ปัญหาการใช้บังคับบทบัญญัติว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

dc.contributor.advisorบรรเจิด สิงคะเนติth
dc.contributor.authorสุชาดา เภารังค์th
dc.date.accessioned2022-02-28T07:46:34Z
dc.date.available2022-02-28T07:46:34Z
dc.date.issued2020th
dc.date.issuedBE2563th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมาเกี่ยวกับแนวนโยบายแห่งรัฐ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการใช้บังคับบทบัญญัติหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแนวนโยบายแห่งรัฐของต่างประเทศ และเพื่อศึกษาหาแนวทางเสนอแนะปัญหาการใช้บังคับบทบัญญัติหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 65 และมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยมีขอบเขตการศึกษา คือ สถานะทางกฎหมายในหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และผลผูกพันในการดำเนินงานของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ รวมถึงการเกิดสภาพบังคับทางกฎหมายตามมาตรา 65 และมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จากการศึกษาพบว่าบทบัญญัติหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีสถานะเป็นกฎหมายสูงสุด ซึ่งหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐมีรูปแบบและวิธีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเหมือนกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญในหมวดอื่น ๆ อีกทั้งการมีหรือสิ้นไปของบทบัญญัติในหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ จะต้องเป็นไปตามหลักการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ โดยสภาพบังคับของบทบัญญัติหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บทบัญญัตินี้ไม่ได้กำหนดสภาพบังคับทางกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จึงทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในการตีความบทบัญญัติ โดยผู้ศึกษาได้ทำการแบ่งบทบัญญัติในหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) บทบัญญัติแนวนโยบายแห่งรัฐโดยทั่วไป หรือบทบัญญัติแนวนโยบายแห่งรัฐโดยแท้ ซึ่งแนวนโยบายแห่งรัฐ ไม่ได้ก่อให้เกิดการสิทธิในการฟ้องร้อง ดังเช่นบทบัญญัติหมวดหน้าที่ของรัฐ แต่เพียงมีเจตนารมณ์ให้บทบัญญัติหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ ใช้สำหรับเป็นแนวทางให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน มิได้มีสภาพบังคับหรือผลผูกพันทางกฎหมายที่รัฐจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 2) บทบัญญัติแนวนโยบายแห่งรัฐที่มีผลผูกพัน ซึ่งแนวนโยบายแห่งรัฐมีบทบัญญัติในมาตรา 65 และมาตรา 77 ที่เป็นแนวนโยบายที่มีสภาพบังคับหรือผลผูกพันให้รัฐต้องปฏิบัติตามth
dc.description.abstractThis thesis aims to study the concept, theory, and background of state policy. To analyze the problem of enforcing the provisions of the State Policy Division of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 by comparing it with foreign state policies and to study to find a suggestion for the problem of enforcing the provisions of the State Policy Division Section 65 and Section 77 of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 with the scope of education, namely the legal status in the state policy category of the Constitution of the Kingdom. Thailand, the Year 2017 and the obligations in the operation of the state or government agency Including the occurrence of legal force under Section 65 and Section 77 of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 From the study, it was found that the state policy provisions under the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560 The state policy category has a form and method the draft constitution is considered like any other constitutional provisions, as well as the presence or absence of provisions in the state policy category. Must be in accordance with the constitutional amendment principle Which is based on the principle of constitutional supreme law by condition of the state policy provisions of the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560 Causing unclear interpretation of the provisions the students have divided the provisions of the state policy into two groups: 1) the state policy provisions in general. Or the real state policy provisions Which the state policy Does not create a right to prosecution Such as state duty division provisions but only with the intention of giving provisions to the state policy category It is used to guide the state to enact laws and to formulate policies in the administration of state affairs. It does not have mandatory or legally binding conditions. 2) binding state policy provisions. The state policy guidelines contain provisions in section 65 and section 77 that make the state policy guidelines binding to comply.th
dc.format.extent149 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2020.92
dc.identifier.otherb212286th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5597th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectนโยบายแห่งรัฐth
dc.subject.otherรัฐธรรมนูญ -- ไทยth
dc.subject.otherรัฐธรรมนูญ -- ไทย -- 2560th
dc.subject.otherนโยบายของรัฐ -- ไทยth
dc.titleปัญหาการใช้บังคับบทบัญญัติว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560th
dc.title.alternativeThe problem of enforcing the state policy under the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560th
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b212286.pdf
Size:
2.24 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections