ปัญหาการบริหารงานจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในส่วนกลาง

dc.contributor.advisorประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorสุจินต์ เจริญยิ่งth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:17:34Z
dc.date.available2014-05-05T09:17:34Z
dc.date.issued1968th
dc.date.issuedBE2511th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511.th
dc.description.abstractผู้เขียนมุ่งศึกษางานการจัดเก็บภาษีเงินได้จากบุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นหน้าที่ของกองภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการควบคุมการจัดเก็บทั่วราชอาณาจักร แต่ผู้เขียนจำกัดศึกษาเฉพาะการบริหารงานในส่วนกลาง โดยเฉพาะการบริหารงานในกองภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้นth
dc.description.abstractจากผลการศึกษาปรากฏว่าการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นมีปัญหาหลายประการสมควรจะได้มีการแก้ไขปรับปรุงหลักการและวิธีการเสียใหม่ ซึ่งผู้เขียนได้ให้ข้อเสนอแนะคือ.-th
dc.description.abstract1. ทางด้านกฎหมายที่ใช้บังคับการจัดเก็บภาษีเงินได้ ควรกำหนดหลักเกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายให้เป็นธรรม โดยนำหลักเกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายจริงมาใช้แทนที่จะหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ค่าลดหย่อนส่วนตัวผู้มีเงินได้ คู่สมรสและบุตร ควรกำหนดไว้ในประมวลรัษฎากรให้อำนาจอธิบดีหรือรัฐมนตรีพิจารณากำหนดให้เหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพ โดยอาศัยดรรชนีราคาสินค้าจำเป็นแก่การดำรงชีวิตเป็นหลัก ควรแก้ไขเรื่องการยกเว้นการเสียภาษีสำหรับรายได้บางประเภท ซึ่งนับว่าเป็นส่วนเกินของทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น วิธีการคำนวณภาษีก็ไม่ควรให้ยากจนเกินไป และควรกำหนดอัตราภาษีเงินได้เสียใหม่th
dc.description.abstract2. ทางด้านการจัดระเบียบบริหาร ควรให้หน่วยหักภาษีเงินได้ในที่จ่ายทำหน้าที่เกี่ยวกับภาษีเกี่ยวกับเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้กว้างขวาง และได้ผลในการจัดเก็บภาษีในส่วนรวม ในกรณีมีการอุทธรณ์การประเมินภาษี ควรมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจพนักงานประเมินว่ามีอำนาจแก้ไขการประเมินเงินได้เพียงใดและในกรณีใดบ้าง เจ้าหน้าที่พิจารณาเรื่องนี้ควรเป็นรูปคณะกรรมการ การตรวจสอบไต่สวนควรวางระเบียบให้กว้างขวางกว่าปัจจุบัน และควรหมุนเวียนเจ้าหน้าที่แผนกอื่นที่มีความรู้ด้านกฎหมายและบัญชีมาตรวจสอบบ้าง การคืนเงินให้ผู้เสียภาษีที่เสียไว้เกินควรปรับปรุงไม่ให้คืนช้าเกินไป ตัดงานที่ไม่จำเป็นออกควรจัดเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนth
dc.description.abstract3. ด้านการจัดองค์การ ควรแก้ไขให้หน่วยงานของกองเดียวกันอยู่ใกล้กัน ควรปรัปรุงวิธีการจัดเก็บแบบแสดงรายการภาษีเงินได้th
dc.description.abstract4. การพัฒนาตัวบุคคล กรมสรรพากรขาดกำลังคนและเครื่องมือ ควรจะได้รับอัตรากำลังเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ควรจะได้จัดให้มีการอบรมข้าราชการทุกระดับชั้นให้ถูกหลักวิชาการ.th
dc.description.abstract5. การพัฒนาทางภาษีอากร ควรมีการนำเอาเครื่องจักรกลมาใช้ในการช่วยจัดเก็บภาษี ควรวางแผนการจัดเก็บภาษีอากรตามเป้าหมายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ ประมาณ 4-5 ปี โดยจัดทำแผนภาษีอากรให้เกี่ยวโยงถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ และมาตรฐานการครองชีพของประชาชน และควรวางแผนการตรวจสอบภาษีพร้อมกับการจัดเก็บอากร โดยเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกแบบและพยายามที่จะนำมาตรวจสอบ การฝึกอบรมและสอดส่องพฤติกรรมของเจ้าพนักงานตรวจสอบ.th
dc.format.extent163 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1157th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectการบริหารงานจัดเก็บภาษีth
dc.subject.lccHJ 2995 ส42th
dc.subject.otherภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาth
dc.titleปัญหาการบริหารงานจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในส่วนกลางth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b8360.pdf
Size:
4.08 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections