มาตรการทางกฎหมายในงานทางวิทยาศาสตร์โดยการใช้วิธีการอื่นแทนการใช้สัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์

dc.contributor.advisorวริยา ล้ำเลิศth
dc.contributor.authorหงส์ลฏา เครือหงษ์th
dc.date.accessioned2022-06-27T08:05:03Z
dc.date.available2022-06-27T08:05:03Z
dc.date.issued2017th
dc.date.issuedBE2560th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายในการทดลองวิธีการอื่นแทนการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับหลักการจัดสวัสดิภาพสัตว์ โดยศึกษาถึงกรณีสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการวิจัยด้านยารักษาโรค ศึกษาถึงสถานการณ์ใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการวิจัยด้านยารักษาโรคในประเทศไทย และวิเคราะห์ถึงการใช้พระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 ซึ่งน าไปเปรียบเทียบแนวทางการจัดการปัญหาในมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์ถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถใช้พระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 ให้เกิดประโยชน์ และมีประสิทธิภาพต่อการคุ้มครองสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์อย่างเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากในประเทศไทยการคุ้มครองสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ยังไม่ครอบคลุมไปถึงสถานการณ์การใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการวิจัยด้านยารักษาโรค จึงต้องวิเคราะห์ถึงปัญหาการน าหลักสวัสดิภาพสัตว์และการน าวิธีทดลองแบบอื่นมาใช้แทนสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการวิจัยด้านยารักษาโรคในประเทศไทย อีกทั้งในประเทศไทยยังไม่มีการก าหนดมาตรการ ขอบเขต หลักเกณฑ์ และประเภทในการทดลองโดยการใช้วิธีการทดลองแบบอื่นแทนการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ จึงควรศึกษาหลักเกณฑ์ของต่างประเทศในเรื่องดังกล่าวเพื่อศึกษาถึงแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง รวมถึงการพัฒนาพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการวิจัยด้านยารักษาโรคในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าไม่ว่าจะเป็นประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ประเทศญี่ปุ่น หรือประเทศไทยล้วนมีมาตราการในการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักการเดียวกัน คือหลักการ 3Rs ซึ่งเป็นหลักการสากลที่เป็นที่ยอมรับกันในหลายประเทศทั่วโลก คือในการที่จะน าสัตว์มาเพื่อใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์นั้น จะใช้สัตว์ก็ต่อเมื่อไม่สามารถใช้วิธีการอื่นใดในการทดลองได้แล้วเท่านั้น แต่ในประเทศไทยไม่ได้มีการก าหนดเรื่องวิธีการอื่นแทนการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์เอาไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นจากปัญหาดังกล่าว ประเทศไทยควรมีการก าหนดถึงวิธีการอื่นแทนการใช้สัตว์ทดลองเพื่องานทางวิทยาศาสตร์เอาไว้ในพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 หรือในกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์อย่างเหมาะสม และผลการทดลองที่ออกมามีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้ในระดับสากลth
dc.format.extent146 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb198266th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5934th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherกฎหมายth
dc.subject.otherสวัสดิภาพสัตว์th
dc.titleมาตรการทางกฎหมายในงานทางวิทยาศาสตร์โดยการใช้วิธีการอื่นแทนการใช้สัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์th
dc.title.alternativeLegal measure in using alternatives scientific experimental in stead of animal and welfare for animal testth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b198266.pdf
Size:
1.7 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections