แนวทางการพัฒนาการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ กรณีศึกษา: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ 

dc.contributor.advisorไพฑูรย์ มนต์พานทองth
dc.contributor.authorนภารัตน์ อยู่ประเสริฐth
dc.date.accessioned2020-06-09T02:44:15Z
dc.date.available2020-06-09T02:44:15Z
dc.date.issued2018th
dc.date.issuedBE2561th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ก.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาแนวทางการพัฒนาการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ กรณีศึกษา: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการการสื่อความหมายในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยว และความต้องการของนักท่องเที่ยวด้านการสื่อความหมายในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง 3) เพื่อประเมินศักยภาพการจัดการการสื่อความหมายในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และ 4) เพื่อประเมินความรู้ของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ควบคู่กัน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพมีประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการการสื่อความหมายในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง แบ่งออกเป็นตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน ตัวแทนชุมชน และนักท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ชาวไทยที่สนใจท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จำนวน 18 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้การวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณมีประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวยังอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ในปี พ.ศ. 2561 จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistic) ได้แก่ Chi-Square T-test และ One-way ANOVA ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาสถานการณ์การจัดการการสื่อความหมายในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง พบว่า อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งเป็นผู้ดูแลการจัดการการสื่อความหมายในแหล่งเป็นหลัก ภายใต้การดูแลและกฎระเบียบของกรมศิลปากร โดยมีสื่อบุคคลและเครื่องมือสื่อความหมายที่สำคัญและทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ได้แก่ ศูนย์บริการข้อมูล แผ่นพับ มัคคุเทศก์สื่อความหมาย ป้ายสื่อความหมาย สื่อ QR Code และแอปพลิเคชัน Buriram Magic ขณะที่ผลการศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวยังอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 - 30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างหรือพนักงานเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 25,000 บาทขึ้นไป และมีที่อยู่ปัจจุบันอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับพฤติกรรมการท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อท่องเที่ยวหรือพักผ่อนหย่อนใจ ได้รับข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวก่อนเดินทางจากคำชักชวนจากเพื่อน ญาติ หรือครอบครัว และสนใจเนื้อหาประวัติศาสตร์ผ่านการใช้แผ่นพับ ขณะที่มีความต้องการสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ เช่น แผ่นพับ โปสการ์ด คู่มือ และหนังสือแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว และต้องการรูปแบบสื่อที่ใช้ภาษาเข้าใจง่าย และมีความทันสมัยหรือใช้นวัตกรรมทางการสื่อสาร ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับผลการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล สำหรับผลการประเมินศักยภาพการจัดการการสื่อความหมายในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง พบว่า ศักยภาพด้านแหล่งสารหรือผู้ส่งสาร ด้านสาร ด้านช่องทางการสื่อความหมาย และด้านผู้รับสารอยู่ในระดับมาก ซึ่งการสัมภาษณ์มีประเด็นที่แตกต่างไป ได้แก่ ด้านแหล่งสารหรือผู้ส่งสารระบุถึงปริมาณของเจ้าหน้าที่หรือมัคคุเทศก์สื่อความหมายในอุทยานฯ ที่ไม่เพียงพอ การใช้ภาษาที่เป็นวิชาการมากเกินไปซึ่งยากต่อการทำความเข้าใจ และการที่มัคคุเทศก์สื่อความหมายจากภายนอกบางท่านไม่ลุ่มลึกในเรื่องราวของอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จึงใช้การพูดรวบรัดไม่น่าสนใจ สำหรับด้านสารมีประเด็นเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ศิลป์ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงคนทุกกลุ่มได้ ส่วนด้านช่องทางการสื่อความหมายมีประเด็นเครื่องมือสื่อความหมายที่มียังไม่เหมาะสมกับพื้นที่และไม่สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวเท่าที่ควร และด้านผู้รับสารที่นักท่องเที่ยวบางท่านขาดความรับผิดชอบต่อแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ขณะที่ผลการศึกษาประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และที่อยู่ปัจจุบันที่แตกต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับผลการศึกษาประชากรศาสตร์กับศักยภาพการจัดการการสื่อความหมาย โดยนักท่องเที่ยวที่มีอายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และที่อยู่ปัจจุบันที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อศักยภาพการจัดการการสื่อความหมายในด้านแหล่งสารหรือผู้ส่งสาร ด้านสาร ด้านช่องทางการสื่อความหมาย และด้านผู้รับสารที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ เมื่อประเมินความรู้ของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งสะท้อนให้เห็นถึงระดับความรู้ที่อยู่ในระดับน้อยที่สุด จากผลการศึกษาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงนำเสนอแนวทางการพัฒนาการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ กรณีศึกษา: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ออกเป็น 5 แนวทางสำคัญ คือ แนวทางที่ 1 การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการสื่อความหมายในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง แนวทางที่ 2 การจัดการเนื้อหาสำหรับการสื่อความหมายในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง แนวทางที่ 3 การพัฒนาสื่อบุคคลและเครื่องมือสื่อความหมายในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง แนวทางที่ 4 การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสื่อบุคคลและเครื่องมือสื่อความหมายที่มีในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และแนวทางที่ 5 การสร้างการรับรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งth
dc.description.abstractThis research aims to study "A Guideline of Tourism Interpretation Development in Tourism Historical Site: A Case Study of Phnom Rung Historical Park, Chaloem Phra Kiat District, Buriram Province". The objective of this research are 1) to study the context of interpretation management in Phnom Rung Historical Park, 2) to study the travel behavior and the tourists' needs for the interpretation management in Phnom Rung Historical Park, 3) to evaluate the potentials of interpretation management in Phnom Rung Historical Park, and 4) to evaluate the tourists' knowledge about the history of Phnom Rung Historical Park. The study used mixed research methodology. The qualitative data were collected by using semi-structure interview from 18 relevant interpretation management stakeholders which were public sectors, private sectors, local communities and Thai tourists; and analyzed by Thematic Analysis. Meanwhile, quantitative data were collected by using the questionaire from 400 Thai tourists who visited Phnom Rung Historical Park in the year 2018. The statistical and data were analyzed by using descriptive statistics included frequency, percentage, mean, and standard deviation; and inferential statistics which were Chi-Square, T-test, and One-way ANOVA. Regarding the data analysis, the results of the context of interpretation management in Phnom Rung Historical Park found that belonged to the principle of Fine Arts Department. There were tourist information center, brochures, tour guides, interpretive signs, QR Codes, and Buriram Magic application as communication channel. The results of the Thai tourists' demographic characteristics revealed that most Thai tourists who have visited Phnom Rung Historical Park are female, aged between 20-30 years old, holding a bachelor's degree, working as a private employee, earning more than 25,000 baht per month, and living in the northeastern region of Thailand. The study about Thai tourists behavior presented the purpose was traveling or relaxation. Most of them received travel information before traveling from relatives, friends, or family whereas used brochures for learning history. In terms of the needs for the interpretation management in Phnom Rung Historical Park were printing media including brochures, postcards, handbooks, and guidebooks which language to easily understanding and modern or innovative communication similar to the interview results. In addition, the potential of interpretation management in Phnom Rung Historical Park in aspects of source or sender, message, channel of interpretation, and receiver were at a high level. This could be considered different from the interview results which raised other issues, including, source or sender, the lack of officers or tour guides; the difficulty to understand academic language; and some outside tour guides lacking information about Phnom Rung Historical Park and making the information short and boring. In terms of the message, the information about art and history was difficult to understand for all groups of tourists. On the other hand, channel of interpretation were inappropriate to the area and to the tourists’ needs. Finally, from the interview results, there was a lack of responsibility of some tourists in historical tourist attractions regarding receiver aspect. Furthermore, Thai tourists who had different gender, age, education, occupation, average income per month, and address showed different opinions towards the travel behavior. Similary, Thai tourists who had different age, occupation, average income per month, and address showed different opinions towards the potential of interpretation management in aspects of source or sender, message, channel of interpretation, and receiver at a 0.05 level of significance. However, the knowledge evaluation of the history of Phnom Rung Historical Park were at a lowest level. According to the results, this research could be analyzed and transformed to be a guideline of tourism interpretation development in tourism historical site: a case study of Phnom Rung Historical Park, Chaloem Phra Kiat District, Buriram Province consist of 1) Collaboration of relevant interpretation management stakeholders for develop the interpretation in Phnom Rung Historical Park. 2) Content management for the interpretation in Phnom Rung Historical Park. 3) Development of tour guides and communication tools in Phnom Rung Historical Park. 4) Broadcasting about tour guides and communication tools in Phnom Rung Historical Park. and 5) Historical stories perceptive creation of Phnom Rung Historical Park.th
dc.format.extent726 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb207956th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4990th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subject.otherการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ -- ไทย -- บุรีรัมย์ -- เฉลิมพระเกียรติth
dc.subject.otherอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งth
dc.subject.otherอุทยานประวัติศาสตร์ -- ไทย -- บุรีรัมย์ -- เฉลิมพระเกียรติth
dc.subject.otherนักท่องเที่ยว -- พฤติกรรมth
dc.titleแนวทางการพัฒนาการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ กรณีศึกษา: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ th
dc.title.alternativeA guideline of tourism interpretation development in tourism historical site : a case study of Phnom Rung Historical Park, Chaloem Phra Kiat District, Buriram Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะการจัดการการท่องเที่ยวth
thesis.degree.disciplineการจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameการจัดการมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b207956.pdf
Size:
21.22 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections