แนวทางการพัฒนาธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ

dc.contributor.advisorณัฐกริช เปาอินทร์th
dc.contributor.authorรินทร์ลภัส วุฒิปรีชาสิทธิ์th
dc.date.accessioned2021-03-11T09:38:07Z
dc.date.available2021-03-11T09:38:07Z
dc.date.issued2019th
dc.date.issuedBE2562th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562th
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบหลักธรรมาภิบาลของประเทศไทยและต่างประเทศ และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) ระหว่างวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยมีแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-structured Interview)  จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาสร้างแบบสอบถาม (Questionnaires) เพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากหน่วยงานราชการส่วนกลาง (Central Administration)  ประกอบด้วยหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนราชการระดับกระทรวงทั้ง 19 กระทรวง และส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวง จำนวน 95 หน่วยงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป จากผลการสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) จากแบบสอบถาม เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย การวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบหลักธรรมาภิบาลของประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศเดนมาร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนีเซีย มีทั้งความแตกต่าง ความคล้าย และความเหมือน การวิจัยครั้งนี้เสนอแนวทางการพัฒนาธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ โดยองค์ประกอบสำคัญของธรรมาภิบาลที่ใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ หลักนิติธรรม (Rule of Law) หลักความโปร่งใส (Transparency) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักความคุ้มค่า (Value for Money) หลักคุณธรรม/จริยธรรม (Morality/Ethics) หลักสำนึกรับผิดชอบ (Accountability) ซึ่งผู้วิจัยได้จัดกลุ่มกระทรวงตามภารกิจเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านความมั่นคง รวมถึงด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระดับธรรมาภิบาลของหน่วยงาน ความคิดเห็นเกี่ยวกับกรอบตัวชี้วัดธรรมาภิบาลที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานและทำให้องค์การได้รับการยอมรับจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ ทั้ง 6 องค์ประกอบ โดยระดับความคิดเห็นที่อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างมาก 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) การพิจารณาออกคําสั่งต่าง ๆ มีการกล่าวอ้างข้อกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง (หลักนิติธรรม) 2) หน่วยงานมีการประกาศโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่อำนาจโดยเปิดเผยเป็นการทั่วไป (หลักความโปร่งใส) 3) กฎ ระเบียบของหน่วยงานออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย (หลักนิติธรรม) ทั้งนี้เมื่อเรียงระดับความคิดเห็นแต่ละด้านจากมากไปน้อย ทั้ง 6 องค์ประกอบ อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างมาก อันดับ 1 คือ หลักความโปร่งใส รองลงมาคือ หลักสำนึกรับผิดชอบ หลักนิติธรรม หลักการมีส่วนร่วม หลักคุณธรรม/จริยธรรม และหลักความคุ้มค่า ตามลำดับ ดังนั้นข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ แบ่งเป็น 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรก แนวทางในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลหรือหลักธรรมาภิบาลของหน่วยงานภาครัฐควรมีกรอบตัวชี้วัดธรรมาภิบาลทั้ง 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความคุ้มค่า หลักคุณธรรม/จริยธรรม หลักสำนึกรับผิดชอบ แต่รายละเอียดของตัวชี้วัดธรรมาภิบาลแต่ละองค์ประกอบจะแตกต่างกันตามภารกิจของหน่วยงาน ประเด็นที่สอง แนวทางการพัฒนาธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐที่มีผลต่อระดับธรรมาภิบาลของหน่วยงานควรเริ่มตั้งแต่การอบรม ปลูกฝังในครอบครัว สถานศึกษา และหน่วยงานภาครัฐ สิ่งสำคัญคือผู้นำหรือรัฐบาลต้องกระตุ้นให้ข้าราชการปฏิบัติงานตามแนวทางการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอth
dc.description.abstractThe objectives of this research were to compare Thailand’s good governance principles and those of six foreign countries and recommend the guidelines on the development of good governance practices for government agencies. The research adopted mixed methods research, integrating both qualitative and quantitative approaches. The tools used for qualitative research were documentary research and in-depth interview along with semi-structured interview. The data obtained from documentary research and in-depth interview were used to develop the questionnaire for collecting quantitative data from central administration. Government agencies under Prime Minister’s Office, which included 19 government agencies at the ministerial level and 95 government agencies at the department level served as population of this research. Content analysis was employed to perform data analysis, including conclusions drawn from in-depth interview. Quantitative data were analyzed by descriptive statistics to answer the research objectives. The principles of good governance practiced by Thailand were compared with those by Denmark, United Stated of America, South Korea, Singapore, Philippines, and Indonesia. The results found from the comparisons indicated both differences and similarities. Moreover, this research recommended the guidelines on the development of good governance practices for government agencies. Such guidelines were grounded on six indicators of good governance practices, which included rule of law, transparency, participation, value for money, morality/ethics, and accountability. Those government agencies under Prime Minister’s Office were divided into three groups based on the missions in three aspects: economy, society, and security. Also, technological issues related to good governance of the agencies were covered.        The three highest levels of agreement toward the indicators of good governance that affected the performance and acceptance from the inside and outside of the government agencies were that “related regulations were mentioned when orders were issued” (rule of law), “notification on the official organization structure and authority was made” (transparency), and “the government agencies’ rules and regulations were established by virtue of the act or law” (rule of law). For six indicators of good governance, the highest level of agreement was transparency, followed by accountability, rule of law, participation, morality/ethics, and value for money, respectively. As a result, the recommendations on the development of good governance practices for the government agencies were made on two respects. The first respect was that good governance practices should encompass six indicators. Those six indicators were rule of law, transparency, participation, value for money, morality/ethics, and accountability. However, detailed description of each indicator may vary, depending on the mission of each government agency. The second respect was the guidelines on the development of good governance practices for the government agencies. To develop good governance practices that could influence a level of good governance on the government agencies, it was recommended that good governance be educated and instilled in family, educational institution, and public organization. More importantly, the leaders or the government should always encourage civil servants to apply the practices of good governance to their operation.   th
dc.format.extent286 แผ่นth
dc.format.extentapplication/pdfth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2019.80
dc.identifier.otherb210805th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5139th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectธรรมาภิบาลth
dc.subjectหน่วยงานภาครัฐth
dc.subject.otherธรรมรัฐth
dc.subject.otherหลักนิติธรรมth
dc.titleแนวทางการพัฒนาธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐth
dc.title.alternativeGuidelines on developing good governance practices for the government agencies in Thailandth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b210805.pdf
Size:
5.48 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections