กระบวนการยุติธรรมกับการระงับข้อพิพาททางเวชปฏิบัติในประเทศไทย

dc.contributor.advisorเกียรติพร อำไพth
dc.contributor.authorกันตพงศ์ แสงพวงth
dc.date.accessioned2022-02-28T07:46:35Z
dc.date.available2022-02-28T07:46:35Z
dc.date.issued2021th
dc.date.issuedBE2564th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564th
dc.description.abstractการฟ้องร้องคดีข้อพิพาททางเวชปฏิบัติทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับผู้ประกอบเวชปฏิบัติลดน้อยลง เกิดการรักษาพยาบาลแบบป้องกันตนเอง กล่าวคือ มีการการส่งตรวจทางพยาธิวิทยามากขึ้นละเอียดขึ้น ผลที่ตามมาคือค่าใช้จ่ายในระบบสาธารณสุขที่เพิ่มตามไปด้วย การศึกษากระบวนการยุติธรรมกับการระงับข้อพิพาททางเวชปฏิบัติในประเทศไทย มีการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การศึกษาสาเหตุของความผิดพลาดและการเกิดข้อพิพาททางเวชปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อสร้างความเข้าใจกระบวนการทางการแพทย์อันจะนำไปสู่การศึกษากฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศที่จะนำมาใช้ในการระงับข้อพิพาททางเวชปฏิบัติ ทั้งโดยกระบวนการกระบวนการยุติธรรมกระแสหลักและกระบวนการยุติธรรมทางเลือก การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยทำการศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล จากหนังสือ บทความในวาสารกฎหมาย วาสารสาธารณสุข ข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิทางอินเตอร์เน็ต ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีความพยายามในการนำระบบการชดเชยความเสียหายโดยไม่พิสูจน์ความผิด (No-fault compensation system) จากแนวปฏิบัติและหลักการของกฎหมายต่างประเทศมาบังคับใช้ในคดีข้อพิพาททางเวชปฏิบัติ โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และมาตรา 63 (7) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 อย่างไรก็ตาม การนำหลักกฎหมายไปสู่การปฏิบัติของกฎหมายทั้งสองฉบับยังไม่สามารถทำให้การชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นดังกล่าวครอบคลุมประชากรทั้งประเทศ และไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ที่แท้จริงไปของกฎหมายดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้เสนอให้ผลักดันให้มีกฎหมายเฉพาะโดยตราเป็นร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... โดยแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนใน มาตรา 17 เพื่อให้เนื้อหาสาระของกฎหมายเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของกองทุนคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขนั่นคือการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการประกอบเวชปฏิบัติ มาตรา 18 เพื่อสร้างความชัดเจนของกฎหมายเกี่ยวกับข้อกำหนดสำหรับสถานพยาบาลเอกชนให้มีความเป็นธรรมและเท่าเทียมมากขึ้น และมาตรา 19 เรื่องการกำหนดจำนวนเงินที่สมทบเข้ากองทุน รวมถึงการแก้ไขปรับปรุงระบบกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วยth
dc.description.abstractMedical practice litigation weakens the relationship between patients and practitioners and leads to self-protective medical treatment. That is, more and more thorough pathological examinations were conducted. The consequence is that the costs of health care system increase accordingly. Studies of judicial process and medical dispute resolution in Thailand address relevant issues, such as causes of errors and potential medical disputes, in order to create an understanding of the medical process that will lead to the study of Thai and foreign laws to be used in the resolution of medical disputes, both by the mainstream and alternative justice processes. The methodology of this research is qualitative by documentary research. Hence, this research studies, gathers and analyzes information from text books, articles from legal and public health journals, as well as primary and secondary information from the internet. Results of the research indicate that Thailand has attempted to apply the No-fault compensation system from the practice and principles of foreign law to enforce in cases of medical disputes. This is stipulated in Section 41 of The National Health Security Act, B.E. 2545 (A.D. 2002) and Section 63 (7) of The Social Security Act, B.E. 2533 (A.D. 1990). However, the scope of legal enforcement of both legislations cannot equally compensate everyone nationwide. It is also against the true intention of the laws themselves. This research, thus, suggests the following enactment and amendment of the laws. Firstly, specific legislation of The Proposed Act of Patient Compensation for Injury from Medical Practice should be enacted. Secondly, there should be amendment for Section 17 on the objective of Compensation Fund, Section 18 on subsidy of private medical institutions, and Section 19 on rate of contribution to the Fund, as well as other related laws.th
dc.format.extent276 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2021.39
dc.identifier.otherb212239th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5601th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectข้อพิพาททางเวชปฏิบัติth
dc.subjectการชดเชยความเสียหายโดยไม่พิสูจน์ความผิดth
dc.subjectยุติธรรมทางเลือกth
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectวิทยานิพนธ์ได้รับรางวัลth
dc.subjectวิทยานิพนธ์ได้รับรางวัลประจำปี 2565th
dc.subjectวิทยานิพนธ์รางวัลดีth
dc.subject.otherเวชปฏิบัติth
dc.subject.otherกระบวนการยุติธรรมth
dc.titleกระบวนการยุติธรรมกับการระงับข้อพิพาททางเวชปฏิบัติในประเทศไทยth
dc.title.alternativeJudicial process and medical practice dispute resolution in Thailandth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b212239.pdf
Size:
4.11 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description: