราชบัญญัติคุ้มครองและ ส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542.ได้ประกาศใช้มาเป็นระยะเวลานาน แต่ยังไม่มีผู้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้เลย ปัญหาการกำหนดบทนิยามที่เกี่ยวข้องกับ "วัตถุ แห่งสิทธิ" ให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองพื้นความรู้ด้านการแพทย์ซึ่งยังไม่ได้พัฒนาต่อยอดด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ รวมถึงกำหนดนิยาม ให้ครอบคลุมถึงการคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์พื้นเมืองของต่างประเทศ ปัญหาการกำหนดขอบเขต การคุ้มครองผู้ทรงสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์ ทั้งหลักและข้อยกเว้นของสิทธิแต่ผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งปัจเจกชน และผู้ทรงสิทธิชุมชน เพื่อให้ภูมิปัญญาการแพทย์สามารถใช้ประโยชน์ได้ อย่างยั่งยืนเป็นธรรมต่อสังคมและผู้ทรงสิทธิควบคู่กันไป ตลอดจนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม ข้ามชาติเพื่อประโยชน์ของมวลมนุษยชาติได้ต่อไป และปัญหาความคาบเกี่ยวในการคุ้มครองผู้ทรง สิทธิตามพระราชบัญญัตินี้กับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ เพื่อมิให้สิ่งที่ได้รับความคุ้มครอง ภายใต้กฎหมายอื่นและมีลักษณะใกล้เคียงกับการคุ้มครองผู้ทรงสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เกิดความลักลั่นอันอาจทำให้ผู้ทรงสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยไม่ได้ รับความเป็นธรรม เหล่านี้ได้นำไปสู่บทสรุปและข้อเสนอแนะของผู้เขียนเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 ตลอดจนการยกร่าง กฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้ทรงสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ให้สอดคล้อง กับสถานการณ์ปัจจุบันได้ต่อไปth
dc.format.extent187 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb180772th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/727th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.titleการคุ้มครองผู้ทรงสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย : ศึกษาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 1999th
dc.title.alternativeProtection of Thai Traditional Medicine Owner : according to the Protection and Promotion of Traditional Thai Medicine Wisdom Act BE 1999 (1999)th
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b180772.pdf
Size:
14.29 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections